สาระสำคัญ คือ ให้อำนาจเจ้าพนักงานจราจร "ยึดใบอนุญาตขับขี่ บันทึการยึดเข้าระบบ และระงับใช้รถชั่วคราวได้" เพื่อสร้างความปลอดภัยต่อสาธารณะ และสวัสดิภาพของประชาชน
อำนาจยึดใบขับขี่
เจ้าพนักงานจราจร สามารถยึดใบขับขี่ได้ หากเห็นว่า ผู้ขับขี่รถขณะนั้น
1. สภาพร่างกายไม่พร้อม หรือ อยู่ในสภาพที่หากให้ขับรถต่อไปอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของตนเอง หรือผู้อื่น
(1) มีสภาพร่างกาย มีอาการป่วยด้วยโรคหรือสภาวะของโรคที่ส่งผลต่อความสามารถในการขับรถในขณะนั้น ได้แก่
- มีอาการง่วงนอน
- อ่อนเพลีย
- เหนื่อยล้า
- ลมชัก
- ความดันโลหิตสูง
- ความดันโลหิตต่ำ แต่ไม่ถึงกับเป็นความผิดตามมาตรา 43 (1)
- มีอาการอันเนื่องมาจากการดื่มสุรา หรือของเมาอย่างอื่น แต่ไม่ถึงกับเป็นความผิดตามมาตรา 43 (2)
(2) มีสภาพจิตใจ หรือภาวะทางอารมณ์แปรปรวน ที่ส่งผลต่อความสามารถในการขับรถในขณะนั้น เช่น ก้าวร้าว อารมณ์ร้าย แสดงอารมณ์ใส่ผู้อื่นอย่างรุนแรง
(3) มีพฤติกรรม ที่ส่งผลต่อความสามารถหรือทักษะในการขับรถในขณะนั้น
เจ้าหน้าที่พนักงานจราจร สามารถที่จะดำเนินการ ดังนี้
- ว่ากล่าวตักเตือนหรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ตามมาตรา 140 แล้ว
- หากเจ้าพนักงานจราจรเห็นว่า ผู้นั้นอยู่ในสภาพที่หากให้ขับรถต่อไปอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น ให้เจ้าพนักงานจราจรเรียกดูใบอนุญาตขับขี่
หากผู้ขับขี่มีใบอนุญาต ขับขี่อยู่กับตัว ให้เจ้าพนักงานจราจรที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจยึดใบอนุญาตขับขี่
หรือบันทึกการยึดใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของบุคคลนั้น เพื่อมิให้ผู้นั้นขับรถต่อไปอีก
การยึดใบอนุญาตขับขี่ บันทึกการยึดใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามแบบที่ สตช. กำหนด
คืนใบอนุญาตขับขี่ เมื่อคืนสภาพ
หากผู้ขับขี่พ้นสภาพเสี่ยงต่างๆ จนเป็นเหตุให้ถูกยึดใบอนุญาต / ระงับใช้รถชั่วคราวแล้ว ต้องคืนและยกเลิกบันทึก
"ข้อ 5 เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ขับขี่อยู่ในสภาพที่สามารถขับรถต่อไปได้หรือเมื่อเจ้าพนักงานจราจร
แน่ใจว่าผู้ขับขี่จะไม่ขับรถในขณะที่อยู่ในสภาพที่หากให้ขับรถต่อไปอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย
หรือทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น ให้เจ้าพนักงานจราจรคืนใบอนุญาตขับขี่ หรือยกเลิกการบันทึก
การยึดใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์"
การคืนใบอนุญาตขับขี่ การยกเลิกการบันทึกการยึดใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามแบบที่ สตช. กำหนด
อำนาจระงับการใช้รถ
ประกาศฉบับนี้ ให้อำนาจเจ้าหน้าที่พนักงานจราจร สามารถสั่งห้ามใช้รถชั่วคราวได้
"ข้อ 6 ในกรณีที่เจ้าพนักงานจราจรได้ว่ากล่าวตักเตือนหรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ตามมาตรา 140 แล้ว หากเจ้าพนักงานจราจรเห็นว่า ผู้นั้นอยู่ในสภาพที่หากให้ขับรถต่อไปอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น หากเจ้าพนักงานจราจรไม่อาจยึดใบอนุญาตขับขี่หรือบันทึกการยึด ใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของบุคคลนั้นได้
ให้เจ้าพนักงานจราจรที่มียศตั้งแต่ ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปมีอำนาจ "ระงับการใช้รถเป็นการชั่วคราว" เพื่อมิให้ผู้นั้นขับรถ
และ ให้ยกเลิก หากเห็นว่า
- ผู้ขับขี่อยู่ในสภาพที่สามารถ ขับรถต่อไปได้
- เมื่อเจ้าพนักงานจราจรแน่ใจว่าผู้ขับขี่จะไม่ขับรถในขณะที่อยู่ในสภาพดังกล่าว
เมื่อยึดใบขับขี่
เจ้าพนักงานจราจรดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
(1) จัดให้มีการส่งตัวผู้ขับขี่ไปยังสถานพยาบาล หรือสถานที่ปลอดภัยและเหมาะสมตามควรแห่งกรณี
(2) แจ้งญาติหรือผู้ใกล้ชิดเพื่อการดูแลผู้ขับขี่
(3) ดำเนินการอื่นใดตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แก่ผู้ขับขี่
เมื่อถูกสั่งระงับใช้รถ
เจ้าพนักงานจราจรดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
(1) แจ้งญาติหรือผู้ซึ่งผู้ขับขี่ไว้วางใจ
(2) เคลื่อนย้ายรถเพื่อความปลอดภัยและความสะดวกในการจราจร
(3) ดำเนินการอื่นใดตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แก่ผู้ขับขี่และรถดังกล่าว
หากผู้ขับขี่ เป็นเด็ก เยาวชน
หากพบว่าผู้ขับรถเป็นเด็กหรือเยาวชน ให้เจ้าพนักงานจราจร รีบแจ้ง แก่บิดา มารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือองค์การที่เด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วยในโอกาสแรก เท่าที่สามารถจะทำได้ และให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กและกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ประกาศ ณ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ลงนามโดย
พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข บัญชาการต ารวจแห่งชาติ
จิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
มีผลบังคับใช้ หลัง 180 วัน
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (12 กรกฏาคม 2565) เป็นต้นไป