ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เวียนหัวบ้านหมุน (vertigo) การรักษาและป้องกัน

เวียนหัวบ้านหมุน (vertigo) การรักษาและป้องกัน Thumb HealthServ.net
เวียนหัวบ้านหมุน (vertigo) การรักษาและป้องกัน ThumbMobile HealthServ.net

"ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าสิ่งรอบตัวหมุนไปหรือตัวเองหมุนอยู่ หรือรู้สึกโคลงเคลงทั้งๆ ที่ตัวเองอยู่กับที่หรือไม่มีการเคลื่อนไหว"

เวียนหัวบ้านหมุน (vertigo) การรักษาและป้องกัน HealthServ
เวียนหัวบ้านหมุน (vertigo) นั้นไม่ใช่ "โรค" แต่เป็น "กลุ่มอาการ" มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่คอยรับการทรงตัวสมดุลของร่างกายในท่าทางต่างๆ เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นจึงทำให้มีอาการเวียนศีรษะแบบรู้สึกหมุน 
 
ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าสิ่งรอบตัวหมุนไปหรือตัวเองหมุนอยู่ หรือรู้สึกโคลงเคลงทั้งๆ  ที่ตัวเองอยู่กับที่หรือไม่มีการเคลื่อนไหว 
 
ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีความรู้สึกเหมือนจะเป็นลม หูอื้อ การได้ยินลดลง หรือมีเสียงในหูร่วมด้วยได้ เหล่านี้สื่อว่าอาการเริ่มีความรุนแรง
 
 
อาการบ้านหมุนนี้ เป็นสัญญาณของ 2 โรคสำคัญ
 
1. โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน หรือ โรคเวียนศีรษะขณะเปลี่ยนท่า
อาการ 
  • รู้สึกเวียนหัวทันทีเมื่อเคลื่อนไหว และเวียนลดลงเมื่ออยู่นีง
  • เวียนไม่นาน 1 – 5 นาที
  • ดวงตาดำสองข้างกระตุก ไปในทิศทางเดียวกัน ส่งผลทำให้เห็นภาพสั่นซึ่งเป็นที่มาของบ้านหมุน
  • การได้ยินเป็นปกติ ไม่มีหูอื้อ หรือเสียงดังในหู
 
 
2. โรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติหรือโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s disease) 
อาการ 
  • เวียนหัวบ้านหมุนตลอดเวลา ตั้งแต่ 20 นาที – หลายชั่วโมง
  • อาการเวียนหัวจะเป็นหนักมาก คือเวียนหัวทั้งวัน ผู้ป่วยมักนอนนิ่ง ไม่ขยับตัว
  • มีอาการหูอื้อ หรือได้ยินน้อยลง
  • ได้ยินเสียงดังในหู เช่น เสียงหึ่งๆ วิ้งๆ แต่ไม่ใช่เสียงจังหวะการเต้นของหัวใจ

การตรวจวินิจฉัยอาการเวียนหัวบ้านหมุน

 
1.ตรวจการได้ยิน (audiogram)
2.ตรวจการทำงานของอวัยวะทรงตัวของหูชั้นใน (Video electronystagmography :VNG)
3.ตรวจวัดแรงดันของน้ำในหูชั้นใน (electrocochleography : ECOG)
4.ตรวจการทำงานของเส้นประสาทการได้ยิน (Evoked response audiometry )
5.ตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan)
6.ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมองและเส้นเลือดสมอง (MRI brain and MRA) 
 
 

หลักการให้ยารักษาอาการเวียนหัวบ้านหมุน

1. ระยะเฉียบพลันของโรค
ที่เกิดจากรอยโรคในระบบประสาท vestibular ส่วนปลายในระยะไม่เกิน 3 วันแรกของอาการเวียนศีรษะหมุน โดยอาจให้ตามเวลาทุก 8 ชม. เมื่อถึงระยะฟื้นตัวเกิดกลไกการปรับสภาวะ ปรับลดโดยให้เฉพาะเมื่อมีอาการเท่านั้นและนานไม่เกิน 2-3 สัปดาห์เป็นอย่างช้า
 
