☰
ข้อมูลบริการสุขภาพ
ข่าวสุขภาพ
|
โรงพยาบาล
|
justView
×
ข่าวสุขภาพ
โรงพยาบาล [+]
รพ.รายจังหวัด (รัฐ-เอกชน)
รพ.รัฐบาล
รพ.เอกชน
รพ.เอกชน ประกันสังคม
รพ.เอกชน บัตรทอง
รพ.มหาวิทยาลัย
ศูนย์แพทย์มหาวิทยาลัย
สถาบัน/ศูนย์แพทย์
รพ.สังกัดกทม.
ศูนย์สาธารณสุข กทม.
รพ.ศูนย์
รพ.ทั่วไป (จังหวัด)
รพ.ชุมชน (อำเภอ)
รพ.สต.(ตำบล)
รพ.กองทัพ
รพ.สมเด็จพระยุพราช
รพ.จิตเวช
รพ.มะเร็ง
รพ.แพทย์แผนไทย
รพ.รัฐวิสาหกิจ/กระทรวงอื่น
คลินิกรัฐบาล-ศูนย์อนามัย
ข่าวสุขภาพ [+]
ข่าวสุขภาพทั่วไป
ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย
ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ
ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ
สาระความรู้สุขภาพ
กิจกรรม ESG CSR
Health Economy
บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us
เผยแพร่เนื้อหา
สถิติเว็บไซต์
สำรวจความเห็นสุขภาพ
โฆษณา
healthserv.net@gmail.com
@healthserv
กินเร็วเกินไปทำให้กินมากขึ้น เสี่ยงโรคอ้วนและโรคเรื้อรัง
กินเร็วเกินไปทำให้กินมากขึ้น เสี่ยงโรคอ้วนและโรคเรื้อรัง
Home
/
ความรู้สุขภาพ
/
Update: 21.01.2564
กินเร็วเกินไปทำให้กินมากขึ้น เสี่ยงโรคอ้วนและโรคเรื้อรัง
สถานการณ์ปัจจุบันที่มีข่าวการแพร่ระบาดเรื่องโควิด-19 หรือ ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 จนทำให้หลายคนเกิดภาวะความเครียดวิตกกังวล และต้องหันไปผ่อนคลายความเครียด ความกังวลจากการรับข่าวสารต่าง ๆ ด้วยการกิน ไม่ว่าจะกินจุกจิก หรือกินมื้อหนัก เช่น กินบุฟเฟ่ต์ หมูกระทะที่จำกัดเวลา ทำให้ต้องกินเร็วและกินมากเกินไป (Overeating) ประกอบกับสังคมปัจจุบันการทำกิจกรรมต่าง ๆ ต้องอาศัยความเร่งรีบ ขณะที่การกินอาหารน่าจะเป็นเวลาที่ควรผ่อนคลายและมีความสุข ผลเสียของการกินเร็วทำให้ได้รับปริมาณอาหารมากเกินไป เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุก เสียด อาหารไม่ย่อยแล้ว ยังเสี่ยงเกิดโรคอ้วนและโรคเรื้อรังตามมา ดังตารางเปรียบเทียบ ข้อดีข้อเสียของการกินเร็ว และ การกินช้า ดังนี้
เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของการกินเร็วและการกินช้าที่เกิดกับร่างกาย
การกินเร็ว
ข้อเสีย
เกิดโรคอ้วนลงพุง (Central Obesity) Metabolic Syndromeเกิดความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันสูง
เสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจขาดเลือดและโรคหัวใจมากกว่าการสูบบุหรี่
มีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าคนที่กินปกติถึง 2.5 เท่า
สมองจะได้รับสัญญาณจากกระเพาะอาหารและลำไส้สั่งการให้ร่างกายรู้สึกอิ่มใช้เวลานานกว่า 20 นาที ซึ่งทำให้คนกินเร็วสมองจะสั่งการไม่ทันมักจะกินหมดก่อนที่จะรู้สึกอิ่มทำให้กินไปเรื่อยๆ
การกินช้า
ข้อดี
ไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนที่จะนำมาซึ่งโรคเรื้อรังต่าง ๆ ตามมามากมาย
เมื่อเรากินอาหารช้าลง การสั่งการจากสมองจะเกิดขึ้นขณะที่เรากินจึงทำให้เราอิ่มก่อนที่จะกินมากเกินไป
การกินอาหารจึงควรใช้เวลา อย่างน้อย 20-30 นาทีเพื่อให้สมองสั่งการรู้สึกอิ่ม
การกินช้า ๆ และเคี้ยวอาหารให้ละเอียดจะช่วยทําให้ระบบย่อยอาหารทํางานได้ดีขึ้น
ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปยังกระเพาะอาหาร และลําไส้
ช่วยทําให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรีได้เพิ่มขึ้น
