อาหารริมบาทวิถี (Street food)
หมายถึง อาหารที่จำหน่ายในแผงลอยจำหน่ายอาหารที่ตั้งริมฟุตบาทหรือริมบาทวิถีมีลักษณะเป็นแคร่ แท่น โต๊ะ แผง รถเข็น หรือ พาหนะอื่นใดที่ขายอาหาร เครื่องดื่ม น้ำแข็ง โดยตั้งประจำที่ ในบริเวณที่ทางราชการอนุญาต ได้แก่ ที่ทางสาธารณะ ที่ราชพัสดุ ที่สาธารณะประโยชน์ บริเวณวัด หรือที่ริมน้ำ ซึ่งอาจจะมีการจัดตั้งแบบถาวร หรือเคลื่อนย้ายได้ตามช่วงเวลาที่กำหนด
มาตรฐานอาหารริมบาทวิถี
หมายถึง ข้อกำหนดในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานอาหารริมบาทวิถีประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่มิติด้านสุขภาพ มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม และมิติด้านวัฒนธรรม
ต้นแบบอาหารริมบาทวิถี (Model)
หมายถึง พื้นที่จัดบริการอาหารริมบาทวิถี มีระบบและกลไกในการพัฒนา ดังนี้
1. ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารริมบาทวิถี 4 มิติ ได้แก่ มิติด้านสุขภาพ มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม และมิติด้านวัฒนธรรม
2. มีมาตรการหรือนโยบายระดับท้องถิ่นที่ส่งเสริมพื้นที่ดำเนินงานอาหารริมบาทวิถีปลอดภัย
3. มีระบบและกลไกในการพัฒนาอาหารริมบาทวิถีโดยภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการขับเคลื่อน
4. มีชมรมผู้ประกอบการค้าอาหารริมบาทวิถี
บทที่ 2 แบบประเมินและการรับรองมาตรฐานอาหารริมบาทวิถี (Street Food Good Health)
เกณฑ์การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานอาหารริมบาทวิถี (Street Food Good Health) ประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่ มิติด้านสุขภาพ มิติด้าน เศรษฐกิจ มิติด้านสังคม และ มิติด้านวัฒนธรรม
1. มิติด้านสุขภาพ จำนวน 10 ข้อ (ต้องผ่านทุกข้อ) คะแนนเต็ม 70 คะแนน
2. มิติด้านเศรษฐกิจ จำนวน 6 ข้อ (เลือกทำอย่างน้อย 3 ข้อ) คะแนนเต็ม 10 คะแนน
3. มิติด้านสังคม จำนวน 4 ข้อ (เลือกทำอย่างน้อย 2 ข้อ) คะแนนเต็ม 10 คะแนน
4. มิติด้านวัฒนธรรม จำนวน 2 ข้อ (เลือกทำอย่างน้อย 1 ข้อ) คะแนนเต็ม 10 คะแนน
การประเมินรับรองมาตรฐานอาหารริมบาทวิถี(Street Food Good Health)
การประเมินรับรองเกณฑ์มาตรฐานอาหารริมบาทวิถี (Street Food Good Health) แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1) ระดับพื้นฐาน จำนวน 50 – 59 คะแนน
2) ระดับดี จำนวน 60 – 79 คะแนน
3) ระดับดีมาก จำนวน 80 คะแนนขึ้นไป
แบบฟอร์มการประเมินรับรองมาตรฐาน
อาหารริมบาทวิถี (Street Food Good Health)
มิติด้านสุขภาพ
มิติด้านเศรษฐกิจ
มิติด้านสังคม
มิติด้านวัฒนธรรม
บทที่ 4
แนวทางการด้าเนินงานพัฒนาอาหารริมบาทวิถี (Street Food Good Health)
เพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงกำหนดแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานดังนี
กรมอนามัย
โดยสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ
1) ประชุมชี้แจงหน่วยงานและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
2) พัฒนาศักยภาพ/เสริมสร้างความรอบรู้ให้หน่วยงานและภาคีเครือข่าย
3) พัฒนา Platform การประเมินตนเองของผู้ประกอบการผ่านระบบสารสนเทศ
4) ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายสนับสนุนให้ผู้ประกอบการประเมินตนเองเพื่อยกระดับมาตรฐานผ่านระบบออนไลน์ และให้คำแนะนำเพื่อการพัฒนาให้ได้มาตรฐาน
5) ติดตามผลการสุ่มประเมิน/เฝูาระวังพื้นที่จัดบริการอาหารริมบาทวิถีที่ได้รับการประเมินมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารจากพื้นที่
6) รณรงค์ ขับเคลื่อน และเยี่ยมเสริมพลังการดำเนินงานพัฒนาในพื้นที่
7) พัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
8) กำกับ ติดตาม ประเมินผล และสรุปรายงานผลการดำเนินงาน
ศูนย์อนามัย และสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง
1) ประชุมชี้แจงสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/อำเภอ เพื่อสร้างความเข้าใจการดำเนินงานด้านสุขาภิบาลอาหาร
2) พัฒนาศักยภาพ/เสริมสร้างความรอบรู้ให้ผู้ประกอบการ พชอ. อปท.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
3) ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายสนับสนุนให้ผู้ประกอบการประเมินตนเองเพื่อยกระดับมาตรฐานผ่านระบบออนไลน์ (Google form) และให้คำแนะนำเพื่อการพัฒนาให้ได้มาตรฐาน
4) ประเมินรับรองมาตรฐานอาหารริมบาทวิถี(Street Food Good Health) ระดับดีมาก ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระดับพื้นที่
5) สุ่มประเมิน/เฝูาระวังพื้นที่จัดบริการอาหารริมบาทวิถี ที่ได้รับการประเมินมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารในพื้นที่ และรายงานผลการสุ่มประเมิน/เฝูาระวังผ่าน Google form
6) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนางานด้านสุขาภิบาลอาหารระดับพื้นที่
7) รณรงค์ ขับเคลื่อน และเยี่ยมเสริมพลังการดำเนินงานในพื้นที่
8) กำกับ ติดตาม ประเมินผล และสรุปรายงานผลการดำเนินงาน
ส้านักงานสาธารณสุขจังหวัด
1) ประชุมชี้แจงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างความเข้าใจการดำเนินงานด้านสุขาภิบาลอาหาร
2) คัดเลือกพื้นที่เปูาหมายดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาด้านสุขาภิบาลอาหาร ประจำปี 2564 เพื่อยกระดับอาหารริมบาทวิถี (Street Food Good Health)
3) พัฒนาศักยภาพ/เสริมสร้างความรอบรู้ให้ผู้ประกอบการ พชอ. อปท.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
4) ประเมินรับรองมาตรฐานอาหารริมบาทวิถี(Street Food Good Health) ระดับดีร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระดับพื้นที่
5) ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายสนับสนุนให้ผู้ประกอบการประเมินตนเองเพื่อยกระดับ มาตรฐานผ่านระบบออนไลน์ (google form) และให้คำแนะนำเพื่อการพัฒนาให้ได้มาตรฐาน
6) สุ่มประเมิน/เฝูาระวังสถานประกอบการอาหารริมบาทวิถี ที่ได้รับการประเมินมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารในและรายงานผลการสุ่มประเมิน/เฝูาระวังผ่าน Google form
7) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนางานด้านสุขาภิบาลอาหารระดับพื้นที่
8) รณรงค์ ขับเคลื่อน และเยี่ยมเสริมพลังการดำเนินงานในพื้นที่
9) กำกับ ติดตาม ประเมินผล และสรุปรายงานผลการดำเนินงาน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1) ประชุมชี้แจงผู้ประกอบการและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมมือดำเนินงานด้านสุขาภิบาลอาหารในพื้นที่
2) สำรวจ/ตรวจแนะนำ และจัดทำทะเบียนสถานประกอบการในพื้นที่จัดบริการอาหารริมบาทวิถี และคัดเลือกพื้นที่เปูาหมายดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาด้านสุขาภิบาลอาหาร ประจำปี 2564 เพื่อยกระดับอาหารริมบาทวิถี (Street Food Good Health)
3) พัฒนาศักยภาพ/เสริมสร้างความรอบรู้ให้ผู้ประกอบการ ประชาชนผู้บริโภค
4) ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายสนับสนุนให้ผู้ประกอบการประเมินตนเองเพื่อยกระดับ มาตรฐานผ่านระบบออนไลน์ (Google form) และให้คำแนะนำเพื่อการพัฒนาให้ได้มาตรฐาน
5) ประเมินมาตรฐานพื้นที่จัดบริการอาหารริมบาทวิถี (Street Food Good Health) ในระดับพื้นฐาน และรายงานความก้าวหน้าแก่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
6) เฝูาระวังสถานประกอบการประเภทอาหารริมบาทวิถี ที่ได้รับการประเมินมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารในพื้นที่ และรายงานผลการเฝ้าระวังผ่าน Google form
7) สรุปรายงานผลการดำเนินงาน
ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร
1) ให้ความร่วมมือ มีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามระเบียบและเกณฑ์มาตรฐานอาหารริมบาทวิถี (Street Food Good Health) ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ และผู้ดูแล
2) เข้ารับการอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้สัมผัสอาหาร (จำนวน 3 ชั่วโมง) รวมถึงเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3) ปฏิบัติตามหลักสุขวิทยาส่วนบุคคล
4) เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
5) รวมตัวเพื่อจัดตั้งชมรมผู้ประกอบกิจการ/ผู้สัมผัสอาหารภายในพื้นที่จัดบริการอาหารริมบาทวิถี