เตือนภัย ออนไลน์ มิจฉาชีพมาทุกรูปแบบ หน้าร้อนแบบนี้จะหลอกอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ
1. “หลอกขายแอร์ พัดลม เครื่องฟอกอากาศ” หลอกให้โอนเงินก่อนแต่ไม่จัดส่งสินค้า หรือส่งสินค้าแบบเก็บเงินปลายทาง แต่เป็นสินค้าปลอม ไม่ตรงปก คุณภาพต่ำ
2. “หลอกขายทัวร์ท่องเที่ยวทิพย์” หลอกลวงขายตั๋วทัวร์ในประเทศ/ต่างประเทศ ให้โอนเงินแล้วเงียบหายติดต่อไม่ได้ ไม่ได้เดินทางจริง
3. “หลอกลดหย่อนค่าไฟ, หลอกแจกตั๋วเครื่องบินฟรี” หลอกให้ดาว์นโหลดแอปฯ ดูดเงิน หลอกเอาข้อมูลส่วนตัว เลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ วันเดือนปีเกิด
4. “หลอกทำงานพิเศษช่วงปิดเทอม” หลอกให้โอนเงิน ลงทุน เพื่อทำงานพิเศษ เช่น กดรับออเดอร์ ทำสต๊อกสินค้า หลอกให้ลงทุน แล้วไม่ได้รับเงินคืนทั้งต้นทุนและกำไร
5. “หลอกกู้เงินออนไลน์ดอกเบี้ยต่ำ” หลอกให้โอนเงินเป็นค่าธรรมเนียม หรืออ้างทดลองโอนเงินเข้าบริษัท เพื่อแสดงว่าสามารถผ่อนชำระได้ และหลอกให้โอนเงินเพิ่มโดยใช้ข้ออ้างต่างๆ เช่น โอนเงินเกินเวลาที่กำหนด หรือทำธุรกรรมผิดพลาด จนสุดท้ายก็ไม่ได้ทั้งเงินกู้ และเงินที่โอนไป
ไม่เชื่อ ไม่หลง ไม่โลภ ไม่โอน รู้ทันโจรออนไลน์ มีสติอยู่เสมอ!
สอบถาม แจ้งเหตุ โทร. 1441 ตำรวจไซเบอร์ ( บช.สอท. )
ภาพจาก สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชลบุรี
เตือนภัยคอทุเรียน เพจหลอกขายทุเรียน LINK
มิจฉาชีพปลอมเพจดังหลายเพจหลอกขายทุกเรียน สร้างภาพสร้างโปรไฟล์ให้เหมือนจริง เพื่อความน่าเชื่อถือ เมื่อผู้เสียหายโอนเงินให้แล้วเงียบหายไป ไม่มีการส่งของให้ลูกค้าแต่อย่างใด พอผู้เสียหายติดต่อหรือตามสินค้า จะถูกบล็อกเฟซบุ๊กขาดการติดต่อโดยทันที
ขณะนี้ก็ยังมีเปิดเพจปลอมขึ้นมาอยู่เรื่อย ๆ ต้องเช็คกันให้ชัวร์ก่อนสั่งกันนะคะ
ปรึกษา หรือ แจ้งเบาะแส โทร 1441 หรือ 081-866-3000
แจ้งความออนไลน์
www.thaipoliceonline.com 5 งรูปแบบอาชญากรรมออนไลน์มาในหน้าร้อน
เตือนภัย แอบอ้างเป็นการไฟฟ้า หลอกจะคืนเงินให้ทางแอป
การไฟฟ้าไม่มีนโยบายคืนเงินประกันหรือเงินต่างๆทางแอปพริเคชันหรือแพลตฟอร์มต่างๆ
มิจฉาชีพ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) แจ้งว่า ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าคืน เพื่อช่วยเหลือประชาชนตามมาตรการเร่งด่วน
เมื่อผู้เสียหายกดลิงก์ที่แนบมากับข้อความดังกล่าว จะเป็นการเพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชันไลน์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่มิจฉาชีพปลอมขึ้นมา จากนั้นมิจฉาชีพจะสอบถามรายละเอียดต่างๆ เริ่มจากสอบถามว่า ได้รับการแจ้งเตือนมาจากช่องทางใด แจ้งผู้เสียหายว่าจะได้รับเงินประกันคืนในอัตราตั้งแต่ 2,000-6,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของมิเตอร์ที่ใช้ สอบถามว่าโทรศัพท์ที่ใช้งานใช้ระบบปฏิบัติการ Android หรือ IOS พร้อมทั้งขอหมายเลขโทรศัพท์เพื่อติดต่อกลับ เมื่อตอบคำถามเสร็จสิ้น จะมีหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยโทรฯ มายังผู้เสียหาย อ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แล้วทำการส่งลิงก์ทางไลน์ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(ปลอม) อ้างว่าเป็นแอปพลิเคชันเวอร์ชันใหม่ล่าสุด สามารถตรวจสอบปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ได้ในแต่ละวัน โดยมีการขอสิทธิติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก (ไฟล์อาจเป็นอันตราย หรือไฟล์นามสกุล .apk) มีการหลอกให้ตั้งรหัสผ่าน 6 หลัก จำนวนหลายๆ ครั้ง เพื่อหวังให้ผู้เสียหายกรอกรหัสชุดเดียวกับรหัสเข้าถึง หรือทำธุรกรรมการเงินของแอปพลิเคชันธนาคารต่างๆ ในโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย รวมไปถึงขอสิทธิในการควบคุมอุปกรณ์ หรือโทรศัพท์มือถือของเหยื่อ เช่น ดูและควบคุมหน้าจอ ดูและดำเนินการ เป็นต้น
โดยในขั้นตอนนี้ มิจฉาชีพจะแสร้งหวังดีสอนผู้เสียหายว่าทำอย่างไร โดยการโทรศัพท์มาแจ้งวิธีการด้วยตนเอง กระทั่งเมื่อมิจฉาชีพได้สิทธิควบคุมอุปกรณ์หรือโทรศัพท์มือถือแล้ว จะทำการล็อกหน้าจอโทรศัพท์ ทำให้เสมือนโทรศัพท์ค้าง ซึ่งมักจะแสดงข้อความว่า อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบ ห้ามใช้งานโทรศัพท์มือถือ ทำให้มิจฉาชีพสามารถนำรหัสที่ผู้เสียหายเคยกรอกเอาไว้ก่อนหน้านี้ ทำการโอนเงินออกจากบัญชีของผู้เสียหาย
การหลอกลวงในรูปแบบดังกล่าว ยังคงเป็นการหลอกลวงในรูปแบบเดิมๆ เพียงแต่มิจฉาชีพจะเปลี่ยนชื่อหน่วยงาน และเปลี่ยนเนื้อหาไปตามวันเวลา และสถานการณ์ในช่วงนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งว่าได้รับสิทธิ หรือได้รับเงินคืน ให้อัปเดตข้อมูล โดยในขั้นตอนสุดท้ายจะหลอกลวงให้เหยื่อกดลิงก์ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมของหน่วยงานที่แอบอ้าง ที่ผ่านมาก็ปรากฏในหลายๆ หน่วยงาน มิจฉาชีพจะอาศัยความไม่รู้ และความโลภ ของประชาชนเป็นเครื่องมือ ใช้ความสมัครใจของเหยื่อให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม มีการใช้สัญลักษณ์ของหน่วยงาน เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันหลายหน่วยงานได้ประกาศยกเลิกการส่งข้อความสั้น (SMS) หรือส่งอีเมลไปยังประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถาบันการเงิน หรือธนาคารต่างๆ
ทั้งนี้ฝากย้ำเตือนไปยังประชาชน ไม่ว่ามิจฉาชีพจะมาในรูปแบบใดๆ ก็ตาม ให้ระมัดระวังและมีสติอยู่เสมอ โดยหากพบเห็นข้อความสั้น (SMS) หรือลิงก์ ในลักษณะดังกล่าว ให้แจ้งเตือนไปยังบุคคลใกล้ชิด และหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานนั้นๆ ให้ช่วยตรวจสอบทันที เพื่อลดการตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ
5 อันดับภัยออนไลน์
คดีออนไลน์ที่ได้รับแจ้งสูงสุด 5 อันดับแรก
- หลอกขายของแล้วไม่ได้ของ
- หลอกทำภารกิจ
- หลอกกู้เงิน
- คอลเซนเตอร์
- หลอกลงทุน
สถิติ เดือนมีนาคม (20 วันแรกของเดือน) รับแจ้ง 75,307 ครั้ง ความเสียหาย กว่า 1 พันล้านบาท
3 วิธีการไม่ตกเป็นเหยื่อ มิจฉาชีพออนไลน์
ตำรวจไทย PCT Police แนะนำวิธีการไม่ตกเป็นเหยื่อ มิจฉาชีพออนไลน์
1. เลือกบริการร้านค้าตามแพลตฟอร์มพวก อีคอมเมิรซ ค่ะ พวกลาซาด้า ชอปปี้ น็อคน็อค เซเว่น ฯลฯ พวกนี้ เขามีการรับประกันเมื่อได้สินค้าไม่ตรงปก ไม่ได้สินค้า เขารับประกันให้เรา โอนเงินคืนให้เรา แล้วเขามีหน้าที่ไปจัดการกับคนโกงเอง
2. อย่าเห็นแก่ของถูกเกินไปค่ะ ทุกอย่างต้องมีที่ไปที่มา การซื้อขายคือธุรกิจค่ะ ไม่ใช่การกุศล
3. ถ้าจะซื้อจากแพลตฟอร์มโซเชียลอื่นๆ ที่ไม่ได้เป็นแพลตฟอร์มค้าขายโดยตรง ระวัง ดูให้ดีค่ะ ของปลอมเยอะ ดูรีวิว ดูยอดไลค์ ทักไป ดูเลขบัญชีปลายทาง เอาชื่อไปหาในเน็ตก่อนค่ะ ว่าเคยมีประวัติโกงไหม
ระวังโฆษณาหลอกทำงาน LINK
หยุดเป็นเหยื่อภัยคุกคามการเงินออนไลน์เพราะอยากทำงานสบายที่ได้เงินง่าย ๆ
- งานแอดมินเพจ คอยติดต่อและดูแลลูกค้า
- เงินเดือนดี (ขั้นต่ำ 30,000 บาท) ทำดีมีคอมมิชชันอีกต่างหาก
- มีที่พักให้ พร้อมอาหารสามมื้อ
- แค่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ ได้บ้าง
- ไปทำงานที่ประเทศเพื่อนบ้าน สัญญาจ้าง 2 – 6 เดือน
หากคุณเจอโฆษณาลักษณะนี้บนโซเซียลมิเดีย ไม่ว่าจะเป็น facebook , youtube , tiktok หรือตามเว็บไซต์ต่างๆ บอกไว้เลยว่านี่คือกับดักล่อเหยื่อ หากใครหลงเชื่อไปสมัครแล้วละก็!! ท่านอาจจะกลายเป็นโจรโดยไม่รู้ตัว เพราะงานลักษณะนี้มันก็คือ งานแก๊งคอลเซนเตอร์
มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นพนักงานบริษัทจัดหางาน หลอกให้สมัครงาน LINK
มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นพนักงานบริษัทจัดหางาน ที่ผู้เสียหายติดต่อสมัครงาน เมื่อเหยื่อหลงเชื่อก็จะส่งลิงก์ให้ติดตั้งเพื่อให้ทำภารกิจ อ้างว่าเป็นการทดลองงาน เช่น การจ้างให้กดไลก์ (Like) กดแชร์ (Share) ดูคลิปวิดีโอจากยูทูบ (YouTube) กดรับออเดอร์สินค้า รีวิวที่พัก รีวิวสินค้า พับถุงกระดาษ ร้อยลูกปัด หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ที่มิจฉาชีพออกอุบาย และอีกวิธีคือส่งความสั้น (SMS) ไปยังเหยื่อโดยตรงให้กดลิงก์เพิ่มเพื่อนทาง Line แล้วเข้ากลุ่มทำงานที่มิจฉาชีพสร้างขึ้นมา รวมไปถึงมีการใช้อวตาร หน้าม้า ใช้รูปภาพโปรไฟล์ของบุคคลอื่นจากเว็บไซต์ทั่วไปเพื่อหลอกลวงเหยื่อ