2. อาการเวียนศีรษะหมุนเฉียบพลัน
จากรอยโรคในระบบประสาท vestibular ส่วนกลาง โดยเฉพาะที่มีอาการรุนแรง คลื่นไส้อาเจียนมาก
 
3. ในโรคที่มีพยาธิสภาพอยู่ในระบบประสาท vestibular ส่วนปลาย
แต่การดําเนินโรค มีลักษณะเป็นๆ หายๆ หรือเป็นโรคที่ไม่หายขาด โดยเฉพาะ Ménière&’s disease อาจต้องให้ยารักษาเฉพาะโรคติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน 6 – 12 เดือน และในปริมาณสูง (13) ร่วมกับยารักษาอาการเวียนศีรษะหมุนเมื่อมีอาการเฉียบพลัน
 
4. โรค BPPV ที่มีอาการรุนแรงมาก
อาจให้ยา dimenhydrinate 1 เม็ด ครึ่งชม. ก่อน การบริหารการทรงตัว หรือหมุนศีรษะด้วย canalith re-positioning maneuvers
 
5. การใช้ยากดระบบประสาท vestibular
ในผู้ป่วยเมารถอย่างรุนแรง การเลือกใช้ยาขึ้นกับคุณสมบัติของยาแต่ละตัว ความรุนแรงของโรค พยาธิวิทยาของโรค ตลอดจนระยะเวลาของอาการที่เกิดขึ้น ว่าเป็นระยะใดของโรค เฉียบพลันหรือเรื้อรัง


การป้องกัน

1. โรคที่มีอาการเพียงครั้งเดียว เมื่อหายแล้วจะไม่กลับเป็นอีก ได้แก่ การติดเชื้อไวรัสในหูชั้นใน หรือ โรค vestibular neuritis แต่อาจมีอาการอีกได้ในหูข้างที่เหลือต้องทําการป้องกันปัจจัยต่างๆ ที่เป็นสาเหตุ
 
2. โรคที่เป็นๆ หายๆ อาจสงบไปเองตามการดําเนินของโรค หากป้องกันได้การกลับกําเริบของโรคจะลดลง อาจรับประทานยาเมื่อมีอาการ ได้แก่ Ménière&’s disease ระยะแรก โดยการป้องกันปัจจัยกระตุ้น เช่น อาหารรสเค็มจัด คาเฟอีนความเครียด ฯลฯ
 
3. โรคที่เป็นๆ หายๆ ตลอด หรืออาจลุกลามมากขึ้น จําเป็นต้องรับประทานยา เพื่อป้องการการกําเริบของอาการ และการลุกลามของโรค ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ในกลุ่ม VBI หรือ Ménière&’s disease ระยะที่ 2-4
 
4. การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง มีประโยชน์ในด้านการป้องกันไม่ให้มีอาการเวียนศีรษะหมุน และป้องกันการกําเริบของอาการของโรคที่เป็นอยู่ ได้แก่ หลัก 5 "อ"
 
ได้แก่
ก. อย่าอดนอน พักผ่อนให้เพียงพอ
ข. ออกกําลังกายสม่ําเสมอ
ค. อยู่ในที่อากาศถ่ายเท
ง. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยง CATS: Caffeine-AlcoholTobacco-Salt, และผงชูรส (MSG)
จ. ระงับอารมณ์ ผ่อนคลายจากความเครียด-Stress
 
 
5. การป้องกันปัจจัยเสี่ยงอื่น ได้แก่ ป้องกันอุบัติเหตุ เช่น สวมหมวกกันน็อกขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ ฯลฯ ป้องกันและหลีกเลี่ยงภาวะติดเชื้อ ไข้หวัด ไวรัสชนิดต่างๆ, สวมเครื่องป้องกันเสียงดังเกินหรือหลีกเลี่ยงการเที่ยวสถานที่ที่มีเสียงดังเกิน, ควรสวมอุปกรณ์ความปลอดภัยขณะทํางานในที่เสี่ยง-ที่สูง เครื่องมืออันตราย, หลีกเลี่ยงหรือระมัดระวังการใช้ยาหรือสารที่มีพิษต่อหูชั้นใน รวมทั้งแอลกอฮอล์

Photo: Pixabay
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด