ประเทศที่พัฒนาแล้วมีหลายปัจจัยที่ช่วยทำให้ประชาชนมีอายุยาวนานมากขึ้นอาทิ
- ระดับการศึกษาของประชาชนสูงขึ้นเช่นส่วนใหญ่จบปริญญา
- รายได้ประชากรสูงขึ้น GDP per capita สูงเหมือนประเทศในกลุ่ม OECD ที่ประชากรมีรายได้สูงกว่า12,000 เหรียญต่อปีขึ้นไป
- รายได้ประเทศหรือ GDP สูงขึ้นถึงระดับเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
- ระบบสาธารณสุขของประเทศยกระดับครอบคลุมทั้งประเทศแท้จริง
- ประชาชนมีการออมเงินเพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณพอเพียงที่จะใช้จ่ายเพื่อรักษาคุณภาพชีวิต
ดังนั้น การที่ประเทศไทยจะก้าวขึ้นสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพอย่างประเทศพัฒนาแล้วจึงเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากความเป็นจริง
ในปัจจุบัน คนไทยโดยเฉลี่ยมีการศึกษาต่ำกว่าปริญญา รายได้เฉลี่ยแค่ 7,000 กว่าเหรียญต่อคนต่อปี
รายได้ของทั้งประเทศยังต่ำมาก
รายได้ต่ำกว่ารายจ่ายขาดดุลงบประมาณมาตลอด
ระบบสาธารณสุขในการให้บริการสุขภาพครอบคลุมแค่ระดับพื้นฐาน
และที่สำคัญคือคนไทยไม่มีการออมมากพอในขณะที่ยังทำงานได้
ประเทศไทยจึงเป็นสังคมผู้สูงวัย ที่ยากจน....
ความยากจนนี้ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการใช้ชีวิตบั้นปลายของมนุษย์
เป็นข้อจำกัด....
ถ้าเป็นประเทศที่มีรายได้สูง เก็บภาษีจากประชาชนสูง 40-50% มีเงินเหลือเฟือใช้ดูแลสุขภาพประชาชนถ้วนหน้าอย่างเช่นประเทศเล็กๆในกลุ่มแสกนดิเนเวีย
อย่างนั้น ประชาชนจะมีอายุยืนอย่างมีคุณภาพ
หรือไม่งั้นประชาชนก็ต้องมีการออมจริงจังพอเพียงที่จะใช้ชีวิตยาวนานถึงอายุ 80 ปีขึ้นไป เช่นญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกษียณแล้วมีเงินท่องเที่ยวหาความสุข ไม่เป็นภาระใคร
แต่ประเทศไทยไม่ใช่อย่างนั้นเลย....
คำว่าสังคมผู้สูงอายุ ในบริบทของประเทศไทย จึงเป็นเพียงสังคมที่ประชาชนมีอายุเกิน 60 ปี
ที่เป็นไปตามพัฒนาการของโลก
ไม่ใช่สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพที่จะมีชีวิตยาวนานเฉลี่ยถึง 80 ปีเหมือนประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ
เป็นสังคมผู้สูงอายุที่ยากจน......
และย่อมหมายถึงภาระของรัฐที่ต้องแบกรับมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้...
ดร.เฉลิมพล ไวทยางกูร
นักวิชาการอิสระ
ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ กมธ. วุฒิสภา และ อนุ กมธ. ปฏิรูปสาธารณสุข (ตสร) ใน กมธ. สาธารณสุข วุฒิสภา