ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

CUNM ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร จุฬาฯ

CUNM ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร จุฬาฯ Thumb HealthServ.net
CUNM ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร จุฬาฯ ThumbMobile HealthServ.net

กรณีมีภาวะความผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร เช่น ภาวะกลืนลำบาก อาการปวดท้องอาเจียนจากบางสาเหตุ อาการท้องผูกเรื้อรัง อาการกลั้นอุจจาระไม่ได้ อาการลำไส้แปรปรวน ฯลฯ เหล่านี้ ปัจจุบันสามารถทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาได้ที่ ศูนย์ CUNM โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่พร้อมดูแลผู้ป่วยอย่างครบวงจร และศูนย์ CUNM แห่งนี้ ยังถือเป็นสถาบันฝึกอบรมและผลิตแพทย์ รวมทั้งรับส่งต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนอีกด้วย

CUNM ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร จุฬาฯ HealthServ

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2546 โดยสาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ปัจจุบันเปิดบริการอยู่ที่ตึกภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 10 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยเป็นศูนย์ให้บริการตรวจและรักษาความผิดปกติของการทำงานของระบบทางเดินอาหาร
 
บริการของเราครอบคลุมการตรวจ Breath Test, Esophageal Manometry, Antroduodenal Manometry, 24 hr pH Monitoring, Antroduodenal Manometry, Anorectal Manometry และการตรวจเฉพาะทางอื่นๆ ซึ่งเป็นการตรวจมาตรฐานเพื่อวินิจฉัยโรคและความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร อีกทั้งช่วยบอกแนวทางในการรักษาความผิดปกติที่ตรวจพบและเป็นเครื่องมือสำหรับรักษาบางภาวะ เช่น Fecal Incontinence และ Chronic Constipation อีกด้วย
 
ในปัจจุบันภาวะความผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร เช่น ภาวะกลืนลำบาก (dysphagia) จากการเคลื่อนไหวของหลอดอาหารผิดปกติ (esophageal dysmotility) อาการปวดท้องอาเจียนที่อาจมีสาเหตุจากการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กผิดปกติ (gastrointestinal dysmotility) อาการท้องผูกเรื้อรัง (chronic constipation) จากการทำงานของลำไส้ใหญ่หรือกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณทวารหนักผิดปกติ (colonic inertia or anorectal dysfunction) และอาการกลั้นอุจจาระไม่ได้ (fecal incontinence) สามารถทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาได้ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยเฉพาะการรักษาผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรังถือเป็นสถาบันแห่งแรกที่ให้บริการรักษาแก่ผู้ป่วยได้ครบวงจรและทำให้ผู้ป่วยหายขาดจากภาวะนี้ได้ และยังถือเป็นสถาบันฝึกอบรมและผลิตแพทย์ รวมทั้งรับส่งต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนอีกด้วย
 
 
 
 

บริการของศูนย์ CUNM


บริการตรวจและรักษาความผิดปกติของการทำงานของระบบทางเดินอาหาร รวมถึงบริการตรวจดังนี้
 
 
การตรวจสำหรับในเวลา
- การตรวจกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักชนิดความละเอียดสูง High resolution anorectal manometry
- การตรวจการทำงานของลำไส้เล็กโดยการวัดปริมาณ ไฮโดรเจนในลมหายใจ Hydrogen breath test
- การตรวจการทำงานและฝึกกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก Anorectal manometry with Biofeedback training
- การตรวจกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักชนิดความละเอียดสูง High resolution anorectal manometry
- การตรวจวัดกรดร่วมกับการไหลย้อนของน้ำย่อยชนิดไม่ใช่กรดในหลอดอาหาร 24 hr pH-impedance esophageal monitoring 
- การตรวจวัดการเคลื่อนไหวของหลอดอาหารชนิดความละเอียดสูง High resolution esophageal manometry
 
 
การตรวจสำหรับนอกเวลา
- การตรวจการทำงานของลำไส้เล็กโดยการวัดปริมาณ ไฮโดรเจนในลมหายใจ Hydrogen breath test 
- การตรวจการทำงานและฝึกกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก Anorectal manometry with Biofeedback training
- การตรวจกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักชนิดความละเอียดสูง High resolution anorectal manometry
- การตรวจวัดกรดร่วมกับการไหลย้อนของน้ำย่อยชนิดไม่ใช่กรดในหลอดอาหาร 24 hr pH-impedance esophageal monitoring
 
 
 
การนัดตรวจ

ผู้ป่วยต้องพบแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับก่อนเพื่อทำนัด

ในเวลาราชการ : คลินิกโรคทางเดินอาหารและตับ ตึก ภปร ชั้น 1 วันจันทร์ เวลา 13.00-15.00 น. (ติดต่อทำนัดที่ ตึก ภปร ชั้น G)

นอกเวลาราชการ : คลินิกโรคทางเดินอาหารและตับ (นอกเวลา) ตึกภูมิสิริ ชั้น 10 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 16.00-18.00 น.
โทร 02-2565193-4 (จันทร์-ศุกร์ 8.00-20.00 น., เสาร์-อาทิตย์ 9.00-12.00 น.),
080-5477763 (จันทร์-ศุกร์ 8.00-19.00 น.)
 

อัตราค่ารักษาพยาบาล (ในเวลาราชการ)
 
  • MD312 ตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักร่วมกับการฝึกเบ่ง (anorectal manometry with biofeedback) 2000
  • MD313 ตรวจการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก (small bowel manometry) 3500
  • MD314 การตรวจการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ (colon transit study) 400
  • MD326 การตรวจวัดกรดร่วมกับการไหลย้อนของน้ำย่อยชนิดไม่ใช่กรดในหลอดอาหาร (24-hour pH/Impedance Reflux Monitoring) 3500
  • MD329 การตรวจการทำงานของทวารหนักชนิดความละเอียดสูง (high resolution analrectal manometry) 3000
  • MD334 ตรวจการทำงานของลำไส้เล็กโดยวัดปริมาณไฮโดรเจนในลมหายใจ (hydrogen breath test) 2000
  • MD380 ตรวจการทำงานของการเคลื่อนไหวและวัดค่าความต้านทานของหลอดอาหารชนิดความละเอียดสูง  (high resulotion esophageal manometry) 5500
 
 
 
 
สิทธิที่สามารถใช้ได้
 
  • ข้าราชการเบิกจ่ายตรง หรือครอบครัวข้าราชการ
  • เจ้าหน้าที่กาชาด หรือครอบครัวเจ้าหน้าที่
  • บัตรทอง 30 บาท ประเภทที่ 1 (ต้องทำการขึ้นคูปองที่ตึกภูมิสิริ ชั้น M ก่อน)
  • บัตรทอง 30 บาท ประเภทที่ 2 (ต้องทำการขอใบส่งตัวจากต้นสังกัดก่อนแล้วนำมาขึ้นคูปองที่ตึกภูมิสิริ ชั้น M ก่อน)
  • บัตรประกันสังคม ประเภทที่ 1 (ต้องทำการขึ้นคูปองที่ตึกภูมิสิริ ชั้น M ก่อน)
  • บัตรประกันสังคม ประเภทที่ 2 (ต้องทำการขอใบส่งตัวจากต้นสังกัดก่อนแล้วนำมาขึ้นคูปองที่ ตึกภูมิสิริ ชั้น M ก่อน)
  • เงินสด และบัตรเครดิต
  • ผู้ป่วยใน
 
 
 
 
สถานที่ ตึกภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 10 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โทร. 084-6653624 ติดต่อนัดตรวจ

https://cu-gimotility.in.th/
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด