สปสช. เผย ปี 2566 มีคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สมัครขึ้นทะเบียนเป็น “คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น” แล้ว 241 แห่ง มี 2 คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมขึ้นทะเบียนให้บริการสาธารณสุขปฐมภูมิสิทธิบัตรทอง ทั้งบริการผู้ป่วยนอก 4 รายการ บริการสร้างเสริมสุขภาพฯ 7 ราย เพิ่มการเข้าถึงบริการ สะดวก ใกล้บ้าน ไม่ต้องรอคิวนาน
คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ได้ร่วมเป็นหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ “คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น” ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง 30 บาท มาตั้งแต่ปี 2563 เพื่อร่วมให้บริการตามนโยบาย “นวัตกรรมบริการสารณสุขวิถีใหม่” (UC New Normal) ดูแลประชาชนให้เข้าถึงบริการปฐมภูมิและบริการสร้างสุขภาพป้องกันโรคที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามความจำเป็น ได้อย่างครอบคลุมและสะดวกเพิ่มขึ้น ทั้งเป็นการขยายหน่วยบริการในเครือข่ายปฐมภูมิ ลดระยะเวลารอคอยการรับบริการ และลดความแออัดในหน่วยบริการ
คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น บริการอะไรบ้าง
บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 7 รายการ
1. ฝากครรภ์
2. ยาเม็ดคุมกำเนิด
3. ถุงยางอนามัย
4. ทดสอบการตั้งครรภ์
5. ตรวจหลังคลอด
6. ยาเสริมธาตุเหล็กและกรดโฟลิก(ยาเม็ดรวม Ferrofolic หรือที่เทียบเท่า)
7. คัดกรองและประเมิน ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพกายหรือสุขภาพจิต
บริการผู้ป่วยนอก 4 รายการ
1. ยาตามแผนการรักษา
2. การพยาบาลพื้นฐาน ได้แก่ ทำแผลชนิดต่าง ๆ การใส่สายยางให้อาหาร และการให้สายสวนปัสสาวะ รวมถึงเช็ดตาล้างตาและล้างจมูก
3. การดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่บ้าน ได้แก่
- กลุ่มผู้ป่วยที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงหญิงหลังคลอดที่มีภาวะแทรกซ้อน มารดาหลังคลอดส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้ เช่น ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ มีปัญหาในการปฏิบัติตน
- กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและมีการไร้ความสามารถเล็กน้อย ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวัน ต้องพึ่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ผู้ป่วยที่ใส่สายยางให้อาหารหรือ สายสวนปัสสาวะ หรือ ล้างไตทางช่องท้อง
4. ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น
ความเป็นมาคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น
ความเป็นมา
ปี พ.ศ.2562 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีนโยบายในการผลักดันให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพ อย่างทั่วถึง เท่าเทียม มีคุณภาพ และสะดวก ไม่ต้องเดินทางไกล จึงได้พยายามหาวิธีจัดบริการรูปแบบใหมเพื่อให้ประชาชนสามารถ รับบริการได้ในชุมชนโดยไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล ซึ่งนอกจากทำให้ประชาชนสะดวกขึ้นและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางแล้ว ยังช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาลอีกด้วย เช่น โครงการให้ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาต่อเนื่องไปรับยาจากร้านยาในชุมชนซึ่งมีเภสัชกร ประจำการกำหนดให้ร้านยาซึ่งมีเกสัชกรทางานประจำวันละไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมง ขึ้นทะเบียนเป็นเครือข่ายหน่วยบริการร่วมให้ บริการของสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทำหน้าที่บริการในการให้คำปรึกษาด้านยาแกผู้ป่วยหัวใจ เบาหวาน เป็นต้น
รองศาสตราจารย์ คร.ทัศนา บุญทอง นายกสภาการพยาบาลและในฐานะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในขณะนั้น ได้พิจารณาเห็นว่าผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลเป็นบุคลากรกลุ่มใหญ่ในระบบสาธารณสุขและกระจายอยู่ในชุมชนทุกระดับของ ประเทศ น่าจะได้มีส่วนในการแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลได้มากเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะบริการต่าง 1 ตามขอบเขตของวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ ซึ่งจะตอบสนองความต้องการของประชาชนได้โดยไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล จึงเสนอให้คลินิก การพยาบาลและการผดุงครรภ์ที่เปิดให้บริการอยู่แล้วทั่วประเทศจำนวนกว่า 5,000 แห่ง ซึ่งมีศักยภาพเพียงพอที่จะให้บริการ สุขภาพในระดับปฐมภูมิอย่างมีประสิทธิภาพ เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามข้อบังคับคณะ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข การขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วย บริการ พ.ศ. 2558 เพื่อเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงต่าง 1 เข้าถึงบริการสุขภาพใกล้บ้านได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง โดยในรปิงบประมาณ 2563 ได้ดำเนินการนำร่องในพื้นที่กรงเทพมหานคร เป็นส่วนหนึ่งของการชับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ระบบบริการสุขภาพเขตเมือง พ.ศ. 2561 - 2570 ต่อมาจึงขยายไปในทุกเขตสุขภาพ
คลินิกพยาบบาลชุมชนอบอุ่น
เมื่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เห็นชอบตามหลักการที่ รองศาสตราจารย์ คร ทัศนา บุญทอง เสนอแล้ว สภาการพยาบาลวางแผนการดำเนินงานโดยกำหนดเป็นโครงการพัฒนารูปแบบคลินิก การพยาบาลและการผ่ดงครรภ์เป็นหน่วย บริการร่วมให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ใด้ตั้งคณะทำงานขึ้นชุดหนึ่งโดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดรวัลลา ตันตโย ทัย อาจารย์ลัดดาวัลย์ ไวยสุระสิงห์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ครเวหา เกษมสุข และท่านอื่น ๆ เพื่อทำงานในโครงการพัฒนารูปแบบ คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ดังกล่าว โดยได้ประชุมร่วมกับผู้แทนของ สปสซ. เพื่อการกำหนดหลักการ วิธีการ มาตรฐาน ของคลินิก ขอบเขตการให้บริการของคลินิก ฯลฯ รวมทั้งกำหนดให้คลินิกการพยาบาลและการผคงครรภ์ที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วย บริการของสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่า "คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น"
คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น ต่างจาก คลินิกการพยาบาลและการผคุงครรภ์ที่ไม่ได้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายหน่วยร่วมบริการของ สปสช. อย่างไร
คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น เป็นคลินิกการพยาบาลและการผ่ดงครรภ์ ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นสถานพยาบาลตามกฎหมาย สถานพยาบาล และผ่านการประเมินมาตรฐานจากสภาการพยาบาลและ สปสช. แล้ว ตามเกณฑ์ที่กำหนด และได้ทำสัญญาขึ้น ทะเบียนเป็นหน่วยบริการของสปสช.สามารถให้บริการสุขภาพตามกฎหมายการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดงครรภ์ โดยที่การให้บริการสุขภาพโดยเฉพาะในขอบเขตและกิจกรรมที่ สปสช. กำหนดไว้สำหรับผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (UC คือ ผู้ป่วยบัตรทอง ซึ่งรับบริการที่คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น คลินิกพยาบาลที่ให้บริการไม่ต้องเก็บค่าบริการจากประชาชนผู้ มารับบริการ แต่สามารถเรียกเก็บจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยตรง สำหรับอัตราค่าบริการในแต่ละกิจกรรมบริการ เป็นไปตามที่ สปสช. ประกาศกำหนดไว้แล้ว
นอกจากนี้สภาการพยาบาลได้จัดการอบรมฟื้นพูทักษะการให้บริการของผู้ดำเนินการคลินิกการพยาบาลและการผดงครรภ์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ให้บริการมีความรู้และทักษะในการให้บริการอย่างเพียงพอ สามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน และยังมีการติดตาม กำกับ และประเมินผล ตลอดจนสนับสนุนการทำงานของคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่นอย่างต่อเนื่อง
สภาการพยาบาล หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่าย LINK
หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สําหรับหน่วยบริการรับส่งต่อเฉพาะด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ปีงบประมาณ 2566
1. เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพปฐมภูมิ ที่มีคุณภาพ มาตรฐานให้แก่ประชาชน
2. พัฒนารูปแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เหมาะสมและ สอดคล้องกับสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงสู่New normal
3. สนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิตามรัฐธรรมนูญ
หลักเกณฑ์ เงื่อนไขการจ่ายชดเชย
1. กลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยสิทธิ UCหรือสิทธิว่าง
2.หน่วยบริการที่มี สิทธิขอรับ ค่าใช้จ่าย คลินิกการพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนรับการส่งต่อเฉพาะด้านการบริการ คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
3. การบันทึกข้อมูล1.รายการบริการพยาบาลพื้นฐาน >โปรแกรม e-Claim 2.รายการบริการการรักษาโรคเบืองต้น > โปรแกรม A-MED 3.บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค > โปรแกรม KTB
อัตราการจ่ายชดเชย
รายการบริการพยาบาลพื้นฐาน
1. บริการการให้ยา
1.1ให้ยาฉีด 30 บาท/ต่อวัน
1.2ให้ยาพ่น 60 บาท/ต่อวัน
2.บริการการทําแผล
2.1แผลแห้ง 80 บาท/ต่อวัน
2.2แผลเปิด 170 บาท/ต่อวัน
2.3แผลขนาดใหญ่ 320 บาท/ต่อวัน
3. การใส่ NG80 บาท/ต่อวัน
4. การใส่สายสวนปัสสาวะ110 บาท/ต่อวัน
อัตราการจ่ายชดเชย รายการบริการพยาบาลพื้นฐาน
1.บริการล้างตา 80 บาท/ต่อวัน 2. บริการบริการเช็ดตา 50 บาท/ต่อวัน 3. บริการล้างจมูก 80 บาท/ต่อวัน
อัตราการจ่ายชดเชย รายการการบริการดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่บ้าน
5. บริการเยี่ยมบ้าน ( Health Assessment )
5.1 กลุ่มผู้ป่วยที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ 400 บาท/ต่อวัน/ไม่เกิน 4 ครั้ง /คน
5.2 กลุ่มผู้ป่วยที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและไม่สามารถควบคุม อาการได้ 600 บาท/ต่อวัน/ไม่เกิน 6ครั้ง /คน
5.3กลุ่มผู้ป่วยที่เจ็บป่วยเรื้อรังและมีการไร้ความสามารถ เล็กน้อย 800 บาท/ต่อวัน/ไม่เกิน 8ครั้ง /คน
อัตราการจ่ายชดเชย รายการบริการการรักษาโรคเบื้องต้น
1.จ่ายเป็นค่าบริการตรวจวินิจฉัย/ให้ คําปรึกษา/ค่ายาและเวชภัณฑ์ จํานวน 32บริการ 150บาทต่อครั้ง
อัตราการจ่ายชดเชย รายการเวชภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ กิจกรรมบริการ
1.สายยางกระเพาะอาหารแบบซิลิโคน (NG tube) อัตราจ่ายตามรายการ FS 300บาท/ชิ้น
2.สายสวนปัสสาวะ (Urine catheter) 28 บาท/ชิ้น
3.ถุงเก็บปัสสาวะ (Urine bag) 90 บาท/ชิ้น
อัตราการจ่ายชดเชย รายการบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (PP FS)
1.บริการฝากครรภ์ (ANC) สาหรับครั้งที่ 2 เป็นต้นไป 360บาท/ครั้ง
2.บริการยาเม็ดคุมกําเนิด ชนิดฮอร์โมนรวม 40 บาท/แผง ครั้งละไม่เกิน 3 แผง ไม่เกิน 13 แผง/คน/ปี
3. บริการจ่ายถุงยางอนามัยและให้คําปรึกษา สําหรับ ประชาชนไทยวัยเจริญพันธุ์ 1บาท/ชิ้น
4. บริการทดสอบการตั้งครรภ์ 75บาทต่อครั้ง ไม่เกิน 4ครั้ง/ปี
5. บริการหญิงหลังคลอด-ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 8 –15นับถัดจากวันคลอด-ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 16 –42นับถัดจากวันคลอด
150 บาท /ครั้งหลังคลอด ไม่เกิน 2ครั้ง
6.บริการป้องกันการขาดไอโอดีน ธาตุเหล็กและ กรดโฟลิก(Triferdine) 135 บาท /ครั้งหลังคลอด ไม่เกิน 2ครั้ง
7. บริการยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและกรดโฟลิคใน หญิงไทยวัยเจริญพันธุ์ อายุ 13-45 ปี 80บาท/ ครั้ง ไม่เกิน 1ครั้ง/ปี
8. บริการคัดกรองและประเมินปัจจัยเสยงต่อสุขภาพ กาย/สุขภาพจิต-ประชาชนไทยอายุ 15-34 ปี -ประชาชนไทยอายุ 35-59ปี (เพิ่มเติมการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคหัวใจ และหลอดเลือด)