ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ประโยชน์ของการนวด

ประโยชน์ของการนวด Thumb HealthServ.net
ประโยชน์ของการนวด ThumbMobile HealthServ.net

การนวด ถือว่าเป็นการดูแลสุขภาพและรักษาโรคของบรรพบุรุษไทยมาอย่างช้านาน ในการบำบัดอาการเจ็บป่วย ซึ่งในการนวด ต้องคำนึงถึงผลข้างเคียงของโรคและความปลอดภัย

 



ศูนย์หัตถเวชวิภาวดีได้ให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสุขภาพด้วยการนวด ในการทำการนวดจะมีการซักประวัติ ตรวจร่างกาย วินิจฉัย ก่อนทำการนวดเพื่อความปลอดภัยและการให้คำแนะนำที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัว สำหรับโปรแกรมการดูแลรักษาสุขภาพก็มีทั้ง
 
  • การนวดเพื่อบำบัดอาการ เช่น อาการปวดกล้ามเนื้อหลังจากการ ทำงานหนัก , การยกของผิดท่าทาง อาการอ่อนแรงของ อัมพฤกษ์ อัมพาต ด้วยการนวดคลายกล้ามเนื้อ , การนวดกดจุด , การนวดด้วยน้ำมันคลายกล้ามเนื้อและการประคบด้วยสมุนไพรสด
  • การนวดเพื่อสุขภาพ เป็นการนวดเพื่อให้เกิดความผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ ลดการตึงตัวและเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต เช่น การนวดตัวเพื่อสุขภาพ , การนวดเท้าเพื่อสุขภาพ
  • การนวดเพื่อความสวยงาม เช่น การขัดตัวด้วยสมุนไพร ซึ่งอยู่ในความดูแลของทีมงานด้านการแพทย์แผนไทย และการันตี ในเรื่องของความสะอาด สะดวกและปลอดภัย
  • การนวดคลายเครียด เป็นการนวดเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดบริเวณบ่า , ต้นคอและศีรษะ เพื่อให้ผู้ถูกนวดรู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ ลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ
  • การนวดอโรมา เป็นการนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้ในการบำบัดด้วย การนวดผสมผสานกับกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยที่มีคุณสมบัติในการลดความตึงเครียด และทำให้เกิดการผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งในทางการแพทย์ยอมรับว่าเป็นทางเลือกหนึ่งในการบำบัดอาการอีกวิธีหนึ่งด้วย
  • การอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เป็นการนำสมุนไพรสดที่มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อ , ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตและลดอาการของระบบทางเดินหายใจ เช่น อาการหวัด
  • การนวดร่างกายโดยใช้น้ำมัน ช่วยให้สดชื่น คลายเครียดด้วยกลิ่นหอมเฉพาะทางที่ใช้ในการบำบัดอาการให้เบาบางลง เช่น อาการนอนไม่หลับ อาการเครียด หดหู่ นอกจากนี้น้ำมันยังช่วยบำรุงผิว และกระชับรูปร่างไม่ให้กล้ามเนื้อหย่อนยาน ช่วยสลายไขมันไม่ให้สะสมตามที่ต่างๆ ของร่างกาย และความร้อนของน้ำมันที่เกิดจากการนวดจะซึมซาบลึกเข้าไปผิวหนัง และกล้ามเนื้อช่วยให้รู้สึกเบาสบายตัว
     
การนวดฝ่าเท้า นวดเท้า เป็นการปรับสมดุลในร่างกาย เนื่องจากมีจุดสะท้อนของอวัยวะภายในร่างกายที่ฝ่าเท้า และเท้า การนวดฝ่าเท้า และเท้า จึงเป็นการช่วยให้ระบบการไหวเวียนไปยังอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายได้ดีขึ้น ส่งผลให้มีการขับถ่ายของเสียออกจากเซลล์ ปรับสภาวะสมดุลของร่างกายทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น

การบริหารตน ด้วยวิธีการนวดบ่าคอและศีรษะ

 
  1. ใช้นิ้วชี้นิ้วกลางและนิ้วนาง กดบีบแนวบ่า
  2. ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง กดบีบบริเวณเกลียวคอ
  3. ประสานมือเข้าด้วยกันบริเวณท้ายทอย ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองกดตามแนวเกลียวคอ
  4. ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างกดจุดใต้ไรผม 2 จุด
  5. นั่งขัดสมาธิ งอข้อศอกข้างหนึ่งให้มือจับบ่าด้านตรงข้าม ใช้มืออีกข้างจับที่ข้อศอกไว้ หายใจเข้า หายใจออก พร้อมๆกับดันข้อศอกเข้าหาตัวให้มากที่สุด หายใจเข้าออกปกติ ๓-๕ ครั้ง แล้วผ่อนออก ทำสลับข้างทั้งซ้ายและขวาท่านี้เป็นการยืดข้อไหล่ เป็นท่าฤาษีดัดตนซึ่งระบุว่า แก้ขัดแขน
  6. นั่งขัดสมาธิ มือข้างหนึ่งวางบนหน้า ตัก ฝ่ามืออีกข้างวางไว้ใต้กกหู หายใจเข้า หายใจออก พร้อมกับดันมือทั้งสองข้าง หายใจเข้าออกปกติ 3-5 ครั้ง แล้วผ่อนออกท่านี้ช่วยยืดกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ ช่วยบรรเทาอาการปวดคอ และปวดศีรษะ
  7. เป็นท่าฤาษีดัดตนซึ่งระบุว่า แก้ลมเวียนศีรษะนั่งขัดสมาธิ ตัวตรง พนมมือระหว่างอก หายใจเข้า ค่อยๆยกมือขึ้นเหนือศีรษะ ออกแรงดันฝ่ามือเข้าหากัน ยืดลำตัว หายใจเข้าออกปกติ ๓-๕ ครั้ง แล้วผ่อนออกท่านี้ช่วยบริหารกล้ามเนื้อคอและสะบัก ช่วยบรรเทาอาการปวดคอ ปวดศีรษะ และปวดสะบักเป็นท่าฤาษีดัดตนซึ่งระบุว่า แก้ลมปวดศีรษะ
  8. นั่งขัดสมาธิ ประสานฝ่ามือไว้ที่หน้าอก หายใจเข้า หายใจออก เหยียดแขนไปข้างหน้าในลักษณะหงายฝ่ามือที่ประสานกันออก หายใจเข้ายกแขนขึ้นเหนือศีรษะ ยืดตัวและแขนให้สุด หายใจเข้าออกปกติ ๓-๕ ครั้ง แล้วผ่อนออก ท่านี้ช่วยยืดกล้ามเนื้อแขนที่ใช้ในการงอข้อมือและนิ้วมือ และบริหารข้อไหล่เป็นท่าฤาษีดัดตนซึ่งระบุว่า แก้เกียจ
     
 

ธาตุเจ้าเรือน

 

1.ธาตุดิน ( ตุลาคม,พฤศจิกายน,ธันวาคม )

 
  • ลักษณะรูปร่าง รูปร่างใหญ่ ผิวค่อนข้างคล้ำ
  • ผมดกดำ กระดูกใหญ่ ข้อกระดูกแข็งแรง ล่ำสัน
  • เสียงดังหนักแน่น
  • รับประทานอาหารรส ฝาด หวาน มัน และเค็ม
  • ผลไม้ มังคุด ฝรั่ง ฟักทอง เผือก ถั่วต่างๆ หัวมันเทศ
  • ผักพื้นบ้าน กล้วยดิบ ยอดมะยม ขนุนอ่อน สะตอ ผักโขม โสน ดอกขจร ยอดฟักทอง บวบเหลี่ยม
  • เมนูอาหาร แกงป่ากล้วยดิบ แกงเลียง ผักหวานใส่ปลาย่าง ดอกขจรผัดไข่ คั่วขนุน สะตอผัดกุ้ง
  • อาหารว่าง สังขยาฟักทอง ข้าวเหนียวถั่วดำ ตะโก้เผือก เต้าส่วน วุ้นกะทิ ถั่วแปบ กล้วยบวดชี
  • เครื่องดื่ม น้ำอ้อย น้ำมะพร้าว น้ำมะตูม นมถั่วเหลือง น้ำลูกเดือย น้ำข้าวโพด น้ำฟักทอง น้ำลูกสำรอง น้ำข้าวกล้องงอก
     
 

2.ธาตุน้ำ ( กรกฎาคม,สิงหาคม, กันยายน )

 
  • ลักษณะรูปร่าง รูปร่างสมบูรณ์ สมส่วน ผิวพรรณสดใส เต่งตึงตาหวาน น้ำในตามาก ท่าทางเดินมั่นคง ผมดกดำเงา ทนหิว ทนร้อน ทนเย็นได้ดี เสียงโปร่ง ความรู้สึกทางเพศดีอากัปกิริยามักเฉื่อยและค่อนข้างเกียจคร้าน
  • รับประทานอาหารรส เปรี้ยวและขม
  • ผลไม้ มะนาว ส้ม สับปะรด มะเขือเทศ มะยม มะดัน กระท้อน
  • ผักพื้นบ้าน ขี้เหล็ก แคบ้าน มะเขือเทศ มะยม มะกอก มะดัน กระท้อน ยอดมะกอก ยอดมะขาม สะเดาบ้าน มะระขี้นก
  • เมนูอาหาร แกงส้มดอกแค แกงอ่อมมะระขี้นก ผัดมะระใส่ไข่ ห่อหมกใบยอ แกงป่าสะเดาใส่ปลาหมอ
  • อาหารว่าง มะยมเชื่อม สับปะรดกวน กระท้อนลอยแก้ว มะม่วงน้ำปลาหวาน
  • เครื่องดื่ม น้ำมะนาว น้ำมะเขือเทศ น้ำมะขาม น้ำสับปะรด น้ำกระเจี๊ยบ น้ำมะเฟือง
     
 

3.ธาตุไฟ ( มกราคม,กุมภาพันธ์,มีนาคม )

 
  • ลักษณะรูปร่าง มักขี้ร้อน ทนร้อนไม่ค่อยดี
  • หิวบ่อย กินเก่ง ผมงอกเร็ว มักหัวล้าน ผิวหนังย่น
  • ไม่ค่อยอดทน ใจร้อน มีกลิ่นปาก กลิ่นตัวแรง
  • ความต้องการทางเพศปานกลาง
  • รับประทานอาหารรส เย็นและจืด
  • ผลไม้ แตงโม มันแกว พุทรา แอปเปิ้ล
  • ผักพื้นบ้าน ผักบุ้ง ผักตำลึง ผักกระเฉด ผักกระสัง สายบัว ผักกาด ผักปลัง มะรุม มะเขือยาว ผักหนาม ยอดมันเทศ กระเจี๊ยบมอญ ยอดฟักทอง หยวกกล้วย หม่อน มะเขือยาว
  • เมนูอาหาร ผัดผักบุ้ง แกงจืดตำลึง ผัดสายบัวใส่พริก แกงส้มมะรุม แกงส้ม-หยวกกล้วยใส่ปลาช่อน ยำผักกระเฉด
  • อาหารว่าง ซ่าหริ่ม ไอศกรีม น้ำแข็งใส
  • เครื่องดื่ม น้ำแตงโมปั่น น้ำใบบัวบก น้ำใบเตย
     
 

4.ธาตุลม ( เมษายน, พฤษภาคม, มิถุนายน )

 
  • ลักษณะรูปร่าง ผิวหนังหยาบแห้งรูปร่างโปร่ง ผอมบาง ข้อกระดูกมักลั่น เมื่อเคลื่อนไหว ขี้อิจฉา ขี้ขลาด รักง่ายหน่ายเร็ว
  • ทนหนาวไม่ค่อยได้ นอนไม่หลับ ช่างพูด ออกเสียง
  • ไม่ชัดเจน ความรู้สึกทางเพศไม่ค่อยดี
  • รับประทานอาหารรส เผ็ดร้อน
  • ผักพื้นบ้าน ขิง ข่า ตะไคร้ กระชาย พริกไทย โหระพา กะทือ ดอกกระเจียว ขมิ้นชัน ช้าพลู พริกขี้หนู สะระแหน่ ผักชีลาว ผักชีล้อม ยี่หร่า สมอไทย กานพลู
  • เมนูอาหาร แกงปลาดุกใส่กะทือ ต้มข่าไก่ ต้มยำกุ้ง แกงหอยขมใส่ใบช้าพลู สมอไทยจิ้มน้ำพริก แกงเลียงผักรวม
  • อาหารว่าง บัวลอยน้ำขิง เต้าฮวย เต้าทึง มันต้มน้ำขิง ถั่วเขียวต้มน้ำขิง เมี่ยงคำเครื่องดื่ม น้ำขิง น้ำตะไคร้ น้ำข่า น้ำกานพลู
 
ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะเด่นๆ บางประการของคนเจ้าเรือนต่างๆลองเปรียบเทียบกับตัวคุณดูว่าดูแล้วน่าจะใกล้เคียงกับเจ้าเรือนแบบไหน แล้วเราจะมาดูว่าควรกินอาหารและปฏิบัติตัวอย่างไร สำหรับคนแต่ละเจ้าเรือน เพื่อร่างกายและจิตใจอยู่ในสมดุลอันเป็นรากฐานของการมีสุขภาพดี
 
 
 
ด้วยความปรารถนาดี ศูนย์หัตถเวช รพ.วิภาวดี

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด