กรุงเทพมหานคร รายงาน
ผลการดำเนินงาน “คาราวานตรวจสุขภาพ ฟรี!” ทั่วกรุง 1 ล้านคน ด้านการตรวจคัดกรองสุขภาพประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ หลังผ่าน 60 วัน คือตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2566 ถึง 24 กุมภาพันธ์ 2567 (ปัจจุบัน) ผู้รับบริการทั้งหมด 58,171 คน พบว่า
- ผู้รับบริการเป็นเพศหญิง จำนวน 37,769 คน เพศชาย จำนวน 20,402 คน
- มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 45,485 คน ต่างจังหวัด จำนวน 12,449 คน
- เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) จำนวน 21,609 คน อายุ 35-49 ปี จำนวน 12,342 คน อายุ 50-59 ปี จำนวน 12,125 คน อายุ 15-34 ปี จำนวน 11,218 คน อายุ 6-14 ปี จำนวน 710 คน และ อายุ 0-5 ปี จำนวน 125 คน
- ใช้สิทธิการรักษาบัตรทอง จำนวน 32,055 คน ประกันสังคม จำนวน 14,353 คน และเบิกได้ จำนวน 7,363 คน
- มีผู้พิการและมีปัญหาด้านความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง จำนวน 994 คน
- ทั้งนี้ ผลการตรวจคัดกรองสุขภาพ พบว่าประชาชนมีภาวะสุขภาพปกติ จำนวน 13,968 คน เสี่ยงต่อการเจ็บป่วย จำนวน 43,531 คน และตรวจพบการป่วย จำนวน 8,926 คน
โครงการคาราวานตรวจสุขภาพฟรี 1 ล้านคน ของกรุงเทพมหานคร จัดขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อนำบริการการดูแลสุขภาพและการบริการสุขภาพ ไปสู่ประชาชนในกรุงเทพ โดยตั้งเป้าตรวจให้ครบ 1 ล้านคน ภายในเดือนมิถุนายน 2567 (โครงการเริ่มมาตั้งแต่ธันวาคม 2566) ประชาชนที่สนใจเข้ารับบริการ สามารถไปรับบริการได้ จากหน่วยบริการ ที่กทม. กำหนดไว้ ในหลายรูปแบบ
ประชาชนที่จะไปรับบริการ ได้ฟรี ใช้เพียงบัตรประชาชนใบเดียว ไปแสดง เท่านั้น
3 หน่วยตรวจสุขภาพ
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้จัดหน่วยบริการและทีมแพทย์ ออกให้บริการเชิงรุกถึงในชุมชน หมุนเวียน 50 เขต โดย 3 หน่วยตรวจสุขภาพ ดังนี้
1. หน่วยแพทย์และสาธารณสุขเคลื่อนที่
ให้บริการทุกวันศุกร์
- คัดกรองเบาหวาน และความดัน
- ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ
- ออกเอกสารรับรองความพิการ
- ขบวนรถสุขภาพเคลื่อนที่ ได้แก่ รถเอกซเรย์ รถทันตกรรม รถคัดกรองมะเร็งสตรี
- รถคัดกรองจอประสาทตา รถคลายเครียด รถตรวจคุณภาพอาหาร
- ทำหมัน ฉีดวัคซีน ฉีดไมโครชิป ให้กับแก๊งสี่ขาน้องหมา น้องแมว
2. รถตรวจสุขภาพเคลื่อนที่
ให้บริการทุกวันพุธ เดือนละ 2 ครั้ง
- ตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดัน
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
- เอกซเรย์ปอด
- ตรวจสุขภาพฟัน
- ตรวจเต้านม มะเร็งปากมดลูก
- ตรวจจอประสาทตา
- ให้คำปรึกษาสุขภาพจิต
3. หน่วยตรวจสุขภาพเคลื่อนที่
โดยศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง
- ตรวจเช็กเบาหวานและความดันโลหิต
- ประเมินความเครียด ภาวะซึมเศร้า
- ประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง
- ประเมินเรื่องบุหรี่และสารเสพติด
- ให้คำปรึกษาแนะนำในการตรวจสุขภาพเพิ่มเติม เช่น มะเร็งเต้านมและปากมดลูก เอกซเรย์ปอด ตรวจจอประสาทตา และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ตรวจที่ไหน
ตรวจแล้วไปไหน
ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลกลาง BKK Dashboard ซึ่งเชื่อมต่อกับ Digital Health Book ในแอป หมอ กทม. นั่นเอง! เพื่อให้ประชาชนสามารถดูข้อมูลสุขภาพของตัวเองได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ต้องพกเอกสารสุขภาพให้ยุ่งยาก และในขณะเดียวกันภาครัฐและโรงพยาบาลก็มีข้อมูลสำหรับติดตามสอบถามคนไข้ และ Big Data ในการนำไปวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อวางแผนนโยบายในระยะยาวอีกด้วย
กรุงเทพมหานคร เชิญชวนคุณในฐานะคนกรุงเทพ มาเป็น หนึ่งใน 1 ล้านคน ด้วยกัน