ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

มหิดล เปิดศูนย์วิจัย AI สถาบันปัญญาประดิษฐ์มหิดล

มหิดล เปิดศูนย์วิจัย AI สถาบันปัญญาประดิษฐ์มหิดล HealthServ.net
มหิดล เปิดศูนย์วิจัย AI สถาบันปัญญาประดิษฐ์มหิดล ThumbMobile HealthServ.net

มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดศูนย์วิจัย AI แห่งใหม่ ภายใต้ชื่อ “สถาบันปัญญาประดิษฐ์มหิดล หรือ MU AI Center” เพื่อขับเคลื่อนการค้นคว้า และวิจัยด้านการแพทย์ โดยมุ่งเน้นที่จีโนมิกส์ โปรตีโอมิกส์ พยาธิวิทยา และรังสีวิทยา

 วันที่ 2 มีนาคม 2565 ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดศูนย์วิจัย AI แห่งใหม่ ภายใต้ชื่อ “สถาบันปัญญาประดิษฐ์มหิดล หรือ MU AI Center” เพื่อขับเคลื่อนการค้นคว้า และวิจัยด้านการแพทย์ โดยมุ่งเน้นที่จีโนมิกส์ โปรตีโอมิกส์ พยาธิวิทยา และรังสีวิทยา โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ พร้อมด้วย ดร.พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม และแขกผู้มีเกียรติร่วมพิธีเปิดศูนย์ฯ ณ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
 
 “สถาบันปัญญาประดิษฐ์มหิดล หรือ MU AI Center” จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยให้เกิดความร่วมมือด้านการวิจัยแบบ Federated Learning และช่วยให้นักวิจัยสามารถแก้ปัญหาที่ท้าทายที่สุดในโลกบนแพลตฟอร์มที่ทันสมัย ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ในช่วงแรกสถาบันฯ จะสนับสนุนโครงการต่างๆ จากกลุ่มความเป็นเลิศด้านการวินิจฉัยทางการแพทย์ด้วย AI ศูนย์ปฏิบัติการด้านชีววิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และแพลตฟอร์มการค้นคว้ายา แบบบูรณาการด้วยปัญญาประดิษฐ์ ด้วยความร่วมมือหว่างคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน และวิทยาลัยราชสุดา ตามลำดับ ในระยะเริ่มต้น และจะขยายให้ครอบคลุมทุกคณะ สถาบันภายในมหาวิทยาลัย
 

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล กล่าวว่า สถาบันปัญญาประดิษฐ์มหิดล เกิดขึ้นโดยการสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ตามกรอบนโยบายและกฎกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี 2564 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการเป็นสถาบันที่มุ่งเน้นการพัฒนาทางด้านการสร้างนวัตกรรมใหม่ ให้ตอบโจทย์การพัฒนาด้านเทคโนโลยีของประเทศไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0 ส่งเสริมศักยภาพของภาคธุรกิจและเติมเต็มความสมบูรณ์ครบถ้วนและทันสมัยในการดำรงชีวิตของประชาชนโดยการใช้เทคโนโลยี เช่น Smart Digital Technology and Deep Learning, Internet of Things หรือ IoT  Cyber Security เป็นต้น รวมถึงการสร้างประสบการณ์ที่เป็นเลิศแก่ผู้เรียนทุกระดับให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ตลอดเวลาอย่างไร้ขีดจำกัดด้วยศาสตร์ที่ทันสมัย ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนได้อย่างยืดหยุ่นไม่ว่าจะเป็นการเรียนส่วนบุคคล หรือการเรียนเพื่อรับ Certificate หรือ Micro degree
 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ กล่าวว่า สถาบันปัญญาประดิษฐ์มหิดล จะเป็นศูนย์รวมของนวัตกรรมและผู้ประกอบการใหม่ที่มีแนวคิดในเรื่องการบูรณาการข้ามศาสตร์ เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่ากับประเทศไทย โดยมหาวิทยาลัยมีความเชื่อมั่นว่าทุกคนมีความสามารถและศักยภาพในการเรียนรู้ทักษะใหม่และก้าวหน้าเติบโต ผ่านกระบวนการเรียนการสอน ด้วยการเรียนรู้แบบไม่จำกัด ไม่เฉพาะในห้องเรียน แต่มีการผสมผสานทั้งการเรียนในชั้นเรียน การเรียนออนไลน์ ระหว่างที่เรียนยังสามารถเก็บเครดิตและใบรับรองเพื่อนำไปใช้ในการศึกษาขั้นสูงต่อไปได้ในอนาคต ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก ซึ่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดล มีความก้าวหน้าและเชี่ยวชาญในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ทางด้านการแพทย์และสุขภาพในทุกสาขา ตัวอย่างเช่น การใช้ AI สำหรับการเอ็กซเรย์ก้อนเนื้อ การใช้ AI ในการทำนายความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ Covid-19 โดยใช้ข้อมูลจากระดับประชากร และระดับเซลล์เดี่ยว การใช้ AI เพื่อใช้ในการประเมินความเสี่ยง และการดำเนินโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และโรคมะเร็ง และการใช้ AI เพื่อวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก เป็นต้น โดยคาดว่าจะสามารถผลิตมหาบัณฑิต ที่มีศักยภาพที่พร้อมจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเราได้มองไกลไปถึงการสร้างผู้นำที่สามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยและสังคมโลกสำหรับการดำเนินงานของสถาบันปัญญาประดิษฐ์มหิดล ในปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมา มีการดำเนินกิจกรรมผ่านโครงการย่อยไปแล้วหลายส่วน ตั้งแต่การออกแบบและติดตั้งระบบปัญญาประดิษฐ์ โครงสร้างพื้นฐานขั้นสูง รวมไปถึงฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นทั้งหมด การส่งเสริมให้เกิดโครงการวิจัยแบบบูรณาการกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย และคู่ความร่วมมือภายนอก ทั้งมหาวิทยาลัยภายในประเทศ ซึ่งมหาวิทยาลัยชั้นนำจากต่างประเทศอีกหลายแห่ง มีการจัดอบรมให้ความรู้การใช้ AI ด้วยระบบ NVIDIA DGX A100 และแพลตฟอร์ม Clara Imaging และ MONAI (Medical Open Network for AI และ FLARE)  เพื่อคิดค้นและเร่งการสร้างแบบจำลอง AI เพื่อการใช้งานจริง และมีแผนเตรียมเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 2 มีนาคม 2565

สถาบันปัญญาประดิษฐ์มหิดล (Mahidol AI Center)

        สถาบันปัญญาประดิษฐ์มหิดล (Mahidol AI Center) ตั้งอยู่ ณ ลาน Innovative Space ชั้น 1 อาคารคณะ ICT มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา โดยสถาบันฯ นี้จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการค้นคว้า และวิจัยด้านการแพทย์ โดยมุ่งเน้นที่จีโนมิกส์ โปรตีโอมิกส์ พยาธิวิทยา และรังสีวิทยา ซึ่งจะช่วยให้เกิดความร่วมมือด้านการวิจัยแบบ Federated Learning และช่วยให้นักวิจัยสามารถแก้ปัญหาที่ท้าทายบนแพลตฟอร์มที่ทันสมัยทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ โดยในขั้นต้น สถาบันฯ จะสนับสนุนโครงการต่าง ๆ จากกลุ่มความเป็นเลิศด้านการวินิจฉัยทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI), ศูนย์ปฏิบัติการด้านชีววิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และแพลตฟอร์มการค้นคว้ายาแบบบูรณาการด้วยปัญญาประดิษฐ์ โดยในระยะเริ่มต้น เป็นความร่วมมือระหว่างคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน และวิทยาลัยราชสุดา และจะขยายไปยังคณะและสถาบันอื่น ๆ ภายในมหาวิทยาลัยต่อไป

facebook.com/MahidolAICenter/
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด