ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เริ่มวันนี้ (16 ธ.ค.) เปลี่ยนรพ.ประกันสังคม ปี 65 สำหรับผู้ประกันตน ม.33 - ม.39 ทุกคน

เริ่มวันนี้ (16 ธ.ค.) เปลี่ยนรพ.ประกันสังคม ปี 65 สำหรับผู้ประกันตน ม.33 - ม.39 ทุกคน Thumb HealthServ.net
เริ่มวันนี้ (16 ธ.ค.) เปลี่ยนรพ.ประกันสังคม ปี 65 สำหรับผู้ประกันตน ม.33 - ม.39 ทุกคน ThumbMobile HealthServ.net

สำนักงานประกันสังคม เปิดให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ในระบบประกันสังคมสามารถเปลี่ยนสถานพยาบาลเพื่อใช้สิทธิเข้ารักษาเป็นประจำทุกปี โดยในปี 2564 เริ่มเปลี่ยนสถานพยาบาลได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ไปจนถึง 31 มีนาคม 2565

เริ่มวันนี้ (16 ธ.ค.) เปลี่ยนรพ.ประกันสังคม ปี 65 สำหรับผู้ประกันตน ม.33 - ม.39 ทุกคน HealthServ



คำแนะนำในการเลือก 
1) ควรเลือกสถานพยาบาลด้วยตนเอง โดยคำนึงถึงความสะดวก ความพึงพอใจ และประโยชน์ในการขอรับบริการทางการแพทย์
2) ต้องเป็นสถานพยาบาลในจังหวัดที่ผู้ประกันตนทำงานอยู่ หรือพักอาศัยในเขตรอยต่อของจังหวัดดังกล่าว เพื่อความสะดวกในการใช้สิทธิรักษาพยาบาล

วิธีเปลี่ยน 3 ช่องทาง

สำหรับช่องทางการเปลี่ยนสถานพยาบาลสามารถเลือกดำเนินการได้ใน 3 ช่องทาง คือ

1. ยื่นแบบการเลือกสถานพยาบาลในการรับบริการทางการแพทย์ (สปส.9-02) ได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ

2.ทำรายการผ่านเว็บไซต์ ประกันสังคม  www.sso.go.th 

3. ทำรายการผ่าน Applications SSo Connect กรณีการเปลี่ยนสถานพยาบาลผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันแล้ว ไม่จำเป็นต้องยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคมอีก

โหลดแอปคลิกที่นี่
 
 

เลือก 2 โรงพยาบาลเพื่อสำรอง

โฆษกสำนักงานประกันสังคม กล่าวถึงกรณีที่เปิดให้เลือกเปลี่ยนได้ 3 โรงพยาบาล แบ่งเป็นลำดับที่ 1, 2 และ 3 นั้น เพื่อสำรองไว้ในกรณีโรงพยาบาลที่ 1 เต็มจะได้สิทธิ์โรงพยาบาลที่ 2 แทน หรือกรณีโรงพยาบาลที่ 1 และ 2 เต็ม จะได้ใช้สิทธิ์โรงพยาบาลที่ 3 แทน  ขอย้ำว่า สามารถใช้สิทธิการรักษาได้เพียง 1 โรงพยาบาลเท่านั้น

ทั้งนี้ หากผู้ประกันตนไม่ประสงค์เปลี่ยนสถานพยาบาล ยังสามารถใช้สิทธิการรักษาที่โรงพยาบาลเดิมได้จนกว่าสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ส่วนกรณีสิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตนแล้ว ยังสามารถใช้สิทธิต่อไปได้อีก 6 เดือน


NBT
 

ข้อมูลเพื่อผู้ประกันตนต้องรู้

สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับประกันสังคม

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด