10 มกราคม 2566 เวลา 13.05 น. ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการนเรนทร อ่าวไทย ได้รับแจ้งจากตึกพิเศษรวม โรงพยาบาลเกาะสมุย ประสานไปยังศูนย์นเรนทรอ่าวไทย ขอใช้เฮลิคอปเตอร์เพื่อส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต
ผู้ป่วยเป็น เพศชาย อายุ 3 ปี 6 วัน มีประวัติอาเจียนเป็น ถ่ายเป็นเลือด ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตตก
วินิจฉัยเป็น Massive UGIB with hypovolumic shock (ภาวะเลือดออกในทางเดินกระเพราะอาหารร่วมกับมีภาวะช็อคจากการเสียเลือด)
จำเป็นต้องได้รับการส่องกล้องอย่างเร่งด่วน ซึ่งเกินศักยภาพในการรักษาของโรงพยาบาลเกาะสมุย
นพ.สารยุทธ ลีลาพีรพงศ์ กุมารแพทย์ ซึ่งเป็นแพทย์เจ้าของไข้ ได้ประสานงานส่งต่อโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี แพทย์ผู้ให้การรักษาคือ แพทย์กรองจิตร และแพทย์กัลลดา รับทราบเคส แพทย์อำนวยการปฎิบัติฉุกเฉินในพื้นที่ คือ พญ.อัญญา ไอยสุวรรณ ประสานงานผ่านศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเพื่อแจ้งขอสนับสนุนอากาศยานจากหน่วยกองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
หน่วยกองบิน 7 ให้การสนับสนุน ประเภทอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ EC 725 มีชุดปฏิบัติการบินประกอบด้วย ร.อ.เอกลักษณ์ จำปาม่วง และ ร.อ.ธรณินทร์ พุ่มเกิด และทีมเวชศาสตร์การบิน รพ.กองบิน 7 ประกอบด้วย น.ต.หญิง ณิชนันทน์ สันติกุล แพทย์เวชศาสตร์ พ.อ.อ. กิตติชัย พางาม พยาบาลเวชศาสตร์การบิน พร้อมกับชุดลำเลียงทางอากาศยานรพ.เกาะสมุย ประกอบด้วย พญ.พัชรณิชา ด่วนเดิน แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน พว.กัลย์สุดา นามมูลนาค พยาบาลเวชปฎิบัติฉุกเฉิน นฉพ.ชัชญาพร นนท์สีไพร นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
เมื่อเวลา 16.55 น. ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อเข้ารับการรักษาใน PICU เป็นที่เรียบร้อย
การส่งต่อครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
ภาพจาก ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการนเรนทร อ่าวไทย