ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคแบคทีเรียกินเนื้อคนหรือโรคเนื้อเน่า (Necrotizing Fasciitis)

โรคแบคทีเรียกินเนื้อคน หรือโรคเนื้อเน่า Necrotizing Fasciitis เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่เนื้อเยื้อใต้ผิวหนัง อาทิ ไขมันใต้ผิวหนัง ผังผืดและกล้ามเนื้อ จะมีความรุนแรงมาก อันตรายถึงชีวิต

โรคแบคทีเรียกินเนื้อคนหรือโรคเนื้อเน่า Necrotizing Fasciitis
 
            โรคแบคทีเรียกินเนื้อคน หรือโรคเนื้อเน่า Necrotizing Fasciitis เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่เนื้อเยื้อใต้ผิวหนัง อาทิ ไขมันใต้ผิวหนัง ผังผืดและกล้ามเนื้อ จะมีความรุนแรงมาก อันตรายถึงชีวิต หากรักษาไม่ทัน เพราะเชื้อจะทำลายเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง กล้ามเนื้อที่มักพบบ่อยที่แขนขา บริเวณฝีเย็บ และลำตัว มักมีประวัติได้รับอุบัติเหตุ ไปเที่ยวทะเล ถูกก้างปลาตำ
 
เชื้อที่เป็นสาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Streptococcus เมื่อเชื้อเข้าสู่เนื้อเยื่อ โดยผ่านทางแผลที่ผิวหนัง เชื้อจะเจริญอย่างรวดเร็วและหลั่งสารพิษ (Toxin) ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายเนื้อเยื่อ มีผลทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นไม่พอทำให้กล้ามเนื้อตาย และเชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือดและลามไปทั่วร่างกาย
 
 
อาการของโรค
1.ไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน เหงือออก เป็นลม ช๊อกหมดหมดสติ
 
2.อาการของโรคแบ่งตามระยะเวลาที่เกิดโรค
 
3.อาการของโรควันที่ 1-2 มีอาการปวดบริเวณที่เกิดโรค บวม และแดง ลักษณะจะคล้ายกับผิวหนังอักเสบหรือไฟลามทุ่ง แต่โรคเนื้อเน่าเกิดในชั้นลึกกว่านั้นซึ่งมองไม่เห็น อาการปวดจะรุนแรงมากขึ้นซึ่งไม่สอดคล้องกับอาการทางผิวหนังที่ตรวจพบ ไม่ตอบสนองต่อยาปฎิชีวนะ ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัวหัวใจเต้นเร็ว มีลักษณะอาการขาดน้ำ
 
4.อาการของโรควันที่ 2-4  พบว่าบริเวณที่บวมจะกว้างกว่าบริเวณผิวหนังที่แดง มีผื่นผุพองซึ่งบ่งบอกว่าผิวหนังขาดเลือด และมีเลือดออก ผิวมีสีออกคล้ำเนื่องจากผิวหนังเริ่มตาย เมื่อกดผิวจะพบว่าแข็งไม่สามารถคลำขอบของกล้ามเนื้อได้ อาจจะคลำได้กรอบแกรบใต้ผิวหนัง เนื่องจากเกิดแก๊สใต้ผิวหนัง
 
5. อาการของโรควันที่ 4-5 จะมีความดันโลหิตต่ำ และมีภาวะโลหิตเป็นพิษ ผู้ป่วยจะไม่ค่อยรู้สึกตัว
 
 
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเนื้อเน่าได้แก่
  • ผิวหนังมีแผลจากแมลงกัดต่อย อุบัติเหตุถูกของมีคมตำหรือบาด แผลผ่าตัด
  • มีโรคประจำตัว เช่น ติดสุรา ติดยาเสพติด โรคตับ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง วัณโรค
  • อาจเกิดหลังจากป่วยเป็นโรคไข้สุกใส
  • มีการใช้ยา Steroid
 
 
การรักษา
มาพบแพทย์โดยด่วนเพื่อวินิจฉัยให้เร็ว และผ่าตัดเอาเนื้อที่ตายหรือเนื้อที่ติดเชื้อออกให้มากที่สุด ผ่าตัดเพื่อระบายเอาหนองออก และตัดเนื้อเยื่อที่ตาย หากติดเชื้อรุนแรงอาจจำเป็นต้องตัดอวัยวะนั้นออก
 
 
อาการแทรกซ้อน
อัตราเสียชีวิตจะสูง เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ การติดเชื้ออาจจะทำให้เส้นประสาท กล้ามเนื้อและหลอดเลือดถูกทำลาย อาจจะต้องตัดอวัยวะทิ้ง
 
 
การป้องกันโรค
การดูแลแผล การดูแลแผลจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคเนื้อเน่า
 
  • เมื่อเกิดแผล รีบทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดทันที
  • ทำความสาดแผลทุกวัน และใช้อุปกรณ์ทำแผลที่สะอาด
  • ระหว่างที่มีแผลควรหลีกเลี่ยงการใช้สระน้ำ และอ่างอาบน้ำร่วมกัน
  • ล้างมือทุกครั้งก่อนแหละหลังสัมผัสแผลบริเวณที่ติดเชื้อได้ง่าย
  • โรคเนื้อเน่าเกิดกับส่วนใดๆของร่างกายก็ได้ แต่พบบ่อยที่แขน / ขา บริเวณฝีเย็บและลำตัว
  • มักจะมีประวัติได้รับอุบัติเหตุ ไปเที่ยวทะเลถูกก้างปลาตำ
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด