2. ทานโซเดียมมากเกิน
ความจริงไม่ห้ามการทานโซเดียม หากทานในปริมาณโซเดียมที่เหมาะสม คือ ไม่เกิน 2000 มิลลิกรัมใน 24 ชั่วโมง
แต่ปัจจุบันโดยทั่วไป คนไทยจะทานอาหารที่มีโซเดียมเกินเหมาะสม โดยไม่รู้ตัว
อาหารมีโซเดียม คืออาหารมีรสเค็มต่างๆ อาทิ น้ำปลา ซีอิ้ว ซอสพริก จิ๊กโฉ่ อาหารตากแห้ง อาหารแปรรูปต่างๆ รวมถึง ไข่เค็ม ปลาเค็ม
อาหารบางอย่างเรียกว่ามี "โซเดียมแฝง" ที่เราไม่รู้ตัวหรือไม่คิดว่าจะมี เช่น ผงฟูเบเกอรี่ อาหารแช่แข็ง ส่วนผสมที่คงสภาพ รวมถึงเครื่องดื่มก็จะมีเช่นกัน
ความคิดที่ว่าทานเค็ม แล้วดื่มน้ำตามเพื่อเจือจางในภายหลัง นั้น ไม่ถูกต้อง เพราะหากโซเดียมเข้าร่างกายแล้ว น้ำก็ไม่สามารถเจือจางได้อย่างที่คิดเอาเอง
3. ทานอาหารที่มีโพแทสเซียมมากเกินไป
การมีเกลือแร่โพแทสเซียมสูง นำไปสู่การฟอกไตในที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยไตระยะท้าย หรือที่มีระดับโพแทสเซียมสูงอยู่แล้วจะยิ่งน่ากังวลมากขึ้น
อาหารที่พบว่าจะมีโพแทสเซียมสูง อยู่ในผักและผลไม้
ผัก ได้แก่ เห็ด ผักโขม ใบแมงลัก โหระพา พริกชีฟ้า ขึ้นช่าย ชะอม มะเขือพวง
ผลไม้ ได้แก่ มะละกอสุก ทับทิม มะขามหวาน ทุเรียน ขนุน กระท้อน น้ำมะพร้าว
4. ทานอาหารไม่เพียงพอ
เป็นอีกกรณีที่พบบ่อย เกิดจากความกังวลและกลัวในการทานอาหารต่างๆ แล้วจะก่อให้เกิดผลต่อไต เมื่อไม่ทานหรืองดทาน ก็ทำให้ได้พลังงานไม่เพียงพอ เป็นปัญหาเช่นกัน
จะดูอย่างไรว่าทานอาหารพอ/ไม่พอ สังเกตได้ เช่น ทานแล้วไม่อิ่ม ทานแล้วแต่โหย/หิว ไม่สบายตัว รู้สึกไม่อิ่ม ทานแล้วน้ำหนักลด ทั้งนี้ เป็นข้อสังเกต สำหรับกรณีผู้ที่มีน้ำหนักปกติอยู่แล้วแต่น้ำหนักลดลง ซึ่งจะแตกต่างกับกรณีคนที่ตัวใหญ่-อ้วน แล้วลดการทานเพื่อจะลดน้ำหนักลง
5. น้ำดื่มมากเกินไป ในไตระยะสุดท้ายที่เป็นโรคหัวใจ
เกิดจากการได้รับคำแนะนำในลักษณะว่า การดื่มน้ำมากๆ จะช่วยให้ดีขึ้น ช่วยการทำงานของไตได้ดีขึ้น แต่ในความเป็นจริง โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยอาการไตในระยะท้าย กลับเป็นตรงกันข้าม กล่าวคือ "จำเป็นในการต้องจำกัดน้ำดื่ม" ทั้งนี้ปริมาณเท่าใดที่เหมาะสมนั้น ผู้ป่วยต้องปรึกษาแพทย์ที่ดูแลรักษา
สาเหตุเพราะบางทีการมีสารน้ำมากเกินไป จะทำให้หัวใจไม่สามารถขับน้ำออกได้ หรือทนได้ จึงเป็นภาวะที่อันตราย