การกินอย่างช้า ๆ และให้ความสนใจกับอาหารที่กินอยู่เป็นการฝึกให้มีสติกับสิ่งที่กำลังทำ
การกินช้าสามารถช่วยลดความเครียดจากการทํางานและชีวิตประจำวัน
ดังนั้นหากเรากินอย่างมีสติ และเน้นการออกกำลังกายเป็นประจำน่าจะเป็นทางออกสำคัญที่ทำให้ร่างกายของเราสมดุลไม่เป็นคนที่อ้วนหรือผอมเกินไปเพื่อสุขภาพดีที่ห่างไกลโรคอ้วนและโรคเรื้อรัง
แหล่งข้อมูล :
รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จิรภรณ์ อังวิทยาธร
ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
28 ธันวาคม 2563
ข่าว/บทความล่าสุด
บำรุงราษฎร์คว้า 3 รางวัล Newsweek ผู้นำด้านการบริบาลสุขภาพระดับโลก
กรม สบส.ดำเนินการตามกฎหมายต่อ หมอเอก ที่อ้างตนเป็นแพทย์ ดิไอคอน กรุ๊ป
สบส. ร่วม ปคบ.-แพทยสภา รวบหมอเกาหลีใต้ในคลินิกกลางกรุง
สธ.เผยน้ำท่วมเชียงใหม่ คลี่คลาย รพ.ทุกแห่งให้บริการได้ปกติ
ส่อง 7 นโยบายอธิบดีกรม สบส. คนใหม่ แนวคิด "คิดใหญ่ ทำใหม่ สร้างความไว้วางใจ"
โควต้ารับผู้ประกันตน รพ.เอกชนประกันสังคม ณ 3 ตุลาคม 2567
ผู้ประกันตน ม.33, 39 อายุ 50 ปีขึ้นไป ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี! ภายในธันวาคม 67
อนามัย กทม. บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 Pfizer เด็กเล็ก-5ขวบ
อนามัย กทม.บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ นักเรียนม.4-6 ถึง 31ตค67
สำนักอนามัย กทม. เชิญชวนฉีดวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก (HPV) เข็มที่ 2 ฟรี ‼️ ถึงปลายปี 67
รพ.พระรามเก้า รณรงค์สตรีไทย ร่วมโอบกอดสุขภาพดีไปด้วยกัน
มูลนิธิสร้างรอยยิ้มและฟูจิฟิล์ม เดินหน้าช่วยผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ผ่านโครงการ 100 รอยยิ้ม
BDMS Wellness ผนึก ศรีพันวาและกรุงเทพภูเก็ต สร้างประสบการณ์ Scientific Wellness ระดับ 6 ดาว
บำรุงราษฎร์ 44 ปี สานต่อแพทย์เคลื่อนที่ ส่งต่อสุขภาพดี 6 ชุมชนรอบโรงพยาบาลฯ
เภสัช 4 ม.ดัง ผนึกเอกชน ร่วมพัฒนาบุคคลากรอุตฯ เภสัชกรรมไทย
[ ทั้งหมด]
เนื้อหาอ่านล่าสุด
กินเร็วเกินไปทำให้กินมากขึ้น เสี่ยงโรคอ้วนและโรคเรื้อรัง
โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ เปิด Walk in ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฟรี 7-9 มิถุนายน 65
รายชื่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) ในจังหวัดเชียงใหม่
ตารางรถไฟท่องเที่ยว SRT Royal Blossom ประจำปี 2567
โรคกรดไหลย้อน vs โรคกระเพาะ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ปฏิทินกิจกรรม เทศกาลท่องเที่ยว จ.เพชรบูรณ์
เช็คราคาค่าตรวจรักษา RSV ในรพ.เอกชน (อัพเดต ก.ย.66)
จุฬาแนะนำแอป AED กระตุกหัวใจ เพื่อค้นหาตำแหน่งเครื่อง AED ในประเทศไทย
คำแนะนำผู้ใช้บริการ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
ศาลแพ่งสั่ง ตำรวจซิ่งบิ๊กไบค์ ชดใช้ครอบครัว หมอกระต่าย 27.3 ล้านบาท
จีน "ยกเลิก" ทุกมาตรการควบคุมเดินทาง เข้าจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง มาเก๊า
โคลิฟอร์มแบคทีเรีย (Coliform) อันตรายในน้ำดื่มที่มองไม่เห็น
คุณผู้หญิงพึงระวัง 3 อาการพบบ่อย ที่เป็นสัญญาณบอกโรคภายใน
ลงทะเบียนฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในพื้นที่ กทม. สำหรับ 7 กลุ่มเสี่ยง
Girls Take Over เพื่อความเสมอภาคระหว่างเพศและสิทธิของเด็กผู้หญิงในสังคม
[ทั้งหมด]
🔝