ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ตลท.แนะ 3 จุดสังเกตเพจปลอม จับโป๊ะหลอกลงทุน อย่าเชื่อ อย่าแชร์ อย่าโอน

ตลท.แนะ 3 จุดสังเกตเพจปลอม จับโป๊ะหลอกลงทุน อย่าเชื่อ อย่าแชร์ อย่าโอน HealthServ.net
ตลท.แนะ 3 จุดสังเกตเพจปลอม จับโป๊ะหลอกลงทุน อย่าเชื่อ อย่าแชร์ อย่าโอน ThumbMobile HealthServ.net

ปัจจุบันพบมิจฉาชีพเหิมเกริมทำโฆษณาเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยม ด้วยวิธีการแอบอ้างตลาดหลักทรัพย์ บริษัทมหาชน หน่วยงานองค์กรของรัฐ ไปจนถึงการแอบอ้างชื่อและภาพนักลงทุนชื่อดังหรือคนมีชื่อเสียง เพื่อหลอกให้ประชาชนหลงเชื่อคล้อยตาม หลอกให้ลงทุนที่ไม่มีจริง ไม่ได้ผลการลงทุนอย่างที่แอบอ้าง ประชาชนสูญเสียทรัพย์สินจำนวนมาก

ตลท.แนะ 3 จุดสังเกตเพจปลอม จับโป๊ะหลอกลงทุน อย่าเชื่อ อย่าแชร์ อย่าโอน HealthServ
  ตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่นิ่งนอนใจ ได้ออกคำเตือนประชาชน ว่า อย่าหลงเชื่อ อย่าแชร์เพจปลอม ด้วยพบว่ามีการแอบอ้างใช้ชื่อ ตลาดหลักทรัพย์ฯ และ ภาพโลโก้ของตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมถึง ภาพผู้บริหารของตลาดหลักทรัพย์ฯ ไปทำการหลอกลวงหรือซักชวนลงทุนโดยให้ผลตอบแทนสูง ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอแจ้งว่าตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับเพจ หรือโฆษณาชักชวนลงทุนโดยให้ผลตอบแทนสูงตามโซเชียลมีเดียต่างๆ


 

3 จุดสังเกต ต้องระวัง โฆษณาปลอมหลอกลงทุน

 
1. แอบอ้างชื่อ ภาพ โลโก้ หน่วยงาน บริษัทหรือบุคคล ที่มีชื่อเสียง และน่าเชื่อถือในการโฆษณาชวนเชื่อ
 
2. เสนออัตราผลตอบแทนการลงทุนที่จูงใจ และสูงเกินจริง ที่มาผลตอบแทนไม่ชัดเจน เช่น รับปันผล xx,xxx บาท/เดือน  หรือ ผลตอบแทนสูงสม่ำเสมอ
 
3. ช่องทางการติดต่อส่วนใหญ่เป็น การคลิกเข้าสู่แชท Messenger ไม่มีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือย่างชัดเจน 


 
หากพบเห็นหรือสงสัย ติดต่อ SET Contact Center www.set.or.th/cc หรือ 02-009-9999
ตลท.แนะ 3 จุดสังเกตเพจปลอม จับโป๊ะหลอกลงทุน อย่าเชื่อ อย่าแชร์ อย่าโอน HealthServ

คำแนะนำวิธีพบโพสต์ปลอม ทำอย่างไร

คำแนะนำวิธีพบโพสต์ปลอม ทำอย่างไร
 
1. กดไปที่จุด 3 จุดมุมบนขวา 
2. กดไปที่ Report Post รายงานโพสต์ปลอม
3. กด emoticon รูปโกรธใต้โพสต์เพื่อช่วยกันเตือนว่า โพสต์นี้เป็นโพสต์ปลอม
 
 

กรณีพบเพจปลอม

กรณีพบเพจปลอม

1. กดไป จุด 3 จุด 
2. กด Report Profile
3. เลือก Fake page
4. กด Done  

แจ้งเตือนเคสเพจปลอดหลอกลงทุนผ่าน อีเมล์ setcontactcenter@set.or.th 
โทร. 02-009-9999

4 ไม่เพื่อป้องกันเพจปลอมหลอกลงทุน

4 ไม่เพื่อป้องกันเพจปลอมหลอกลงทุน
 
1. ไม่ลงทุนตามคำชักชวนโดยไม่ตรวจสอบความน่าเชื่อถือ
ระวังเพจปลอม
ระวังการแอบอ้างบุคคลที่มีชื่อเสียง
 
2. ไม่หลงเชื่อการอ้างผลตอบแทนที่สูงเกินจริง
 
การลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้น
ผลตอบแทนที่สูงมักจะมาพร้อม
ความเสี่ยงสูง อย่าเร่งรีบตัดสินใจ
 
3. ไม่รีบร้อนต้องตรวจสอบตัวตนบริษัทก่อนลงทุน
ตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการและบุคลากรเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ ที่ได้รับอนุญาตได้ที่ www.sec.or.th
 
4. ไม่โอนเงินเข้าบัญชีบุคคลธรรมดา
ผู้ให้บริการที่ถูกต้องตามกฎหมายต้องใช้บัญชีธนาคารเป็นชื่อบริษัทของผู้ให้บริการเท่านั้นและต้องมีรายงานยืนยันผลการลงทุน
 
ศึกษาข้อมูลการลงทุนได้ที่ www.setinvestnow.com สอบถามโทร 02-009-9999
 

วิธีจับโป๊ะ เพจปลอมหลอกลงทุน

วิธีจับโป๊ะ เพจปลอมหลอกลงทุน
 
4 ข้อสังเกต เน้นๆ 
 
1. ดูยอด Like
เพจจริงมักจะมีคน Like เยอะ แต่เพจปลอม คน Like น้อย แค่หลักสิบหลักร้อย
 
2. ดู URL
เพจปลอมมักจะมี URL แปลกๆ 
 
3. สังเกตหน้า About
หน้า About ของเพจจริงมีรายละเอียดเกี่ยวกับธุรกิจและข้อมูลติดต่อชัดเจน
 
4. เครื่องหมายรับรองตัวตน
หรือ Verified Badge เป็นวงกลมสีน้ำเงิน เพจจริงส่วนใหญ่มี แต่เพจปลอม จะไม่มี
 
 
 

3 เรื่องต้องรู้ ไม่หลงกล แก๊งหลอกเปิดบัญชีลงทุน

3 เรื่องต้องรู้ ไม่หลงกล แก๊งหลอกเปิดบัญชีลงทุน
 
เช็ค 3 สิ่งนี้ ก่อนจะคิดส่งข้อมูลส่วนตัวออกไป 
 
1. การเปิดบัญชีออนไลน์
• เปิดบัญชีกับผู้ประกอบธุรกิจ หรือ บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. เท่านั้น
• ไม่ส่งข้อมูลส่วนตัวหรือเปิดบัญชีผ่านบุคคลที่ไม่น่าเชื่อถือ
 
2. การโอนเงินเข้าบัญชีซื้อขาย
• โอนเงินลงทุนเข้าบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เท่านั้น
• ไม่ฝากหรือโอนเงินลงทุนเข้าบัญชีส่วนตัวของบุคคลเด็ดขาด
 
3. ช่องทางการซื้อขาย
• ดาวน์โหลด Application การลงทุนผ่านทาง App Store หรือ Google Play เท่านั้น 
• ไม่กดดาวน์โหลดโปรแกรมจากสิงก์ที่ไม่น่าเชื่อถือ
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด