ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ชาวเมียนมาทะลักแม่สอด หนีสู้รบเมียวดี รพ.แม่สอด ประกาศภาวะฉุกเฉิน

ชาวเมียนมาทะลักแม่สอด หนีสู้รบเมียวดี รพ.แม่สอด ประกาศภาวะฉุกเฉิน HealthServ.net
ชาวเมียนมาทะลักแม่สอด หนีสู้รบเมียวดี รพ.แม่สอด ประกาศภาวะฉุกเฉิน ThumbMobile HealthServ.net

สธ.เผยผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมาเข้ามายังพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราวแล้ว 3,027 คน โรงพยาบาลแม่สอดรับผู้บาดเจ็บเข้ารักษาอีก 32 ราย มีอาการรุนแรงสีแดง 8 ราย หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่จัดทีมดูแลคัดกรองเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค ปฐมพยาบาล และตรวจสุขาภิบาลน้ำดื่มน้ำใช้ เตรียมแผนด้านบุคลากร ยาและเวชภัณฑ์ พร้อมรองรับสถานการณ์ที่อาจรุนแรงขึ้น

ชาวเมียนมาทะลักแม่สอด หนีสู้รบเมียวดี รพ.แม่สอด ประกาศภาวะฉุกเฉิน HealthServ

สธ.เร่งดูแลผู้อพยพทะลักแม่สอด

 
           21 เมษายน 2567 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการดูแลด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีผู้หนีภัยความไม่สงบจากฝั่งเมียวดีเข้ามายังพื้นที่ จ.ตาก ว่า จากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ฝั่งเมียนมา ห่างจากแนวชายแดนไทยประมาณ 2-3 กิโลเมตร ตั้งแต่คืนวันที่ 19 เมษายน ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีชาวเมียนมาหนีภัยความไม่สงบข้ามมายัง อ.แม่สอด จ.ตาก เป็นจำนวนมาก โดยวันนี้ได้รับรายงานจาก นพ.ปองพล วรปาณิ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตาก และ นพ.รเมศ ว่องวิไลรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่สอด ว่า ขณะนี้มีผู้หนีภัยฯ เข้ามายังพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว จ.ตาก จำนวน 5 แห่ง รวมทั้งหมด 3,027 คน เป็นชาย 1,128 คน หญิง 1,118 คน และเด็ก 781 คน  ซึ่งวันนี้ รพ.ได้รับผู้บาดเจ็บชาวเมียนมาจากบริเวณสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา แห่งที่ 2 เข้ารับการรักษา รวม 32 ราย เป็นผู้ป่วยอาการหนักสีแดง 8 ราย อาการปานกลางสีเหลือง 17 ราย และอาการเล็กน้อยสีเขียว 7 ราย โดยโรงพยาบาลแม่สอดมีแผนเตรียมการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินอยู่แล้ว
 
            นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า จากสถานการณ์ความไม่สงบดังกล่าว คาดว่าจะมีผู้หนีภัยฯ เข้ามาเพิ่มขึ้น กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับฝ่ายปกครอง ฝ่ายความมั่นคง รวมทั้งประสานหน่วยงานเอกชน (NGO) ที่พร้อมให้การช่วยเหลือ ดูแลผู้หนีภัยฯ ที่เข้ามายังพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราวตามหลักมนุษยธรรม โดยจัดทีมบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข คัดกรองและเฝ้าระวังโรคติดต่อ เช่น โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ ป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง เช่น มาลาเรีย ตั้งจุดปฐมพยาบาลดูแลสุขภาพ และตรวจสุขาภิบาลน้ำดื่มน้ำใช้ พร้อมทั้งมีแผนเตรียมการด้านบุคลากร ยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้พร้อมรองรับสถานการณ์
 
ชาวเมียนมาทะลักแม่สอด หนีสู้รบเมียวดี รพ.แม่สอด ประกาศภาวะฉุกเฉิน HealthServ

ดูแลผู้หนีภัยตามหลักมนุษยธรรม


          นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 2 กล่าวว่า ตามที่ได้รับมอบหมายจาก นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ติดตามสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในประเทศเมียนมา ขณะนี้เริ่มมีผู้หนีภัยความไม่สงบจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้น โดยวันนี้ได้รับรายงานจาก นพ.ปองพล วรปาณิ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตาก ว่ามีผู้หนีภัยความไม่สงบฯ เข้ามา 1,686 ราย อยู่ในพื้นที่ปลอดภัยชายแดนอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งเป็นเด็กและผู้สูงอายุ ประมาณร้อยละ 44 และคาดว่ายังจะทยอยเข้ามาอีก วันนี้มีผู้บาดเจ็บ 1 ราย ถูกสะเก็ดระเบิดบริเวณขาด้านซ้าย อาการไม่รุนแรง ได้ประสานนำส่งรักษาที่โรงพยาบาลแม่สอดแล้ว 
 
          นพ.โสภณกล่าวต่อว่า การดูแลผู้หนีภัยความไม่สงบฯ เป็นไปตามหลักมนุษยธรรม ขณะนี้ ทางฝ่ายปกครองและความมั่นคงของจังหวัดตาก ดูแลความปลอดภัยสถานที่และจัดหาอาหารและน้ำดื่ม โดยมีทีมบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจาก รพ.สต.บ้านวังตะเคียน ไปตั้งจุดให้การปฐมพยาบาล ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย พร้อมกับดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันโรคระบาด ทั้งนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตากได้วางแผนสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลใกล้เคียงในพื้นที่ เมื่อได้รับการร้องขอ รวมทั้งจัดเตรียมยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินไว้แล้ว จึงขอให้ประชาชนมั่นใจว่าการให้ความช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรมนี้ จะไม่กระทบต่อการให้บริการประชาชนชาวไทย 

รพ.แม่สอด ประกาศแผนฉุกเฉินระดับสูงสุด


21 เมษายน 2567 นายแพทย์รเมศ ว่องวิไรรัตน์ ผอ.โรงพยาบาลแม่สอด ประกาศแผนฉุกเฉินระดับ 5 สูงสุด โดยเตรียมเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ทุกฝ่าย รวมทั้งรถฉุกเฉินเครือข่ายนับสิบคัน ช่วยเหลือชาวเมียนมาที่ได้รับบาดเจ็บมาจำนวนมากโดยไม่สามารถแยกแยะผู้ได้รับบาดเจ็บว่า ฝ่ายต่อต้าน หรือฝ่ายทหารเมียนมา รวมทั้งประชาชน แต่ทางโรงพยาบาลไม่ได้แยกแยะ ถือว่าเป็นผู้ป่วยโรงพยาบาลทั้งสิ้น และดูแลตามหลักมนุษยธรรม

 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด