ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กทม. Kick off กิจกรรมรณรงค์ เก็บให้เกลี้ยง ไม่เลี้ยงลูกน้ำยุง 50 เขต

กทม. Kick off กิจกรรมรณรงค์ เก็บให้เกลี้ยง ไม่เลี้ยงลูกน้ำยุง 50 เขต HealthServ.net
กทม. Kick off กิจกรรมรณรงค์ เก็บให้เกลี้ยง ไม่เลี้ยงลูกน้ำยุง 50 เขต ThumbMobile HealthServ.net

กิจกรรมรณรงค์ Kick Off 2567 "เก็บให้เกลี้ยง ไม่เลี้ยงลูกน้ำยุง" ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จัดโดยสำนักอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยการบรูณาการความร่วมมือจากสำนักงานเขต ทั้ง 50 เขต ร่วมกับภาคประชาชน

           กิจกรรม Kick off “เก็บให้เกลี้ยง ไม่เลี้ยงลูกน้ำยุง” กรุงเทพมหานคร  เริ่มขึ้นครั้งแรก เมื่อ วันที่ 3 มีนาคม 2566  ในพื้นที่เขตดินแดง และมีเป้าหมายดำเนินการจนครบ 50 เขต 

           การดำเนินกิจกรรมในลักษณะการบรูณาการความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขต ทั้ง 50 เขต ร่วมกับภาคประชาชน ตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรค ดังนี้
 
           1. วางแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม Big Cleaning ร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุข
 
           2. กำหนดและดำเนินการจัดการสิ่งแวดล้อม Big Cleaning และสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลายในหน่วยงาน ทุกวันศุกร์อย่างต่อเนื่อง
 
           3. ประชาสัมพันธ์การป้องกัน และอาการสงสัยโรคไข้เลือดออกผ่านช่องทาง และสื่อสารความเสี่ยงอาการสงสัยโรคไข้เลือดออก ได้แก่ ไข้สูงมากกว่า 2 วัน ให้รีบไปพบแพทย์ที่สถานพยาบาล
 
           4. ให้เปิดศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินโรคไข้เลือดออกเขต (Emergency Operation Center : EOC) ในพื้นที่เขตที่เป็นพื้นที่สีม่วง


เกี่ยวกับโครงการ

            ที่มาขอโครงการ เกิดจากข้อมูลด้านระบาดวิทยาที่พบว่า ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนมกราคม 2566 พบผู้ป่วยจำนวน 1,102 ราย

           ทำให้ กรุงเทพมหานคร กลายเป็นพื้นที่ที่มีจำนวนผู้ป่วยมากที่สุดของประเทศ

            สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ที่มีหน้าที่โดยตรง จึงต้องเร่งแก้ไข โดยแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อนำโดยยุงลายที่ได้ผลดีที่สุด คือ การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างจริงจังและต่อเนื่องควบคู่กับการป้องกันยุงกัด และบูรณาการภาคปฏิบัติ ผ่าน 50 เขต ผ่านความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

กำหนดการกิจกรรมเก็บให้เกลี้ยง ไม่เลี้ยงลูกน้ำยุง ปี 2567

 
 
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด