ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อดีตนายกแพทยสภา เสนอชะลอ-ทบทวนผลิตแพทย์เพิ่มจากปกติ

อดีตนายกแพทยสภา เสนอชะลอ-ทบทวนผลิตแพทย์เพิ่มจากปกติ HealthServ.net
อดีตนายกแพทยสภา เสนอชะลอ-ทบทวนผลิตแพทย์เพิ่มจากปกติ ThumbMobile HealthServ.net

ศ.คลินิกเกียรติคุณนพ.อำนาจ กุสลานันท์ อดีตนายกแพทยสภา เผยผลสำรวจความเห็นแพทย์ต่อโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อส่งไปประจำรพ.สต.ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข โดยความเห็นกว่าร้อยละ 80 เห็นว่าปัจจุบันมีแพทย์เพียงพอแล้ว แต่กระจุกตัวเฉพาะแห่งมากเกินไป ไม่ควรผลิตแพทย์เพิ่ม และไม่ควรบังคับแพทย์ไปอยู่รพ.สต.

17 เมษายน 2567 ศ.คลินิกเกียรติคุณนพ.อำนาจ กุสลานันท์ อดีตนายกแพทยสภา ได้โพสต์ผ่านเพจส่วนตัว อำนาจ กุสลานันท์  กล่าวถึงผลการตอบแบบสอบถามความเห็นต่อแพทย์ ต่อ โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อส่งไปประจำรพ.สต.ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข โดยมีสาระสำคัญ และผลการสำรวจความคิดเห็น โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 


เรื่อง ขอให้ชะลอและทบทวนโครงการผลิตแพทย์จำนวนที่เพิ่มขึ้นจากปกติ
เรียน นายกรัฐมนตรี

ตามที่ในวันที่ 1 พ.ย. 2566 ผู้บริหารสธ.ได้แถลงข่าวการขออนุมัติงบประมาณ 150,000 ล้านบาท สำหรับการผลิตแพทย์เพื่อส่งไปประจำรพ.สต.แห่งละ 3 คนและกำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่องอยู่ในขณะนี้โดยในวันที่ 20 กพ. 2567 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบอนุมัติงบประมาณ 37,000 ล้านบาท แล้วนั้น

เนื่องจากมีเพื่อนแพทย์จำนวนมากได้แสดงความเป็นห่วงในเรื่องนี้มา ดังนั้นคณะทำงานอิสระ ซึ่งประกอบด้วย
1.ศ.คลินิกเกียรติคุณนพ.อำนาจ กุสลานันท์
2.นพ.โชติศักดิ์ เจนพาณิชย์
3.ผศ.นพ.มาศ ไม้ประเสริฐ
4.ดร.นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย

จึงได้จัดทำแบบสอบถามขึ้นเพื่อขอทราบความเห็นจากแพทย์ในกลุ่มต่างๆ 

มีแพทย์ตอบแบบสอบถามมา 1,485 ราย โดยเสียงส่วนใหญ่มีความเห็นดังนี้

1. ร้อยละ 81 เห็นว่าปัจจุบันจำนวนแพทย์มีเพียงพอแล้ว แต่มีการกระจุกตัวในกรุงเทพฯ และปริมณฑลรวมถึงจังหวัดใหญ่ ๆ มากเกินไป 

2. ร้อยละ 84.8 เห็นว่าไม่ควรผลิตแพทย์เพิ่ม เนื่องจาก ปริมาณการผลิตจะสวนทางกับคุณภาพ ควรแก้ไขปัญหาโดยเพิ่มแรงจูงใจเพื่อลดการลาออกของแพทย์ภาครัฐ 

3. ร้อยละ 85.8 เห็นว่าไม่ควรบังคับแพทย์ ให้ปฏิบัติหน้าที่ในรพ.สต. แต่ควรส่งเสริมให้เจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำรพ.สต. มีความรู้เพิ่มขึ้น กรณีที่เกินขีดความสามารถ ให้ใช้ระบบปรึกษาและส่งต่อ 

จึงเรียนมายังนายกรัฐมนตรี เพื่อโปรดพิจารณาสั่งการให้มีการชะลอโครงการดังกล่าว ไว้ แล้วรับฟังความเห็นของนักวิชาการที่เกี่ยวข้องก่อน

เนื่องจากในปัจจุบันได้มีแพทย์จบใหม่เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 2,800 คนซึ่งก็เต็มศักยภาพการผลิตแล้ว รวมทั้งมีแพทย์ที่จบมาจากต่างประเทศอีกปีละประมาณ 200 คนทำให้มีแพทย์เพิ่มปีละประมาณ 3,000 คนซึ่งเป็นจำนวนที่น่าจะเพียงพออยู่แล้วหากบริหารจัดการให้มีการกระจายตัวได้อย่างเหมาะสม

ขอแสดงความนับถือ
ศ.คลินิกเกียรติคุณนพ.อำนาจ กุสลานันท์
อดีตนายกแพทยสภา
 

รมช.สันติ เปิดประเด็นโครงการผลิตแพทย์เพื่อป้อนลงสู่ รพ.สต.ทั่วประเทศ

    เกี่ยวกับโครงการผลิตแพทย์เพื่อป้อนลงสู่ รพ.สต.ทั่วประเทศ เริ่มขึ้น เมื่อ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.สาธารณสุข กล่าวในช่วงหนึ่งของการประชุมมอบนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ปี 2567 ให้กับผู้บริหารระดับสูง สธ. ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั้ง 12 เขตสุขภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2566  ว่า ที่ผ่านมาเรามีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) มานาน แต่ไม่เคยมีแพทย์ประจำอยู่เลย ดังนั้น การยกระดับ รพ.สต. ด้วยการให้มีแพทย์ประจำเพื่อดูแลประชาชนจึงเป็นเรื่องสำคัญ อีกทั้งได้มีการหารือกับ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สธ. แล้ว ซึ่ง นพ.ชลน่าน ก็พร้อมจะสนับสนุนอย่างเต็มที่ ในการเติมบุคลากรแพทย์เข้าไปอยู่ใน รพ.สต.ทั้ง 8,500 แห่งทั่วประเทศ โดยคาดว่าจะต้องมีแพทย์ 2.5 หมื่นคน คอยประจำและหมุนเวียนการทำงานใน รพ.สต. แห่งละ 3 คน 

       นายสันติ กล่าวว่า ในส่วนแนวทางการหาบุคลากรแพทย์ไปประจำ รพ.สต. จำเป็นต้องมีการผลิตแพทย์เข้าสู่โครงการ โดยตั้งเป้าผลิตแพทย์ให้ได้จำนวน 2.5 หมื่นคนในระยะเวลา 12 ปี และจะครอบคลุม รพ.สต.ทั่วประเทศ โดยโครงการดังกล่าวจะใช้งบประมาณราว 1 แสนล้านบาทเพื่อผลิตแพทย์ให้ได้ตามจำนวน ด้วยงบประมาณนี้อาจมองว่ามากเกินไป หรือเป็นเงินจำนวนมาก 
 
        อย่างไรก็ตาม ต้องบอกว่าการผลิตแพทย์ 1 คนต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 ปี และต้องใช้เงินประมาณ 4 ล้านบาทต่อคน ฉะนั้นหากจะทำให้ครบตามโครงการก็ต้องใช้เงินประมาณ 1 แสนล้านบาท แต่ผลที่ได้จะคุ้มค่า เพราะ สธ. จะคัดเลือกเด็กในภูมิลำเนาเพื่อให้มาเรียนแพทย์ เรียนจบแล้วก็กลับไปเป็นแพทย์ประจำ รพ.สต. ในภูมิลำเนาของตัวเอง ซึ่งจะทำให้ รพ.สต.มีแพทย์คอยดูแลรักษา และส่งเสริมป้องกันโรคให้กับคนในท้องถิ่น  [the coverage]

เดินหน้าโครงการ ร่วมกับ สถาบันพระบรมราชชนก (สบช.)

      1 พฤศจิกายน 2567 ที่โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชัน  นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเปิดประชุมวิชาการนานาชาติการศึกษาสำหรับบุคลากรสุขภาพ ว่า สถาบันพระบรมราชชนก (สบช.) ได้ดำเนินโครงการร่วมกับนานาชาติ ในการพัฒนาส่งเสริมบุคลากรทางการแพทย์และสุขภาพ เช่น แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ฯลฯ ซึ่งจะทำให้บุคลากรทางการแพทย์และสุขภาพของเราได้รับรู้ในภาษาที่สองด้วย จะสามารถเข้าถึงนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแทพย์และสุขภาพต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง รวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นความตั้งใจและความสามารถของ สบช. ที่จะตั้งใจผลิตบุคลากรทางสุขภาพให้ได้จำนวนมากและมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการดูแลสุขภาพคนไทย
 
     ที่ผ่านมาได้พูดคุยกับผู้บริหาร สธ. ว่าต้องเร่งรัดและผลิตแพทย์ให้เพียงพอกับประชาชนในชนบท คือ รพ.สต.ละ 3 คน ทั่วประเทศรวม กทม.มีประมาณ 1 หมื่น รพ.สต. ต้องใช้แพทย์ถึง 3 หมื่นคน แล้วการผลิตแพทย์ไม่ใช่คิดวันนี้ปีหน้าได้ แพทย์คนหนึ่งต้องฝึกจนมีความรู้ความสามารถสอบได้ออกมาดูแลประชาชน ใช้เวลาถึง 6 ปี
 
    "ใน 3 หมื่นคนจะเร่งให้ สบช.เป็นหลักในการขับเคลื่อน ปีหนึ่งจะเพิ่ม 5 พันคน โดยจะผลิตแพทย์ในท้องถิ่นของเราตามสัดส่วนโควตาแต่ละจังหวัด คัดคนสอบคนของจังหวัดตนเอง เอาคนที่เก่งสุดในมัธยมปลายไปสอบเรียนแพทย์ตามโควตา เมื่อจบแล้วก็จะมาดูแลในพื้นที่ของเขา โดย 3 หมื่นคน คำนวณใช้เงินประมาณ 1.5 แสนล้านบาท หาร 6 ปี ใช้เงินเพียง 2 หมื่นกว่าล้านบาทต่อปี ผมและ สบช.ศึกษาแล้วว่าคุ้มค่าอย่างสูง สำหรับค่าใช้จ่ายนี้ สบช.เกรงว่างบจะไม่เพียงพอ ผมจึงรับปากว่าจะไปต่อสู้ทำความเข้าใจกับกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ ว่าตรงนี้เป็นประโยชน์ เป็นการลดต้นทุนการดำรงชีพของประชาชนในชนบทที่จะเข้าหาหมอได้อย่างมากมายมหาศาล"  

 

สบช.เสนอ 2 โครงการ 

        ศ.นพ.วิชัย เทียนถาวร อธิการบดี สบช. กล่าวว่า รัฐบาลปัจจุบันมีแนวคิดผลิตบุคลากรปฐมภูมิให้กับประเทศ มอบหมายให้ สบช.ผลิตบุคลากรรองรับหน่วยบริการปฐมภูมิ (Primary Care Unit) ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ  เรามีการเสนอ 2 โครงการ คือ
 
        1.โครงการผลิตบุคลากรสุขภาพ โดยเฉพาะโครงการ 3 หมอ ซึ่งปี 2567 เป็นปีแรกที่เราจะผลิตบุคลากรแพทย์ 3 หมอก่อน เป้าหมายคือสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ 92 แห่ง เฉลี่ยจังหวัดละ 1 แห่ง จะเป็นจุดแรกที่จะผลิตแพทย์ไปอยู่แห่งละหรือจังหวัดละ 1 คน เพื่อเป็นต้นแบบและเทิดพระเกียรติสมเด็จพระพันปีหลวง ผ่านโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD) โดยเลือกเด็กจากท้องถิ่นที่มีสถานีอนามัยฯ เช่น อยู่เพชรบูรณ์ก็เอามาจากเพชรบูรณ์ อยู่น่านก็เอามาจากน่าน มาคัดเลือดหรือสอบ TCAS ตามปกติ มีการปลูกฝังทัศนคติเด็กที่มาเรียนให้ชัดเจนว่า เป็นบัณฑิตที่จบแล้วอยู่สถานีอนามัยฯ และเป็นแพทย์ครอบครัว เป็น "บัณฑิตคืนถิ่น" โดยไปฝึกงานที่ รพ.สมเด็จพระยุพราช 3 ปี เพื่อเป็นหมอครอบครัว เฟสต่อไปแผน 10 ปีจะผลิตรองรับ รพ.สต.ส่วนที่เหลือ 9.8 พันแห่งทั่วประเทศ แห่งละ 10% โดยวางแผน 9 หมอจะครบ 100% ใน 10 ปี ครอบคลุมครบทุกสถานีอนามัยฯ และ รพ.สต.
 
        2.โครงการผลิตทีมสุขภาพปฐมภูมิ Primary Health Innovation Team มีแพทย์ พยาบาลครอบครัว พยาบาลชุมชน นักวิชาการสาธารณสุข อสม.ที่เรียนต่อผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยสาธารณสุข โดยปีหน้าจะมีการเปิดคณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะกายภาพบำบัด รวมถึงแพทย์แผนไทย และจะเปิดเรียนด้านฉุกเฉินการแพทย์ ซึ่งเราต้องการให้มีฉุกเฉินการแพทย์ทุกสถานีอนามัยฯ/รพ.สต. แต่ในกรอบของเราจะผลิตคราวละ 3 พันคน และจะมีโครงการแซนด์บ็อกซ์มาเสริม เนื่องจากฉุกเฉินการแพทย์ กว่าชาวบ้านจะมาจะไปต้องหารถราเดินทางไกล เราก็จะมีระบบตั้งแต่เกิดเหตุ การขนส่งได้ทันที เพื่อลดความพิการและตาย [hfocus

ครม. เห็นชอบในหลักการโครงการผลิตแพทย์ฯ และอนุมัติงบ 3.7 หมื่นล้าน

       20 กุมภาพันธ์ 2567 นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. (20 กุมภาพันธ์ 2567) มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการผลิตแพทย์และทีมนวัตกรรมสุขภาพเพื่อเวชศาสตร์ครอบครัวตอบสนองต่อระบบสุขภาพปฐมภูมิทั่วไทย และอนุมัติรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับโครงการผลิตแพทย์ฯ จำนวนทั้งสิ้น 37,234.48 ล้านบาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
 
       โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า โครงการผลิตแพทย์ฯ เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ (Primary care service) ซึ่งเป็นระบบบริการสุขภาพด่านแรกของระบบบริการสาธารณสุขเพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนในท้องถิ่นที่จะช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึง ประกอบด้วยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และสหวิชาชีพ รวม 9 สาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์เวชศาสตร์ พยาบาล นักวิชาการสาธารณ์สุข ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยสาธารณสุข ทันตแพทย์ เภสัชกร นักฉุกเฉินการแพทย์ และแพทย์แผนไทย
 
       โดยโครงการผลิตแพทย์ฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุข และกระจายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ประชาชนในส่วนภูมิภาค ครอบคลุมระยะเวลา 10 ปี ระหว่างปีการศึกษา 2568 – 2577 ซึ่งเมื่อครบระยะเวลาโครงการจะสามารถผลิตบุคลากรทางการแพทย์ได้ 62,000 คน โดยกรอบวงเงินงบประมาณที่ใช้ในโครงการผลิตแพทย์ฯ มีจำนวนทั้งสิ้น 37,234.48 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2568-2583 (รวม 16 ปี) และคาดว่า (1) บุคลากรทางการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุขสามารถพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิของประเทศตามแนวคิดเวชศาสตร์ครอบครัว (2) บุคลากรของสถาบันพระบรมราชชนกและหน่วยงานเครือข่ายใน สธ. ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะตอบสนองความต้องการการผลิตบุคลากรตามแนวคิดเวชศาสตร์ครอบครัว และ (3) กระจายโอกาสทางการศึกษาทางการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุขไปสู่ประชาชนในส่วนภูมิภาค  [thaigov]
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด