ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

วัคซีนหลักและวัคซีนเสริมสำหรับเด็ก และช่วงเวลาที่เหมาะสม

สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ได้กำหนดวัคซีนพื้นฐาน เป็นวัคซีนที่เด็กไทยทุกคนควรได้รับ เน้นวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นปัญหาสำคัญ โดยกระทรวงสาธารณสุขจัดระบบบริการเพื่อให้เด็กทุกคนในประเทศได้รับวัคซีนตามกำหนด โดยให้สถานบริการสาธารณสุขของรัฐเป็นหน่วยบริการหลัก

 

วัคซีนจำเป็นที่ต้องให้กับเด็กทุกคน

วัคซีนบีซีจี (BCG)
วัคซีนตับอักเสบบี (HBV)
วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP)
วัคซีนโปลิโอชนิดกิน (OPV)
วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม (MMR)
วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (JE)
 

วัคซีนอื่นๆ ที่อาจเสริมหรือทดแทน

วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (DTaP, Tdap)
วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด (IPV)
วัคซีนฮิบ (Hib)
วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (Live JE)
วัคซีนตับอักเสบเอ (HAV)
วัคซีนอีสุกอีใส หรือวัคซีนรวมหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม-อีสุกอีใส (MMRV)
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
วัคซีนนิวโมคอคคัส ชนิดคอนจูเกต (PCV)
วัคซีนโรต้า (Rota)
วัคซีนเอชพีวี (HPV)
 
 

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการให้วัคซีนสำหรับเด็กไทย

แรกเกิด บีซีจี (BCG), ตับอักเสบบี (HB1)
 
1 เดือน ตับอักเสบบี (HB2) เฉพาะรายที่เกิดจากมารดาที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี
 
2 เดือน คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB1)*, โปลิโอชนิดหยอด (OPV1)
 
4 เดือน คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB2)*, โปลิโอชนิดหยอด (OPV2)
และโปลิโอชนิดฉีด (IPV) 1 เข็ม
 
6 เดือน คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB3)*, โปลิโอชนิดหยอด (OPV3)
 
9-12 เดือน หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR1)
 
1 ปี ไข้สมองอักเสบเจอี (LAJE1)
 
1 ปี 6 เดือน คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP4), โปลิโอชนิดหยอด (OPV4)
 
2 ปี 6 เดือน หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR2), ไข้สมองอักเสบเจอี (LAJE2)
 
4 ปี คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP5), โปลิโอชนิดหยอด (OPV5)
 
11 ปี (นักเรียนหญิง ป.5) เอชพีวี (HPV1, HPV2) ห่างกันอย่างน้อย 6 เดือน
 
12 ปี (ป.6) คอตีบ-บาดทะยัก (dT)

 

ความสำคัญที่เด็กควรได้รับวัคซีนให้ตรงตามเวลา

 
1. ช่วงเวลาการรับวัคซีนที่ตรงตามวัย
อ้างอิงจากตารางการรับวัคซีน ที่แนะนำ เช่น CDC การให้วัคซีนถูกกำหนดตามช่วงอายุ และระยะเวลาที่ร่างกายสามารถกระตุ้นภูมิต้านทานได้อย่างเหมาะสม
 
2. ป้องกัน และลดโอกาสการเกิดโรค
การรับวัคซีนล่าช้าอาจทำให้ลูกน้อยเสี่ยงต่อการเป็นโรค การรับวัคซีนตามกำหนดเวลา ช่วยปกป้องลูกน้อยจากโรค ร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นในเด็กเล็ก
 
3. เพื่อให้ภูมิคุ้มกันขั้นสูง พอที่จะป้องกันโรคได้ทัน 
ลูกน้อยต้องการระยะเวลาหนึ่งที่วัคซีนจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อโรคที่อาจจะเกิดขึ้น และวัคซีนบางชนิดจำเป็นต้องได้รับหลายเข็ม ดังนั้นไม่ควรรอหรือเลื่อนการฉีดวัคซีน
 
4. การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด
ลูกต้องได้รับวัคซีนครบทั้งปริมาณและตามเวลา วัคซีนบางชนิดต้องการการกระตุ้นหรือรับวัคซีนมากกว่าหนึ่งครั้ง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่สูงพอที่จะปกป้องลูกน้อย เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันที่ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป
 
5. การป้องกันในระยะยาว
แม้นมแม่ให้ภูมิคุ้มกันที่มีประโยชน์ แต่ไม่ได้ป้องกันเด็กจากโรค ฉะนั้นการฉีดวัคซีนถือว่ามีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันโรคต่าง ๆ ในระยะยาว จากโรคที่ป้องกันได้
 
6. การแพร่กระจายของโรค
เด็กที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนตามกำหนดเวลา ไม่เพียงแต่มีความเสี่ยงที่จะป่วยเอง แต่ยังสามารถแพร่กระจายความเจ็บป่วยไปยังผู้อื่นได้ ดังนั้นลูกน้อยต้องควรได้รับวัคซีนตรงเวลาเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจายไปยังผู้ป่วย
 

ข้อมูลจาก
  • สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
  • ศูนย์วัคซีนเด็ก รพ.วิภาวดี
วัคซีนหลักและวัคซีนเสริมสำหรับเด็ก และช่วงเวลาที่เหมาะสม HealthServ
วัคซีนหลักและวัคซีนเสริมสำหรับเด็ก และช่วงเวลาที่เหมาะสม HealthServ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด