ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ประวัติความเป็นมาโรงพยาบาลบึงกาฬ และระดับสถานบริการตาม service plan

ประวัติความเป็นมาโรงพยาบาลบึงกาฬ และระดับสถานบริการตาม service plan Thumb HealthServ.net
ประวัติความเป็นมาโรงพยาบาลบึงกาฬ และระดับสถานบริการตาม service plan ThumbMobile HealthServ.net

โรงพยาบาลบึงกาฬ เริ่มต้นจากการเป็นสุขศาลาเมื่อปี 2475 ต่อมาย้ายมาเป็นสถานีอนามัยเมื่อปี 2497 ณ ตำแหน่งที่ตั้งของโรงพยาบาลบึงกาฬในปัจจุบันสืบมา กระทั่งปี 2554 ได้รับการยกฐานะให้เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ประจำจังหวัดบึงกาฬ ดามพระราชบัญญัติ การจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬปี 2554 ปัจจุบันเป็นโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ 200 เตียง

การจัดระดับสถานบริการตาม Service plan ของจ.บึงกาฬ

 
จ.บึงกาฬ มีจำนวนโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง จำแนกรายอำเภอ จังหวัดบึงกาฬ (ข้อมูลปีงบประมาณ 2562)  ดังนี้
 
โรงพยาบาลทั่วไป ระดับทุติยภูมิ จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ รพ.บึงกาฬ 200 เตียง
 
โรงพยาบาลชุมชน แม่ข่าย  ระดับทุติยภูมิ จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ รพ.เซกา 120 เตียง
 
โรงพยาบาลชุมชน ขนาดกลาง  ระดับทุติยภูมิ จำนวน 5  แห่ง ได้แก่ รพ.บึงโขงหลง รพ.ศรีวิไล รพ.พรเจริญ
รพ.โซ่พิสัย และรพ.ปากคาด ทั้งหมดเป็นรพ.ขนาด 30 เตียง
 
โรงพยาบาลชุมชน ขนาดเล็ก ระดับทุติยภูมิ จำนวน 5  แห่ง ได้แก่ รพ.บุ่งคล้า (10 เตียง)
 
ระดับปฐมภูมิ 
แบ่งเป็น 
1. ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง รพ.บึงกาฬ 1 แห่ง และ รพ.สต.ท่าสะอาด 
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 61 แห่ง แบ่งเป็น ขนาดใหญ่ 7 แห่ง กลาง 45 แห่ง เล็ก 9 แห่ง
ประวัติความเป็นมาโรงพยาบาลบึงกาฬ และระดับสถานบริการตาม service plan HealthServ
 
 

ประวัติความเป็นมาโรงพยาบาลบึงกาฬ

 
พ.ศ. 2475 
กระทรวงสาธารณสุขได้ทำการก่อสร้างสุขศาลาชั้น 2 ขึ้นที่ด้านหลังตลาดสดปัจจุบัน โดยมีนายขัน ทศประสิธิ์ เป็นอนามัยอำเภอคนแรก
 
พ.ศ. 2497
ได้ก่อสร้างสถานีอนามัยชั้น 1 ขึ้นบริเวณที่ตั้งโรงพยาบาลบึงกาฬปัจจุบันนี้ โดยมีนายแพทย์ชิน ยุวชิต เป็นนายแพทย์หัวหน้าสถานีอนามัย นายมงคล ประเสริฐวง เป็นอนามัยอำเภอ
 
พ.ศ. 2502-2504
นายแพทย์ปัญญา รื่นวงษา มาเป็นหัวหน้าสถานือนามัย
 
พ.ศ. 2505-2508
นายแพทย์อาภรณ์ เลาห์วิไล เป็นหัวหน้าสถานีอนามัย
 
พ.ศ. 2508-2509
นายแพทย์สุรีย์ ก้อนเทียน เป็นหัวหน้าสถานีอนามัย
 
พ.ศ. 2510-2511
นายแพทย์ประวัติ กิจเจริญ เป็นหัวหน้าสถานีอนามัย
 
พ.ศ. 2511-2512
นายแพทย์มารุต วันแต่ง เป็นหัวหน้าสถานีอนามัย
 
พ.ศ.2513-2514
พันตรีนายแพทย์สำรวย เจิมมงคล เป็นหัวหน้าสถานีอนามัยใต้  2 ปี ก็ถึงแก่กรรมด้วยโรคตับที่โรงพยาบาลรามาธิบคื
 
พ.ศ. 2514-2516
นายแพทย์ประสงค์ โพดาพล ได้ย้ายมารับตำแหน่งเป็นหัวหน้าสถานีอนามัยแทน ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับกระทรวงสาธารณสุขได้อนุมัติเงินเพื่อก่อสร้างศูนย์การแพทย์และอนามัยชนบทขึ้น ซึ่งก็คือโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง และนายแพทย์ประสงค์ก็ย้ายทำให้โรงพยาบาลขาดแพทย์
 
พ.ศ. 2517
ช่วงปลายปีงบประมาณ กระทรวงสาธารณสุขก็ยกระดับจากศูนย์การแพทย์และอนามัยชนบท ให้เป็นศูนย์การแพทย์และอนามัย  โดยมีนายเสงี่ยม พละไกร รักษาการแทนอนามัยอำเภอ ทำการแทนนายแพทย์หัวหน้าสถานีอนามัยชั้น 1 อยู่ 1ปี กีมีนายหนูไกร อิทรปพงษ์ เป็นสาธารณสุข
 
พ.ศ. 2518
นายแพทย์ชุมพล พัวรัตน์อรุณกร ซึ่งประจำที่โรงพยาบาลโพนพิสัย ได้มาออกคลินิกเคลื่อนที่ แทนนายแพทย์ที่ขาดไป โดยเฉพาะวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ และขณะนั้นกระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อสร้างโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง และบ้านพักจำนวนหนึ่ง ครั้นพอถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2519 นายแพทย์เกียงศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์ ได้มาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบึงกาฬเป็นคนแรก  และมีนางประเพ็ญ เมฆวิลัย เป็นหัวหน้าพยาบาลคนแรก และได้ทำพิธีเปิดโรงพยาบาลบึงกาฬเป็นครั้งแรก เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง ในวันที่ 11 เมษายน 2523 และถือเป็นวันเกิดของโรงทยาบาลในเวลาต่อมา
 
พ.ศ. 2527 โรงพยาบาลบึงกาฬใด้รับการยกฐานะให้เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง
 
พ.ศ. 2636
ได้รับการยกฐานะให้เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียง มีการก่อสร้างอาคารและขยายตึกต่างๆ เช่น อาคารผู้ป่วยนอก อาคารผู้ป่วยใน
 
พ.ศ. 2547
กระทรวงสาธารณสุขได้สนับสนุนงบประมาณก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุฉุกเฉิน 5 ชั้น ซึ่งแล้วเสร็จและสามารถเปิดใช้ได้อีก 5 ปีต่อมา
 
พ.ศ. 2549
ได้รับอนุมัติงบสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุขในการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใน 6 ชั้น
 
พ.ศ. 2554 
วันที่ 23 มีนาคม 2554 ได้รับการยกฐานะให้เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ประจำจังหวัดบึงกาฬ ดามพระราชบัญญัติ การจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬปี 54
 
พ.ศ. 2554-2558
นายแพทย์ชาญ ตันติวราภรณ์ เป็นผู้อำนวยการ
 
พ.ศ. 2558-2559
นายแพทย์สุพจน์ มังกร เป็นผู้อำนวยการ์โรงพยาบาล
 
พ.ศ. 2560-2561  
นายแพทย์ณรงค์ ธาดาเดช เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล
 
พ.ศ. 2561-2562 
แพทย์หญิงนาตยา มิลส์ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล
 
พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน 
นายแพทย์กมล แซ่ปึง เป็นผู้อนวยการโรงพยาบาล
*9 ต.ค. 63 ถึง ปัจจุบัน 

ประวัติจังหวัดบึงกาฬ

 
อำเภอบึงกาฬ (ที่ตั้งจังหวัดบึงกาฬ) เดิมเป็นตำบลหนึ่งในเขตการปกครองของอำเภอชัยบุรี จังหวัด นครพนม ซึ่งมีที่ว่าการอำเภอ ตั้งอยู่ที่บริเวณปากน้ำสงคราม ต่อมาไม่ทราบชัดว่าปีใด ทางราชการได้ย้ายที่ว่า การอำเภอมาตั้งที่บึงกาญจน์ริมฝั่งแม่น้ำโขง ตรงข้ามเมืองปากซัน แขวงบลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวปี พ.ศ.2459 ทางราชการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ และโอนการปกครองอำเภอชัยบุรีมา ขึ้นกับจังหวัดหนองคาย ส่วนบริเวณที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอชัยบุรีเดิมนั้น ทางราชการยุบมาเป็นตำบลอยู่ในเขต การปกครอง ของอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม พ.ศ.2475 ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยท่านหนึ่งเดินทาง มาตรวจราชการที่อำเภอชัยบุรี พบว่า หมู่บ้านบึงกาญจน์ มีหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง กว้างประมาณ 160 เมตร ยาวประมาณ 3,000 เมตร ชาวบ้าน เรียก "บึงกาญจน์" เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ทางการจึงเปลี่ยนชื่ออำเภอ ชัยบุรีเป็น "อำเภอบึงกาญจน์" ตั้งแต่ นั้นมา ต่อมาปี พ.ศ.2477 ทางการได้เปลี่ยนชื่อ อำเภอบึงกาญจน์ เป็น" อำเภอบึงกาฬ" เพื่อความสะดวกและ เข้าใจง่าย ต่อมาได้แยกอำเภอเซกา อำเภอพรเจริญ อำเภอศรีวิไล และ อำเภอบุ่งคล้า ออกจากอำเภอบึงกาฬ ตามลำดับ จนกระทั่งในวันที่ 23 มีนาคม 2554 มีพระราชบัญญัติ ตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ.2554 ประกอบด้วย 8 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอ โซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล

โรงพยาบาลบึงกาฬ

255 ม.1 ต.บึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ 38000
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด