ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สรุปผลงาน 17 รพ.เอกชนมาตรา 7 - 3 เดือน ส่งต่อผู้ป่วยบัตรทองกว่า 3.3 พันคน

สรุปผลงาน 17 รพ.เอกชนมาตรา 7 - 3 เดือน ส่งต่อผู้ป่วยบัตรทองกว่า 3.3 พันคน Thumb HealthServ.net
สรุปผลงาน 17 รพ.เอกชนมาตรา 7 - 3 เดือน ส่งต่อผู้ป่วยบัตรทองกว่า 3.3 พันคน ThumbMobile HealthServ.net

สปสช.จัดประชุมเพิ่มประสิทธิภาพระบบส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับบริการ “สถานพยาบาลอื่นตามมาตรา 7 กรณีเหตุสมควร” พร้อมเปิดข้อมูลราว 3 เดือน จาก 17 รพ.เอกชนเข้าร่วม รับส่งต่อผู้ป่วยในพื้นที่ กทม. และปริมณฑลแล้ว 3,368 ราย สะท้อนถึงศักยภาพความร่วม รพ.เอกชน ช่วยหนุนเสริมดูแลผู้ป่วยสิทธิบัตรทองใน กทม.

 
 
 
 
ที่โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทรา ศูนย์ราชการฯ - เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2566 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้จัด “การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประสานส่งต่อผู้ป่วยในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ครั้งที่ 1/2566” โดยมี นางสาวดวงนภา พิเชษฐ์กุล ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นประธานเปิดการประชุม มีผู้เข้าร่วมประชุมฯ ประกอบด้วยตัวแทนโรงพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาท) ในเขตพื้นที่ กทม.และปริมณฑล, ตัวแทนโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมเป็นสถานพยาบาลอื่นตามมาตรา 7 กรณีเหตุสมควร ตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 จำนวน 130 คน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สายด่วน สปสช. 1330 และเจ้าหน้าที่ สปสช. เขต 13 กทม. ที่ทำการประสานส่งต่อผู้ป่วย
 
 
 

นางสาวดวงนภา กล่าวว่า แม้ว่าระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะครอบคลุมการดูแลคนไทยทั้งประเทศแล้ว แต่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ด้วยจำนวนประชากรในพื้นที่ซึ่งหนาแน่ ประกอบด้วยประชากรในพื้นที่ และประชากรแฝง หน่วยบริการที่มีจำนวนจำกัด หน่วยบริการที่ปิดเครือข่ายบริการ และหน่วยบริการปฐมภูมิใหม่ที่ยังไม่สามารถจัดหาหน่วยบริการรับส่งต่อได้ ทำให้เป็นอุปสรรคในการเข้ารับบริการผู้ป่วยสิทธิบัตรทองในพื้นที่
 
ดังนั้น สปสช. จึงเร่งแก้ไขปัญหา นอกจาก สปสช. เขต 13 กทม. ที่ประสานโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่ได้อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เข้าร่วมเป็นสถานพยาบาลตามมาตรา 7 กรณีเหตุสมควรแล้ว เพื่อดูแลผู้ป่วยสิทธิบัตรทองสำหรับกรณีเกินศักยภาพการรักษาของหน่วยบริการ หรือที่มีเหตุสมควร พร้อมมอบให้ สายด่วน สปสช.1330 ทำหน้าที่ประสานส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับบริการในสถานพยาบาลตามมาตรา 7 กรณีเหตุสมควรในกรณีที่เกิดปัญหาการส่งต่อด้วย โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2566 เป็นต้นมา
 
“การประชุมวันนี้เป็นเวทีของการทบทวน มีทั้งตัวแทนโรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่ส่งต่อผู้ป่วย และตัวแทนโรงพยาบาลเอกชนที่ร่วมเป็นสถานพยาบาลตามมาตรา 7 กรณีเหตุสมควรซึ่ง สปสช. ได้รับฟังความเห็น และทำการรวบรวมข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงและแก้ไขให้ระบบเดินหน้า ดูแลประชาชนให้เข้าถึงบริการตามสิทธิได้อย่างทั่วถึง” ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. กล่าว
 
 
โรงพยาบาลเอกชนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่มาร่วมเป็นสถานพยาบาลตามมาตรา 7 มีจำนวน 17 แห่ง ได้แก่  1.รพ.กล้วยน้ำไท 2.รพ.ปิยะเวท 3.รพ.บางนา1 4.รพ.เพชรเวช 5.รพ.บางนา5 6.รพ.มเหสักข์ 7.รพ.แพทย์ปัญญา 8.รพ.มิตรประชา 9.รพ.ศรีสวรรค์ กรุงเทพ 10.รพ.พีเอ็มจี 11.รพ.สุขสวัสดิ์อินเตอร์ 12.รพ.อินทรารัตน์ 13.รพ.นวมินทร์ 14.รพ.วิภารามปากเกร็ด 15.รพ.บางโพ 16.รพ.กรุงเทพสนามจันทร์ และ 17.รพ.บางไผ่ 
 
 
 
ด้าน นางบุญสิงห์ มีมะโน ผู้จัดการกอง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จากข้อมูล สปสช. ณ วันที่ 16 มิถุนายน ที่ผ่านมา ในพื้นที่ กทม. มีหน่วยบริการที่ร่วมดูแลผู้มีสิทธิบัตรทองทั้งสิ้น 1,300 แห่ง แยกเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ 360 แห่ง หน่วยบริการรับส่งต่อเฉพาะด้าน 894 แห่ง และหน่วยบริการรับส่งต่อทุติยภูมิและตติยภูมิ 46 แห่ง ที่ผ่านมาได้เพิ่มเติมสถานพยาบาลตามมาตรา 7 กรณีเหตุสมควรโดยมีโรงพยาบาลเอกชนในพื้นที่ กทม.และปริมณฑลสมัครเข้าร่วม 17 แห่ง ทำให้ขยายจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยบัตรทองเพิ่ม 500 เตียง


 
 
ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาได้มีการส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลตามมาตรา 7 กรณีเหตุสมควรแล้ว จำนวน 3,368 ราย แยกเป็นบริกาผู้ป่วยนอก 2,739 ราย และผู้ป่วยใน 629 ราย สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วม ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการให้กับผู้ป่วยบัตรทองที่อยู่ใน กทม. และปริมณฑลได้
 
“หลักเกณฑ์ในการส่งต่อสถานพยาบาลตามมาตรา 7 กรณีเหตุสมควรนี้ ย้ำว่าผู้ป่วยไม่สามารถ Walk in ได้เอง แต่ต้องเป็นการพิจารณาและส่งต่อจากโรงพยาบาลในระบบบัตรทองเท่านั้น และต้องได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยเอง รวมถึงให้ประสานกับสถานพยาบาลตามมาตรา 7 ก่อนว่า จะรับดูแลผู้ป่วยหรือไม่ โดยหน่วยบริการต้นทางจะต้องบันทึกการส่งต่อผู้ป่วยใน Google Forms หรือโทรแจ้งผ่านสายด่วน 1330 ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่รับเรื่องให้ ถือเป็นความร่วมมือ สปสช. และโรงพยาบาลเอกชน เพื่อให้ผู้ป่วยสิทธิบัตรทองใน กทม. เข้าถึงบริการ” ผู้จัดการกอง สปสช.เขต 13 กทม. กล่าว

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด