กรมการแพทย์จึงเร่งขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ได้แก่
1. มะเร็งครบวงจร โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติและรพ.มะเร็งส่วนภูมิภาค โดย 100 วันแรกที่ต้องเร่งดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่าย คือ ส่งเสริมความรอบรู้ด้านโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทยให้แก่ประชาชนและผู้ป่วยมะเร็ง สนับสนุนให้ความร่วมมือในการฉีดวัคซีน HPV และการวินิจฉัยสนับสนุนการคัดกรองมะเร็งตับและท่อน้ำดีในพื้นที่เสี่ยง สนับสนุนการจัดตั้ง Cancer warrior ในโรคมะเร็งสำคัญ 5 ชนิด
2. “มินิธัญญารักษ์” ทุกจังหวัด โดยสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) และรพ. ธัญญารักษ์ส่วนภูมิภาค ในทุกจังหวัด เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการบำบัดรักษาที่มีมาตรฐาน ลดแออัด ลดเวลา ลดค่าใช้จ่าย บุคลากรมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ เฉพาะด้านการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
3. โครงการพระราชดำริ โดยสำนักนิเทศระบบการแพทย์และรพ. เฉพาะทางของกรมการแพทย์ ดำเนินโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ สนับสนุนงานด้านวิชาการและบริการทางการแพทย์และคุณภาพชีวิตผู้ต้องขัง และโครงการสนับสนุนด้านวิชาการและบริการทางการแพทย์เฉพาะทาง ภายใต้ศูนย์ประสานงานหน่วยแพทย์อาสามูลนิธิทพรัตนเวชชานุกูล (ส่วนกลาง)
4. กุฏิชีวาภิบาล ขับเคลื่อนโดยรพ. สงฆ์ ให้เปิดดำเนินการ เขตสุขภาพละ 1 แห่ง จำนวน 4 เขตสุขภาพ และมีพระคิลานุปัฏฐากที่ผ่านหลักสูตรการอบรมการดูแล พระภิกษุอาพาธระยะท้าย ครบทุกเขตสุขภาพ
5.ส่งเสริมการมีบุตร โดยขับเคลื่อนราชวิถี มีเป้าหมายที่สำคัญคือ เพิ่มจำนวนเด็กทารกแรกเกิดที่มีคุณภาพ พัฒนารูปแบบคลินิกส่งเสริมการมีบุตร พัฒนาบุคลากรทางการแพทย์เพื่อให้บริการคลินิกส่งเสริมการมีบุตร
6. Digital Health พัฒนางานดิจิตัล ได้แก่ ระบบ DMS PHR ประวัติสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคล ให้บริการแพทย์ทางไกลครบวงจร และ Smart Hospital
7. การแพทย์ปฐมภูมิ โดยรพ.ราชวิถี พัฒนาระบบ Virtual Hospital การให้บริการเจาะเลือดแบบไดร์ฟ ทรู (Drive Thru) และบริการตรวจเลือดใกล้บ้าน เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงบริการ และลดความแออัดในโรงพยาบาล
8. ด้านเพิ่มการเข้าถึงบริการในเขตเมือง รพ.กรุงเทพมหานคร 50 เขต 50 รพ. และปริมณฑล นำร่องที่เขตดอนเมืองและคุ้มเกล้า รวมถึงรพ. อำเภอเมืองเชียงใหม่ โดยรพ. ประสาทเชียงใหม่ร่วมกับเครือข่ายสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
9.พัฒนารพ. ชุมชนแม่ข่าย โดยการพัฒนาการดูแลระยะกลาง IMC(Intermediate Care) ในรพ. ชุมชนแม่ข่าย สร้างเครือข่าย IMC ทุกเขตสุขภาพ การพัฒนา cataract node (ศูนย์ผ่าตัดต้อกระจก)ในรพ. ชุมชนแม่ข่าย และการพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการและบริการผู้ป่วยด้านพัฒนาการเด็กในรพ. ชุมชนแม่ข่าย
10.สาธารณสุขชายแดนและพื้นที่เฉพาะ ได้แก่ การใช้อากาศยานไร้คนขับสนับสนุนภารกิจทางการแพทย์ สนับสนุนการคัดกรองเบาหวานจอประสาทตาด้วยระบบแปรผลภาพถ่ายจอประสาทตาด้วย AI
11. การสร้างขวัญและกำลังใจบุคลากร ได้แก่ DMS Family Care หน่วยบริการ Happy DMS(องค์กรแห่งความสุข) การประเมินบุคคลเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ 656 ตำแหน่ง มี CareD+ Team ทุกหน่วยบริการ
12. เศรษฐกิจสุขภาพ โดยสถาบันโรคผิวหนัง โดยการจัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานและรับรองคุณสมบัติเวชสำอาง เพื่อยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเวชสำอางของไทยรวมทั้งให้ผู้บริโภคได้ใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเวชสำอางของไทยที่มีคุณภาพสูงขึ้น และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งคลินิก Premium ทันตกรรม โดยสถาบันทันตกรรม เพื่อความสวยงามแบบครบวงจรที่มีคุณภาพ เป็นต้นแบบให้หน่วยงานอื่นโดยเฉพาะในพื้นที่เขตเศรษฐกิจได้ และยกระดับคุณภาพบริการทันตกรรมของประเทศไทย ประชาชนเข้าถึงบริการสถานพยาบาลที่มีคุณภาพมาตรฐาน
13. นักท่องเที่ยวปลอดภัย นักท่องเที่ยวได้รับการดูแลด้านการรักษาพยาบาลฉุกเฉินที่ได้มาตรฐานมีความปลอดภัย สะดวก รวดเร็ว ลดอัตราการตาย และเพิ่มโอกาสรอดชีวิต โดยมีการจัดอบรม การกู้ชีพแบบองค์รวมให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงให้ความรู้ในภาวะฉุกเฉินต่าง ๆ แก่นักท่องเที่ยว
ทั้งนี้ กรมการแพทย์ได้มีการกำหนดกิจกรรมพิเศษ (Event) ที่มีประโยชน์แก่ประชาชน อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีเพื่อให้ประชาชน สามารถเข้าถึงการบริการ รับทราบข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่ถูกต้องนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน