ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การนำยาขึ้นเครื่องบิน ไปต่างประเทศ ข้อกำหนดสายการบินต่างๆ

การนำยาขึ้นเครื่องบิน ไปต่างประเทศ ข้อกำหนดสายการบินต่างๆ Thumb HealthServ.net
การนำยาขึ้นเครื่องบิน ไปต่างประเทศ ข้อกำหนดสายการบินต่างๆ ThumbMobile HealthServ.net

การพกยาไปต่างประเทศ อาจจะมีขั้นตอนในการติดต่อกับทางสถานฑูตประเทศนั้นๆ ที่แตกต่างกันออกไป เราจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาหาข้อมูลที่เหมาะสมเพื่อทำการสอบถามชนิดของยาที่สามารถนำเข้าได้และยาที่ถูกต้องห้าม เนื่องจากแต่ละตัวยานั้นจะมีวิธีการนำเข้าที่แตกต่างกันออกไป วันนี้เรามีข้อมูลมาบอกเล่าให้คุณทราบ


การพกยาไปต่างประเทศ


ยาที่อนุญาตให้พกติดตัวไปได้ จะต้องนำยาที่อยู่ในแพ็คเกจลักษณะที่ถูกต้องไป หากแกะแยกออกเป็นแผง หรือแยกเป็นเม็ดแล้ว ผู้ตรวจอ่านไม่ทราบว่ายาชนิดนั้นคืออะไร อาจทำให้ไม่สามารถนำเข้าไปได้
 
ยาที่ถูกห้ามนำเข้าประเทศนั้น ๆ หากเราจำเป็นต้องใช้ยาที่เป็นยาต้องห้ามแล้ว ปรึกษาคุณหมอก็ไม่มียาตัวไหนที่สามารถแทนได้ วิธีการ คือ ให้กรอกแบบฟอร์มขออนุญาตการนำยาเข้าประเทศนั้น และสิ่งที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ เอกสารการรับรองแพทย์ หากเรามีโรคประจำตัว ยาที่รักษาไม่ใช่ยาสามัญทั่วไป เราควรให้แพทย์เขียนระบุว่า เราเป็นโรคอะไร และจำเป็นต้องใช้ยาอะไรบ้าง

 
แต่สำหรับผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวอาจสงสัยว่า แล้วยาสามัญประจำบ้านชนิดใดบ้างที่เราจะสามารถนำติดตัวไป และควรจะพกไป เผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินได้บ้าง ยาเหล่านั้น คือ
 
  • พาราเซตามอล ลดไข้ แก้ปวด
  • ยาแก้เมารถ เมาเรือ
  • ยาแก้แพ้
  • ยาลดกรด แก้ท้องอืด แก้ปวดท้อง
  • เกลือแร่ แก้ท้องเสีย
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ

ดังนั้น ผู้ที่มีโรคประจำตัว หากรู้ตัวว่าต้องเดินทางไกล ให้ทุกท่านเตรียมตัวในการพกยาไปให้ดี สำหรับผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว ยาสามัญทั่วไปก็จำเป็นเช่นกัน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้ไม่วิตกกังวลในการหายามารักษาไม่ทัน

Ramachannel
ภญ.ปานฝัน เลาะวิธี งานเภสัชกรรม ฝ่ายสนับสนุนทางการแพทย์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

มาตรการเรื่องของเหลวและการตรวจค้น ท่าอากาศไทย

บ.ท่าอากาศไทย ไม่ได้กำหนดเฉพาะเจาะจงในการให้หรือห้ามนำยาขึ้นเครื่อง แต่จะกำหนดในมาตรการเรื่องของเหลวแทน ซึ่งโดยหลัก คือ ของเหลว เจล สเปรย์ วัตถุหรือสารอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันที่มีขนาดบรรจุเกินกว่า 100 มิลลิลิตร (ที่ไม่ใช่วัตถุอันตราย) ใส่ในกระเป๋าสัมภาระที่จะบรรทุกไปใต้ท้องเครื่องบิน ไม่อนุญาตให้นำติดตัวขึ้นเครื่องบิน  [source]

มาตรการเรื่องของเหลว เจล สเปรย์ หรือวัตถุและสารอื่น ๆ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน (Liquids, Aerosols and Gels : LAGs)

เป็นขั้นตอนการตรวจค้นสำหรับผู้โดยสาร และเจ้าหน้าที่ประจำอากาศยานที่เดินทางไปกับอากาศยานในทุกเที่ยวบินที่ทำการบินออกจากทุกท่าอากาศยานของ ทอท. รวมทั้งเจ้าหน้าที่และบุคคลที่ได้รับสิทธิในการเข้า-ออกพื้นที่หวงห้ามหลังจุดตรวจค้น ณ ทุกท่าอากาศยานของ ทอท. โดยไม่ใช้ปฏิบัติสำหรับของเหลว เจล สเปรย์ (LAGs) หรือวัตถุและสารอื่น ๆ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ประเภทยาและนม หรืออาหารสำหรับเด็กทารก ซึ่งอนุญาตให้นำขึ้นในห้องโดยสารอากาศยานได้ในปริมาณที่เหมาะสม
 
ขั้นตอนการปฏิบัติ
 
1. กรณี LAGs ที่เป็นสัมภาระส่วนตัว
 
1.1 ต้องบรรจุในภาชนะที่มีกำหนดปริมาณความจุไม่เกิน 100 มิลลิลิตร (กรณีภาชนะที่มีกำหนดปริมาณความจุเกิน 100 มิลลิลิตร แต่มี LAGs บรรจุอยู่ถึงแม้ว่าจะไม่เกิน 100 มิลลิลิตร จะไม่อนุญาตให้นำขึ้นในห้องโดยสารอากาศยาน)
 
1.2 ภาชนะที่บรรจุ LAGs ตามข้อ 2.1.1 ต้องถูกใส่รวมในถุงพลาสติกใส (Transparent Re-Sealable Plastic Bag) รวมกันแล้วไม่เกิน 1,000 มิลลิลิตร (หรือปริมาณที่เทียบเท่าในหน่วยวัดปริมาณอื่น) และปิดผนึกปากถุงให้เรียบร้อย โดยอนุญาตให้ผู้โดยสาร 1 คน ต่อ 1 ถุง
 
1.3 ให้ผู้โดยสารแยกถุงพลาสติกใสตามข้อ 2.1.2 ออกจากกระเป๋า/สัมภาระอื่นๆ ที่จะนำขึ้นในห้องโดยสารอากาศยาน รวมทั้งเสื้อคลุม และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจค้นเป็นการเฉพาะ
 
 
ผู้โดยสารต้องเตรียมพร้อมเพื่อผ่านจุดตรวจค้นเพื่อการรักษาความปลอดภัย ดังนี้
 
1. นำของเหลว เจล และสเปรย์ หรือวัตถุและสารอื่นๆ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ที่บรรจุมาในภาชนะบรรจุขนาดเกินกว่า 100 มิลลิลิตรใส่ในสัมภาระบรรทุก (Checked Baggage) เพื่อทำการ Check-in เนื่องจากไม่อนุญาตให้นำติดตัวขึ้นบนอากาศยาน
 
2. หากต้องการนำ ของเหลว เจล และสเปรย์ฯ ติดตัวขึ้นบนอากาศยาน (Carry-on) ของเหลวฯ นั้นต้องมีขนาดบรรจุภัณฑ์ไม่เกิน 100 มิลลิลิตร นำใส่ไว้ในถุงพลาสติกใสแบบ Zip-lock ขนาด 20 x 20 ซม. (มีจัดเตรียมไว้ให้ที่โต๊ะบริการ บริเวณด้านหน้าเคาน์เตอร์ Check-in) ผู้โดยสาร 1 คน ต่อถุง Zip-lock 1 ถุง โดย
ปริมาณของเหลวฯ เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 1 ลิตร และนำผ่านเครื่อง X-Ray ซึ่งแยกจากสัมภาระติดตัวอื่น ๆ
 
 
ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2550 กรมการขนส่งทางอากาศได้ประกาศใช้ข้อกำหนดเกี่ยวกับการนำของเหลว เจล สเปรย์ หรือวัตถุ และสารอื่นๆ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันติดตัวขึ้นเครื่องบินของผู้โดยสารทุกสัญชาติ โดยสัมภาระติดตัวที่เป็นของเหลวต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่ม อาหารกระป๋อง ช็อกโกแลต น้ำยาบ้วนปาก ครีมโกนหนวด สเปรย์จัดแต่งทรงผม น้ำหอม โคโลญจน์ ครีม ยาหม่อง ยาทาเล็บ เทียนไข ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (เช่น ลิปกลอส มาสคารา ครีมรองพื้น ฯลฯ) และอื่นๆ ที่มีลักษณะเป็นของเหลว สามารถนำขึ้นเครื่องได้ โดยขนาดของแต่ละบรรจุภัณฑ์ต้องไม่เกิน 100 มิลลิลิตร (100 CC) ซึ่งของเหลวทั้งหมดต้องบรรจุภายในถุงพลาสติกใสขนาดไม่เกิน 20 x 20 เซนติเมตร ที่เปิดปิดผนึกได้ (หรือถุงซิปล็อค) โดยขนาดของถุงพลาสติกต้องมีความจุไม่เกิน 1 ลิตร และผู้โดยสาร 1 คน สามารถนำถุงพลาสติกใสขึ้นเครื่องได้คนละ 1 ใบ เท่านั้น สำหรับสินค้าที่เป็นของเหลวที่ซื้อภายในคิง เพาเวอร์ ดิวตี้ ฟรี สามารถซื้อได้ไม่จำกัดจำนวน ยกเว้นผู้โดยสารที่มีจุดหมายปลายทางไปยังประเทศที่มีข้อจำกัดเฉพาะ  [source]
น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์จัดเป็นของเหลวประเภทยาถ้ามีขนาดไม่เกิน 100 ml สามารถนำขึ้นเครื่องบินได้ [Johnson & Johnson Vision]

ยาต้องห้าม ห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่น

อย.ไทย ประกาศ "ระวังยาต้องห้าม ห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่น" ดังนี้
1. TYLENOL COLD
2. NYQUIL
3. NYQUIL LIQUICAPS
4. ACTIFED
5. SUDAFED
6. ADVIL COLD & SINUS
7. DRISTAN COLD/ “NO DROWSINESS”
8. DRISTAN SINUS
9. DRIXORAL SINUS
10. VICKS INHALER (ยาพ่น)
11. LOMOTIL
 
โดยยาที่มีชื่อการค้าลำดับ ที่ 1-10 เป็นยาที่มีสาร ซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine) เป็นสารสำคัญ ใช้ในการใช้แก้ปวด ลดไข้ บรรเทาอาการไอ คัดจมูก แพ้อากาศ ลดน้ำมูก เป็นต้น
 
ส่วนยาในลำดับที่ 11 มีสารสำคัญที่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 (Atropine และ Diphenoxylate)ใช้ในการบรรเทาอาการท้องเสีย
 
*อ้างอิงรายชื่อยาจากเว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่นประจำนครซีแอทเทิล
 

เพื่อความสบายใจ การพกยาใดๆ เข้าประเทศญี่ปุ่นก็ควรมี
 
1. ใบสั่งแพทย์ต้องนำใบสั่งแพทย์นั้นติดตัวไปด้วยทุกครั้ง
2. ยาต้องอยู่ในแผงยา หรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อแสดงรายละเอียดของยาแก่เจ้าหน้าที่
3. จำนวนของยาจำเป็นที่ติดตัวได้ต้องใช้ได้ไม่เกิน 30 วัน
4. ยาที่มีส่วนผสมของยาเสพติด ให้โทษที่ใช้ทางการแพทย์ต้องมีมาตรการควบคุมเป็นพิเศษ
5. ยากลุ่มยานอนหลับควรระวังในการพกพา 
[source]

สายการบิน Jetstar Airways

การพกพายารักษาโรคระหว่างการเดินทาง
 
  • สายการบิน แนะนำให้คุณรวบรวมอุปกรณ์การแพทย์ทั้งหมดที่จำเป็นไว้ในหีบห่อเดียวและใส่ไว้ในสัมภาระติดตัวของคุณ หรืออย่างน้อยที่สุดควรจัดเตรียมยาที่จำเป็นให้เพียงพอสำหรับหนึ่งสัปดาห์เป็นอย่างน้อย เพื่อให้คุณมียาที่จะสามารถใช้ได้หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่ทำให้สัมภาระเช็คอินของคุณพลัดหลงจากคุณ ณ จุดใดจุดหนึ่งระหว่างการเดินทาง
  • ยาดังกล่าวควรมีฉลากที่พิมพ์อย่างถูกต้องซึ่งระบุชื่อยาหรือชื่อผู้ผลิต หรือมีฉลากยาติดอยู่ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหรือเจ้าหน้าที่ศุลกากรอาจขอหลักฐานพิสูจน์ความจำเป็นที่ต้องใช้ยา
  • หากคุณจำเป็นต้องพกพาเข็มฉีดยาชนิดฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (Hypodermic Needle) ขึ้นเครื่องบิน คุณต้องสำแดงอุปกรณ์ดังกล่าวที่จุดตรวจคัดกรอง และเตรียมเอกสารหรือสิ่งที่ใช้ยืนยันอาการเจ็บป่วยของคุณถ้าเป็นไปได้ [source]
  • หากคุณกำลังจะเดินทางพร้อมกับอุปกรณ์ให้ยา กรุณาเตรียมยาที่จำเป็นต่าง ๆ ให้เพียงพออย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ไว้ในสัมภาระติดตัวขึ้นเครื่องของคุณ เพื่อให้คุณยังสามารถใช้ยาได้ในกรณีสัมภาระเช็คอินเกิดพลัดหลงจากคุณ [source]
 

สายการบิน ANA

[ระหว่างประเทศ] ฉันสามารถนำยาขึ้นเครื่องได้หรือไม่ และสามารถนำยามาได้จำนวนเท่าไหร่  [source]
 
  • ท่านสามารถนำยาขึ้นเครื่องบินได้
  • สำหรับยานอกเหนือจากจำนวนที่ต้องใช้ระหว่างเที่ยวบิน เราขอแนะนำให้ท่านใส่ในสัมภาระโหลดใต้ท้องเครื่อง
  • เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการคัดกรองความปลอดภัยที่ราบรื่นยิ่งขึ้น โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่หากท่านมีเอกสารที่มีใบสั่งยาหรือใบรับรองแพทย์
  • หากท่านไม่มีเอกสารประกอบดังกล่าว โปรดแสดงสมุดบัญชียาหรือคู่มือการใช้ยาของคุณหรือแจ้งเจ้าหน้าที่
  • ยาและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์อื่นๆ ได้รับการยกเว้นจากข้อกำหนดของปริมาณของเหลว แต่ต้องผ่านการตรวจคัดกรองความปลอดภัย
  • ท่านสามารถพกยาที่จำเป็น (ยาหยอดตา ยาหยอดจมูก เป็นต้น) ขึ้นเครื่องบินได้โดยไม่ต้องใส่ในถุงพลาสติกใส
  • โปรดดูที่ สัมภาระที่ถูกจำกัด หน้าสัมภาระที่สามารถนำขึ้นเครื่องบินหรือเช็คอินได้ตามเงื่อนไขในรายการเครื่องสำอางหรือเภสัชภัณฑ์ที่ไม่มีสารกัมมันตรังสี (รวมถึงสเปรย์ฉีดผม) สำหรับปริมาณสุทธิต่อคนหรือภาชนะบรรจุ
 
[ระหว่างประเทศ] ของเหลวและสเปรย์ประเภทยาแก้คัน ยาฆ่าเชื้อ(Antiseptics) และอื่นๆ สามารถนำขึ้นเครื่องหรือใส่ในสัมภาระเช็คอินได้หรือไม่ [source]

สิ่งของต่อไปนี้จัดเป็นสิ่งของเครื่องใช้ในห้องน้ำและยาสามารถนำขึ้นเครื่องบินหรือเช็คอินได้หากเป็นไปตามเงื่อนไข
  • ยาแก้คัน (ของเหลว, สเปรย์), กันแมลง(ของเหลว, สเปรย์),
  • ยาทำให้ปราศจากเชื้อ – ยาฆ่าเชื้อ (Antiseptics) (ของเหลว, สเปรย์)
  • ยาแก้ปวด ต้านการอักเสบ (ของเหลว, สเปรย์)
 
เงื่อนไข
  • อนุญาต ถือขึ้นเครื่อง ได้  -  ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของเหลว เจล สเปรย์ (LAGs) ที่นำขึ้นเครื่อง
  • อนุญาต ให้ถือเช็คอิน ได้
  • ปริมาณต่อบรรจุภัณฑ์ เท่ากับหรือน้อยกว่า 0.5 ลิตร หรือ 0.5 กก. เท่ากับหรือน้อยกว่า
  • ปริมาณต่อบุคคล เท่ากับหรือน้อยกว่า 2 ลิตร หรือ 2 กก. - จำนวนข้างต้นต่อบุคคลเป็นจำนวนรวมทั้งหมดของสิ่งของเครื่องใช้ในห้องน้ำ ยาและสเปรย์
หัวฉีดสเปรย์จะต้องได้รับการป้องกันด้วยฝาปิดหรือวิธีการอื่นที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการปล่อยสารโดยไม่ได้ตั้งใจ
 
[หมายเหตุ] ยาฆ่าแมลงที่มีสารพิษจัดเป็นสินค้าอันตรายและไม่สามารถนำขึ้นเครื่องบินหรือเก็บในสัมภาระโหลดใต้ท้องเครื่องได้ตามกฎหมาย

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด