ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อนุมูลอิสระคืออะไร

อนุมูลอิสระคืออะไร

อนุมูลอิสระคืออะไร

ปัจจุบันนี้มีคนพูดถึงคำ ๆ นี้กันมาก เพราะเจ้าสารตัวนี้อาจจะถือได้ว่าเป็นต้นตอของปัญหาที่เลวร้ายทั้งหลายภายในร่างกายคนเรา ไม่ว่าโรคหัวใจ โรคมะเร็ง ความแก่ ความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ จะเห็นว่ายาบำรุงหรือสารอาหาร เครื่องสำอางต่าง ๆ เช่น จะบอกว่ามีส่วนผสมของวิตามินอี ซึ่งจัดเป็น antioxidant ที่สำคัญตัวหนึ่งเอาไว้คอยป้องกันผลเสียอันเกิดอนุมูลอิสระนั้นเอง

แล้วอนุมูลอิสระมาจากไหน และเกิดขึ้นได้อย่างไร ? คำตอบก็คือ ในกระบวนการเผาผลาญสารอาหารของร่างกายซึ่งมีความจำเป็นต้องอาศัยออกซิเจนช่วย จะเกิดผลพลอยได้ (น่าจะเรียกว่าพลอยเสียมากกว่า) คือ ออกซิเจนที่มีประจุลบ (O2) ซึ่งก็คืออนุมูลอิสระ (free radicals) สารตัวนี้นอกจากจะรวมตัวกับ LDL ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังสามารถไปรวมตัวกับสารบางชนิดในร่างกายเรา แล้วก่อให้เกิดเป็นสารพิษที่ทำลายเนื้อเยื่อ หรืออาจไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางพันธุกรรมภายในเซลล์ ทำให้เซลล์ที่ปกติแปรสภาพ ไปเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด ฟังดูแล้วน่ากลัวทีเดียว

ที่สำคัญอาหารที่มักจะเป็นต้นตอของอนุมูลอิสระมักจะเป็นของโปรดของหลาย ๆ ท่าน คืออาหารพวก ปิ้ง ย่าง เผา พวกเนื้อกรอบ เกรียมไหม้ ซึ่งก็ต้องพยายามลด ละ เลิก กันเอาเอง

มีสารต้านอนุมูลอิสระที่มักถูกแนะนำอยู่สามตัวด้วยกัน คือ วิตามิน อี วิตามิน ซี และเบต้าคาโรทีน มีบริษัทยาหัวใสอาศัยจังหวะที่คนรักตัวกลัวโรคภัยมีมากขึ้น พากันนำเสนอในรูปของอาหารเสริมนา ๆ ชนิด ทำให้มีผู้หันมาบริโภคผลิตภัณฑ์เหล่านี้กันอย่างมากมาย ส่งผลให้คนที่ยังไม่ได้ซื้อมาบริโภคชักจะใจไม่ดี ทั้ง ๆ ที่อันที่จริงก็ยังไม่มีข้อมูลยืนยันได้แน่ชัดว่าจะได้ประโยชน์จริงหรือไม่

ข่าวดีสำหรับผู้ที่ไม่อยากทานยา มีการศึกษาที่ทำให้หญิงวัยหมดประจำเดือนซึ่งรับประทานอาหารที่มีอุดมด้วยวิตามิน อี เช่น ถั่ว งา และน้ำมันพืช มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหัวใจลดลงถึง 62%

ถึงตรงนี้ก็อาจสรุปว่าวิตามินหรือสารอาหารที่ได้จากธรรมชาตินั่นเองที่ช่วยเราให้ปลอดจากพิษภัยของอนุมูลอิสระ ทานผักต่างๆสลับสับเปลี่ยนกันอย่างสม่ำเสมอ และไม่ต้องตกเป็น “ทาสยาบำรุง” อย่างที่หลายคนเป็นกันอยู่

บทความโดย

นพ.วรงค์ ลาภานันต์
อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ รพ.ภูมิพล
แพทย์ที่ปรึกษาศูนย์หัวใจ รพ.วิภาวดี

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด