ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เช็กให้ชัวร์ก่อนเดินทาง เงื่อนไขการนำของเหลว เจล สเปรย์ ขึ้นเครื่องบิน

เช็กให้ชัวร์ก่อนเดินทาง เงื่อนไขการนำของเหลว เจล สเปรย์ ขึ้นเครื่องบิน Thumb HealthServ.net
เช็กให้ชัวร์ก่อนเดินทาง เงื่อนไขการนำของเหลว เจล สเปรย์ ขึ้นเครื่องบิน ThumbMobile HealthServ.net

การเดินทางในประเทศโดยสายการบินกลับมาให้บริการ ประชาชนเริ่มเดินทาง แนะนำควรศีกษาข้อมูลเงื่อนไขการนำของเหลว เจล สเปรย์ ขึ้นเครื่องบิน ให้ชัดเจนเพื่อความสะดวกรวดเร็ว ไม่ติดขัดในการเดินทางขึ้นเครื่อง

AOT ได้จัดทำข้อมูล infographic สวยงามและง่ายต่อการศึกษาทำความเข้าใจ อ้างอิงจาก ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เรื่องหลักเกณฑ์การตรวจค้นของเหลว เจล สเปรย์ (LAGs) ที่จะนำขึ้นห้องโดยสารอากาศยาน หรือนำเข้าไปในเขตหวงห้ามของสนามบินสาธารณะ พ.ศ. 2562 [pdfรายละเอียดประกาศฉบับเต็มด้านล่าง
 
 

เงื่อนไขการนำของเหลว เจล สเปรย์ ขึ้นเครื่องบิน

 

ความหมายของของเหลว เจล สเปรย์

 

เงื่อนไขการนำของเหลว เจล สเปรย์ ขึ้นเครื่องบิน

 

ผ่อนปรนให้นำเจลล้างมือขึ้นเครื่องได้

ตั้งแต่ 27 มีนาคม 2563 สนามบินผ่อนปรนให้นำเจลล้างมือ ติดตัวขึ้นเครื่องบินได้ โดยมีความจุไม่เกิน 350 มล. (12 ออนซ์) ต่อชิ้น  

ผลิตภัณฑ์ต้องมีข้อความระบุปริมาณชัดเจน และทุกชิ้นต้องปิดสนิท 

กรณีผู้ปฏิบัติงาน

 

เงื่อนไขเพิ่มเติม (เริ่มใช้ 23 มิ.ย.62)

 น้ำพริก แกง น้ำจิ้ม ในปริมาตรที่เกินกำหนด เคยผ่อนปรนให้สำหรับเที่ยวบินในประเทศ จะไม่ได้รับการยกเว้น อีกต่อไป ผู้โดยสารต้องนำไปกับสัมภาระที่บรรทุกใต้ท้องเครื่องบินเท่านั้น

ประกาศหลักเกณฑ์การตรวจค้นของเหลว เจล สเปรย์ (LAGs) พ.ศ. 2562

ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เรื่องหลักเกณฑ์การตรวจค้นของเหลว เจล สเปรย์ (LAGs) ที่จะนำขึ้นห้องโดยสารอากาศยาน หรือนำเข้าไปในเขตหวงห้ามของสนามบินสาธารณะ พ.ศ. 2562 [pdf]
 
ประกาศนี้ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางอากาศ เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการนำของเหลว เจล สเปรย์ หรือวัตถุและสารอื่นๆซึ่งมีลักษณะคล้ายดลึงกันขึ้นในห้องโดยสารอากาศยาน  ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
 
ให้ใช้นิยามใหม่แทน ดังนี้
 
ข้อ 4 ในประกาศนี้ 
"ของเหลว เจล สเปรย์" หมายความรวมถึง ของเหลวในรูปแบบต่าง ๆ เช่น น้ำ เครื่องดื่ม ซุป น้ำเชื่อม แยม สตูว์ ซอส น้ำพริก หรืออาหารอย่างอื่นที่อยู่ในซอส หรือที่มีส่วนประกอบเป็นของเหลวในปริมาณมาก ตลอดจนครีม โลชั่น เครื่องสำอาง น้ำมัน น้ำหอม หรือเจลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ยา ยาสีฟัน อาหาร ยาสระผม เจลอาบน้ำ หรือวัตถุหรือสารที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่มีแรงตันและต้องฉีดพ่นเพื่อนำออกมาใช้ เช่น สเปรย์ โฟม รวมถึงวัตถุหรือสารที่มีส่วนผสมของของแข็งและของเหลว เช่น มาสคารา สิปสติกหรือลิปบาล์ม
 
ข้อ 5 ให้ผู้ได้รับใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะตรวจค้นของเหลว เจล สเปรย์ ที่จะนำขึ้นยนห้องโดยสารอากาศยานหรือนำเข้าไปในเขตหวงห้ามของสนามบินสาธารณะ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
 
 
 
ข้อ 6 ของเหลว เจล สเปรย์ที่ผู้โดยสารจะนำขึ้นบนห้องโดยสารอากาศยานหรือนำเข้าไปในเขตหวงห้ามของสนามนินสาธารณะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
 
(1) ของเหลว เจล สเปรย์ แต่ละชิ้นต้องอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิทและมีปริมาตรไม่เกิน 100 มิลลิลิตร หรือในหน่วยวัดปริมาตรอย่างอื่นที่เท่ากัน
 
(2) บรรจุภัณฑ์ที่จะใช้บรรจุของเหลว เจล สเปรย์ ตาม (1) ต้องมีปริมาตรที่รองรับของเหลว เจล สเปรย์ได้ไม่เกิน 100 มิลลิลิตร และต้องมีข้อความระบุปริมาตรของบรรจุภัณฑ์ ไม่ว่าบรรจุภัณฑ์นั้นจะบรรจุของเหลว เจล สเปรย์ไว้เพียงบางส่วนก็ตาม
 
(3) ผู้โดยสารสามารถนำของเหลว เจล สเปรย์ ตาม (1) ขึ้นบนห้องโดยสารอากาศยานหรือนำเข้าไปในเขตหวงห้ามของสนามบินสาธารณะได้มากกว่า 1 ชิ้น แต่ต้องมีปริมาตรรวมกันสูงสุดไม่เกินคนละ 1,000 มิลลิลิตร
 
ในกรณีตาม (3) ผู้ได้รับใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะอาจกำหนดมาตรการเพิ่มเติม ให้ผู้โดยสารนำของเหลว เจล สเปรย์ใส่รวมในถุงพลาสติกใสที่สามารถปิดผนึกได้ (Transparent Re-Sealable Plastic Bag) หรือในบรรจุภัณฑ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกัน และต้องปีดผนึกปากถุงให้เรียบร้อย โดยให้สามารถนำไปได้คนละ 1 ถุง โดยไม่นับรวมอยู่ในจำนวนสัมภาระติดตัวที่ผู้ดำเนินการเดินอากาศแต่ละรายอนุญาตให้นำขึ้นบนห้องโดยสารอากาศยานได้
 
ข้อ 7 ผู้ได้รับใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะต้องกำหนดมาตรการตรวจค้นของเหลว เจล สเปรย์ ที่จะนำขึ้นบนห้องโดยสารอากาศยานหรือนำเข้าไปในเขตหวงห้ามของสนามบินสาธารณะตามข้อ 6 โดยแยกบรรจุภัณฑ์หรือถุงพลาสติกใสออกจากสัมภาระติดตัวอื่น ๆ ที่จะนำขึ้นบนห้องโดยสารอากาศยานหรือนำเข้าไปในเขตหวงห้ามของสนามบินสาธารณะ เพื่อให้พนักงานตรวจค้นทำการตรวจค้นของเหลว เจล สเปรย์ ณ บริเวณจุดตรวจค้นเพื่อการรักษาความปลอดภัย (Security Screening Point) เป็นการเฉพาะแยกต่างหากจากสัมภาระติดตัวอย่างอื่น เว้นแต่มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจค้น เช่น X-ray Screening หรือวิธีการอื่นใดที่สามารถตรวจพบของเหลว เจล สเปรย์ ได้
 
ข้อ 8 ความในข้อ 6 ไม่นำมาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ของเหลว เจล สเปรย์ ประเภทยาให้มีใบรับรองแพทย์ ฉลาก หรือเอกสารกำกับยาที่ระบุชื่อผู้โดยสารซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้ยานั้น เว้นแต่เป็นยาสามัญประจำบ้านตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงอาหารหรือนมสำหรับเด็กทารก อาหารที่ต้องพกพาตามข้อกำหนดทางการแพทย์หรือเพื่อวัตถุประสงค์ทางโภชนาการในปริมาณที่เหมาะสมกับระยะเวลาการเดินทางในแต่ละเที่ยวบิน ทั้งนี้ ผู้โดยสารต้องแสดงให้พนักงานตรวจค้น ณ บริเวณจุดตรวจค้นเพื่อการรักษาความปลอดภัย (Security Screening Point) เพื่อทำการตรวจสอบ
 
(2) ของเหลว เจล สเปรย์ ที่ผู้ประจำหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานบนห้องโดยสารอากาสยานจะนำขึ้นอากาศยาน หรือที่บุคคลนำเข้าไปในเขตหวงห้ามของสนามบินสาธารณะนำไปใช้ส่วนตัวในปริมาณเท่าที่จำเป็น ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่และเหมาะสมกับระยะเวลาการปฏิบัติงานจริง (Operating Hours) ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวต้องแสดงให้พนักงานตรวจค้น ณ บริเวณจุดตรวจคันเพื่อการรักษาความปลอดภัย (Security Screening Point) เพื่อทำการตรวจสอบ
 
(3) ของเหลว เจล สเปรย์ ที่ผู้ปฏิบัติงานในสนามบิน ผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในเขตหวงห้ามหรือผู้ปฏิบัติงานในกรณีฉุกเฉินนำเข้าไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวต้องแสดงให้พนักงานตรวจค้น ณ บริเวณจุดตรวจค้นเพื่อการรักษาความปลอดภัย (Security Screening Point) เพื่อทำการตรวจสอบ
 
(4) ของเหลว เจล สเปรย์ ซึ่งผู้โดยสารซื้อจากร้านค้าปลอดอากร (Duty Free Shop) ภายในสนามบินหรือบนห้องโดยสารอากาศยาน แต่จะต้องบรรจุไว้ในถุงพลาสติกที่สามารถบ่งชี้ร่องรอยการแกะหรือการเปิดปากถุง (Security Tampered-Evident Bags : STEBs) โดยต้องปิดผนึก (Sealed) เรียบร้อยและไม่มีร่องรอยการแกะหรือการเปิดปากถุงหลังจากซื้อ และมีหลักฐานแสดงว่าได้ซื้อในวันที่ผู้โดยสารเดินทาง ทั้งนี้ ผู้โดยสารเปลี่ยนลำ (Transfer Passenger) หรือผู้โดยสารผ่าน (Transit Passenger) ต้องแสดงให้พนักงานตรวจค้น ณ บริเวณจุดตรวจค้นเพื่อการรักษาความปลอดภัย (Security Screening Point เพื่อทำการตรวจสอบ
 
เพื่อประโยชน์ของผู้โดยสาร ก่อนซื้อสินค้าปลอดอากร ผู้โดยสารต้องตรวจสอบข้อมูลจากร้านค้าปลอดอากรภายในสนามบินหรือบนห้องโดยสารอากาศยานเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การปฏิบัติต่อของเหลว เจล สเปรย์ ณ สนามบินปลายทางของการเดินทางและสนามบินทุกแห่งที่ผู้โดยสารต้องลงจากอากาศยานเพื่อแวะพักหรือเปลี่ยนลำอากาศยาน
 
ข้อ 9 ของที่มีส่วนประกอบเป็นของเหลว เจล สเปรย์ในปริมาณมากที่ผู้โดยสารนำติดตัวมาเป็นสัมภาระหรือซื้อมาจากร้านค้าภายนอกสนามบินหรือร้านค้าภายในสนามบินก่นเข้าจุดตรวจค้นเพื่อการรักษาความปลอดภัย (Security Screening Point) ผู้โดยสารต้องส่งมอบให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศเพื่อจัดเก็บเป็นสัมภาระลงทะเบียนเท่านั้น
 
ข้อ 10 ภายใต้การประเมินความเสี่ยงด้านการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนของผู้ได้รับใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะ ผู้ได้รับใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะอาจปรับเพิ่มความเข้มงวดของหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อ 6 ข้อ 7 หรือข้อ 8 ให้สอดคล้องกับระดับภัยคุกคามได้
 
 
ข้อ 11 ให้ผู้ได้รับใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะจัดให้มีการประชาสัมพันธ์การนำของเหลว เจล สเปรย์ขึ้นบนห้องโดยสารอากาศยานหรือเข้าเขตพื้นที่หวงห้ามของสนามบินสาธารณะ ให้กับผู้โดยสาร ผู้ประจำหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานบนห้องโดยสารอากาศยาน เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในสนามบิน ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในเขตพื้นที่หวงห้าม รวมถึงบุคคลใด ๆ ทราบ ณ บริเวณที่เห็นได้ชัดเจนภายในอาคารผู้โดยสาร เช่น จุดแสดงตนเพื่อรับบัตรโดยสาร จุดตรวจค้นเพื่อการรักษาความปลอดภัย รวมทั้งช่องทางอื่นใดเพื่อให้ทราบล่วงหน้าก่อนเข้าพื้นที่หวงห้ามของสนามบินสาธารณะ
 
ประกาศ ณ วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2562
(นายจุฬา สุขมานพ)
ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด