ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ทำความรู้จักกล้ามเนื้อแกนกลาง! (Core muscle) จุดเริ่มต้นโรคกระดูกสันหลัง หากละเลย

ทำความรู้จักกล้ามเนื้อแกนกลาง! (Core muscle) จุดเริ่มต้นโรคกระดูกสันหลัง หากละเลย HealthServ.net
ทำความรู้จักกล้ามเนื้อแกนกลาง! (Core muscle) จุดเริ่มต้นโรคกระดูกสันหลัง หากละเลย ThumbMobile HealthServ.net

แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังเตือน หากพบว่าปวดหลังเรื้อรัง นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่ากล้ามเนื้อแกนกลาง หรือ “Core Muscle” ของคุณกำลังไม่แข็งแรง ซึ่งปัจจัยนี้อาจส่งผลต่อการเป็นโรคกระดูกสันหลังได้ในระยะยาว

 
ปัญหาปวดหลังที่พบบ่อยมักจะมาจากกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวไม่แข็งแรง โดยกล้ามเนื้อแกนกลางทำหน้าที่สร้างความมั่นคงให้กับร่างกายและกระดูกสันหลัง ทั้งในขณะที่ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและหยุดนิ่ง เพราะฉะนั้นการออกกำลังกายที่เน้น core muscle ถือเป็นสิ่งที่ควรทำ หากคุณจะเริ่มต้นออกกำลังกายและดูแลสุขภาพ เนื่องจากเป็นกล้ามเนื้อที่ทำให้ร่างกายทรงตัวได้ดี ลดอาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายอื่นๆ และยังช่วยในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การยืน การเดิน การนั่ง ล้วนแล้วแต่ใช้กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวทั้งสิ้น
 
 
ทำความรู้จักกล้ามเนื้อแกนกลาง! (Core muscle) จุดเริ่มต้นโรคกระดูกสันหลัง หากละเลย HealthServ
 
 
นพ.ธนวัฒน์ อุณหโชค  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ  เผยว่ากล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (core muscles) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ใกล้กับแกนกลางของลำตัว ทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหวกระดูกสันหลัง และก่อให้เกิดกิจกรรมต่างๆ เช่น การเอี้ยวตัว การยกของ หรือการหันหลังกลับไปมองวัตถุ นอกจากนี้ในการเคลื่อนไหวแขนหรือขา กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวยังมีหน้าที่ในการทรงท่า ทำให้แกนกลางลำตัวอยู่นิ่ง เพิ่มความมั่นคงให้กับกระดูกสันหลัง ช่วยให้การเคลื่อนไหวไม่ว่าจะเป็นการเดินหรือวิ่งทำได้อย่างราบรื่น ความสัมพันธ์ของโครงสร้างต่างๆ ในร่างกาย อันเนื่องมาจากกล้ามเนื้อมีการเชื่อมต่อกันด้วยพังผืด ดังนั้นหากกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวอ่อนแรงหรือไม่ยืดหยุ่น จะทำให้กำลังของกล้ามเนื้อแขนหรือขาลดลงในขณะทำกิจกรรมต่างๆ และในทางกลับกัน หากกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวแข็งแรงก็สามารถเพิ่มพละกำลังให้กับกล้ามเนื้อแขนหรือขาได้
 
 
 
อย่างไรก็ตามกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวที่แข็งแรงจะเปรียบเสมือนการล็อคกระดูกสันหลังแบบรอบทิศทาง 360 องศา ทำให้ในขณะที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวจะคอยพยุงกระดูกสันหลังให้อยู่ในแนวที่ถูกต้อง หากเรามีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะทำให้เราทรงท่าหรือเคลื่อนไหวได้อย่างสมดุลและมั่นคง ท่าทางการวางตัวของร่างกายจะอยู่ในลักษณะที่ถูกต้อง ทำให้จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม อันเป็นการลดแรงกระทำต่อกระดูกสันหลัง และยังสามารถลดอาการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อและโครงสร้างต่างๆ ของกระดูกสันหลังได้ ผลของการมีกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวที่แข็งแรงยังช่วยให้การทำงานของแขนและขาในขณะทำกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ทำให้นักวิ่งมีช่วงก้าวเท้าที่ยาวขึ้น นักกอล์ฟสามารถหวดวงสวิงได้ดีขึ้นเป็นต้น
 
 
ทำความรู้จักกล้ามเนื้อแกนกลาง! (Core muscle) จุดเริ่มต้นโรคกระดูกสันหลัง หากละเลย HealthServ
 
 
ทั้งนี้กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวที่แข็งแรงสามารถช่วยลดอาการปวดหลังเรื้อรังได้ เพราะอาการปวดหลังเรื้อรังเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อบริเวณหลังและกล้ามเนื้อหน้าท้องก็เป็นอีกหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดอาการปวดได้ จากผลการศึกษาพบว่าการเพิ่มความแข็งแรงและความทนทานให้กับกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวสามารถช่วยลดอาการปวดหลังเรื้อรังและอาการปวดหลังอันเนื่องมาจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้
 
 
 
โดยสรุปคือ กล้ามเนื้อแกนกลาง (core muscles) ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกระดูกสันหลัง เพราะเมื่อมีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อแกนกลางก็จะมีอาการตามไปด้วย ดังนั้นกล้ามเนื้อแกนกลางจึงเป็นส่วนที่สำคัญในการรักษาโรคกระดูกสันหลัง ไม่ว่าจะเป็นโรคกระดูกสันหลังเสื่อม หมอนรองกระดูกปลิ้น หรือหมอนรองกระดูกแตกจากภาวะกระดูกพรุน หลังจากการรักษาโรคกระดูกแล้วผู้ป่วยจำเป็นต้องมาดูแลในส่วนของกล้ามเนื้อแกนกลางควบคู่กันไปด้วยจึงจะเป็นการรักษาที่ยั่งยืน
 
 
 
อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายในส่วนของกล้ามเนื้อแกนกลาง หรือ Core Muscles  ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริม สามารถทำได้บนพื้นหรือเสื่อ ในขณะออกกำลังกายควรหายใจเข้าออกอย่างผ่อนคลายและสังเกตความตึงบริเวณกล้ามเนื้อหน้าท้อง หากออกกำลังกายเป็นครั้งแรกหรือไม่ได้ออกกำลังกายมาเป็นเวลานาน ควรเริ่มจากท่าพื้นฐานก่อน และเมื่อร่างกายแข็งแรงมากขึ้น จึงค่อยเพิ่มระดับของการออกกำลังกายที่หนักขึ้น
 
หากท่านไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไร สามารถเข้ามาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการสร้างกล้ามเนื้อแกนกลางได้ที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ
 
 
 
โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ
ปรึกษา โทร 02-0340808
ทำความรู้จักกล้ามเนื้อแกนกลาง! (Core muscle) จุดเริ่มต้นโรคกระดูกสันหลัง หากละเลย HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด