“
สำหรับโครงการ BKK Food Bank เป็นการนำคนที่มีเยอะและอยากแบ่งปันมาเจอคนที่ยังขาด โดยกรุงเทพมหานครตั้งเป้าหมาย BKK Food Bank Center หรือธนาคารอาหาร ให้ครบทั้ง 50 เขต ตอนนี้มีแล้ว 33 เขต” ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวในงาน "
เปลี่ยนปลาหมอคางดำ เป็นเมนูเด็ดสู่กลุ่มเปราะบาง" ที่จัดขึ้นไปเมื่อวันที่ 19 กรกฏาคม 2567 ที่ผ่านมา
ความเป็นมาโครงการ BKK Food Bank
ปัจจุบันในกรุงเทพมหานครยังมีประชาชนกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ด้อยโอกาส ผู้มีรายได้น้อยหรือตกงาน ตลอดจนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ที่ยังขาดแคลนอาหารและเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกันก็พบว่า 1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิต กลายเป็นอาหารส่วนเกิน (Food Surplus) และถูกทิ้งเป็นขยะทุกวัน กรุงเทพมหานครจึงได้จัดทำโครงการ BKK Food Bank ขึ้น ซึ่งนับเป็นต้นแบบแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้แก่คนเมือง (Food Safety) และสร้างกลไกส่งต่อความช่วยเหลือเพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนตามแนวคิด SDGs ในเป้าหมายที่ 2 Zero Hunger หรือยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
สรุปรายละเอียดโครงการ BKK Food Bank
อยากทำบุญนึกถึง BKK FOOD BANK CENTER คนให้อิ่มบุญ คนรับอิ่มท้อง
กรุงเทพมหานคร
ริเร่ิมโครงการ BKK Food Bank นำร่อง ใน 4 เขต ได้แก่ เขตห้วยขวาง เขตบางขุนเทียน เขตบางพลัด เขตพระโขนง
- โครงการพัฒนาต้นแบบ BKK Food Bank ส่งต่ออาหารให้กลุ่มเปราะบางอย่างเป็นรูปธรรม
- แก้ปัญหาอาหารส่วนเกิน โดยส่งต่อแก่ผู้ที่ขาดแคลน กลุ่มเปราะบาง กลุ่มคนจนเมือง หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติและสาธารณภัยในสถานการณ์ฉุกเฉิน
- สร้างกลไกส่งต่อความช่วยเหลือระหว่างผู้ให้และผู้รับอย่างยั่งยืน
- แก้ปัญหาอาหารเหลือทิ้ง (Food Waste)
- รวบรวมส่งต่อวัตถุดิบอาหารส่วนเกิน (Food Surplus) จาก ผู้บริจาค สู่ ผู้รับ
กลุ่มเป้าหมายที่โครงการนี้จะส่งต่ออาหารสิ่งของให้ ดังนี้
- กลุ่มผู้สูงอายุ
- กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง
- กลุ่มผู้พิการ
- กลุ่มเปราะบาง
- กลุ่มผู้ด้อยโอกาส
- กลุ่มประชาชนผู้มีรายได้น้อย
- กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ
โครงการ BKK Food Bank เชื่อว่าผู้รับทุกคนมีสิทธิเลือกสิ่งของที่ต้องการอย่างอิสระ ไม่ต่างจากการไปใช้จ่ายในมินิมาร์ททั่วไป แนวทางนี้ช่วยส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ช่วยให้ผู้รับรู้สึกมีคุณค่าและสามารถตัดสินใจเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับความต้องการของตัวเอง เพื่อให้ของบริจาคไม่เป็นของเหลือทิ้งอีกต่อหนึ่ง
ชอปอะไรได้บ้างใน BKK Food Bank
- อาหารแห้ง: ข้าวสาร อาหารกึ่งสำเร็จรูป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง
- ของใช้จำเป็น: สบู่ แชมพู ยาสีฟัน ทิชชู่เปียก ยาพาราเซตามอล
ขั้นตอนการชอปที่ BKK Food Bank
- รายงานตัวรับพาสปอร์ตและคูปอง เพื่อใช้ในการคำนวณวันเข้ารับบริการ
- เลือกสินค้าตามความต้องการ
- รับสินค้ากลับบ้าน
มากกว่าแค่การบริจาค เพราะ BKK Food Bank ไม่ได้เป็นเพียงจุดรับอาหารเท่านั้น แต่เป็นการต่อยอดนโยบายของ กทม. รวมถึงเพิ่มการเข้าถึงสวัสดิการ โดยการเป็นจุดเชื่อมต่อให้ผู้รับเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสวัสดิการรัฐจากสำนักงานเขต พร้อมขยายศูนย์ให้บริการอีก 50 เขตในอนาคต
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการให้ ได้แล้ววันนี้ ที่ 4 เขตนำร่อง ได้แก่ เขตห้วยขวาง เขตพระโขนง เขตบางขุนเทียน เขตบางพลัด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม เขตห้วยขวาง โทร. 0 2275 4234
- ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม เขตบางขุนเทียน โทร. 0 2416 5406
- ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม เขตพระโขนง โทร. 0 2332 9453
- ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม เขตบางพลัด โทร. 0 2434 6370
รูปแบบการดำเนินการ 3 รูปแบบ
ในการดำเนินการ BKK Food Bank ระยะแรก ได้มีการนำร่องในพื้นที่ 4 เขต ประกอบด้วย เขตบางขุนเทียน เขตห้วยขวาง เขตบางพลัด เขตพระโขนง และตั้งเป้าหมายดำเนินการให้ครบทั้ง 50 เขต ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 33 เขต ซึ่งในส่วนของการดำเนินการ BKK Food Bank เขตบางขุนเทียน ได้แบ่งรูปแบบการดำเนินการออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
รูปแบบที่ 1 BKK Food Bank Center (ธนาคารอาหาร) ซึ่งเป็นการดำเนินการรวบรวมอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภค จากผู้ที่อยากแบ่งปันให้ไปถึงผู้ที่ขาดแคลน ซึ่งเริ่มต้นได้รับการสนับสนุนจาก Lotus’s สาขาพระรามที่ 2 และผู้ประกอบการตลาดในพื้นที่เขต โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 22 มิ.ย. 65 จนถึงปัจจุบัน มีจำนวนผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือรวมทั้งสิ้น 3,500 ราย
ทั้งนี้ BKK Food Bank Center มีรูปแบบการดำเนินการลักษณะคล้ายร้านสะดวกซื้อ ณ บริเวณชั้น 1 สำนักงานเขตบางขุนเทียน เปิดให้บริการในทุกวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 10.00 - 12.00 น. มีการใช้ระบบแจกพาสปอร์ตสะสมแต้มแก่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มเปราะบาง ผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือผ่านระบบ E-Case และลูกจ้างที่มีรายได้น้อย จากนั้นกลุ่มเป้าหมายจะนำแต้มที่เขตมอบให้มาแลกอาหารหรือสิ่งของที่ต้องการกลับไป ซึ่งเขตได้เริ่มดำเนินการด้วยระบบพาสปอร์ตสะสมแต้มนี้เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 67 จนถึงปัจจุบัน มีกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับความช่วยเหลือรวม 227 ราย จากจำนวนกลุ่มเปราะบางที่สำรวจในชุมชน 639 ราย โดยเขตจะหมุนเวียนจนครบจำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดและดำเนินการสำรวจกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง
รูปแบบที่ 2 BKK Food Bank ส่งต่ออาหารส่วนเกิน (Food Surplus) ให้กลุ่มเปราะบางอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างเขต และมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) เริ่มดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 66 ถึงปัจจุบัน โดยนำอาหารที่ใกล้หมดอายุ แต่ยังไม่หมดอายุ ยังบริโภคได้มาส่งต่อ ทั้งนี้ มีเซเว่น อีเลฟเว่น เข้าร่วมจำนวน 9 สาขา และมีผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือรวมทั้งสิ้น 2,674 ราย จำนวนอาหาร 4,946 มื้อ รวมน้ำหนักอาหารที่บริจาค 1,177.82 กิโลกรัม ปริมาณคาร์บอนที่ลดได้ 2,979.88 kgCO2e (กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า)
รูปแบบที่ 3 กิจกรรม “BKT แบ่งกัน ปันสุข” ซึ่งเป็นการดำเนินการสนับสนุนอาหารสดพร้อมทาน อาทิ ข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว ขนม และเครื่องดื่ม เป็นจำนวนจาน/ชาม/แก้ว จากผู้ประกอบการในพื้นที่เขต โดยเขตจะแจกคูปองอาหารให้กลุ่มเป้าหมาย ทุกวันศุกร์ ซึ่งตัวคูปองสามารถนำมาแลกอาหารได้ภายในระยะเวลา 5 วันหลังจากวันที่ได้รับ ปัจจุบันมีร้านค้าภายในโรงอาหารเขตบางขุนเทียนและร้านค้าภายในตลาดนัดเขตบางขุนเทียนเข้าร่วมทั้งสิ้น 15 ร้าน ซึ่งถือเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับร้านค้าภายในสำนักงานเขตอีก 1 ช่องทาง โดยมีกลุ่มเป้าหมายได้รับความช่วยเหลือแล้วทั้งสิ้น 222 ราย จากจำนวนกลุ่มเปราะบางที่สำรวจในชุมชน 639 ราย ซึ่งผู้สนับสนุนจะโอนเงินให้กับร้านค้าตามจำนวนคูปองที่ได้รับแลก
*ภาพจาก
ช็อปอะไรได้บ้างที่ BKK Food Center ปัจจุบัน BKK Food Bank ที่สำนักงานเขตเปิดให้บริการแล้ว จำนวน 30 เขต ผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการจนถึงวันนี้ 18 กรกฎาคม 2567 สามารถส่งต่ออาหารบริจาคแก่กลุ่มเปราะบางได้ จำนวน 133,527.04 กิโลกรัม หรือ 247,752.48 มื้อ โดยมีผู้รับมอบอาหาร จำนวน 59,606 คน สามารถคำนวณเป็นปริมาณคาร์บอนที่ลดลง จำนวน 337,823.4 kgCO2e
กทม.กำลังขยาย BKK Food Bankให้ครบทั้ง 50 เขตต่อไปโดยในอนาคตอาจครอบคลุมไปถึงผู้ประสบอุบัติภัย และสาธารณภัยอีกด้วย
สรุปผลการดำเนินงาน BKK Food Bank (ถึงกรกฎาคม 2567)
ข้อมูลสรุปการดำเนินการโครงการ BKK Food Bank จากเพจชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (
5 กรกฎาคม 2567) ระบุว่า
- โครงการ Food Bank ธนาคารอาหารขึ้น โดยรวบรวมอาหาร เครื่องอุปโภค บริโภค จากผู้ที่อยากแบ่งปัน เพื่อนำไปมอบให้กับผู้ที่ขาดแคลน โดยเราจะจัดเป็นที่เก็บของคล้ายๆ ร้านสะดวกซื้อ และให้กลุ่มผู้เปราะบางที่อยู่ในฐานข้อมูลของแต่ละเขตมาเลือกของที่ต้องการ เช่น ข้าวสาร ไข่ น้ำปลา น้ำตาล เสื้อผ้า
- การรับสิ่งของจะใช้แต้มที่มอบให้มาแลก เช่น ได้คนละ 200 แต้ม ข้าวสาร 50 แต้ม น้ำตาล 20 แต้ม ปลากระป๋อง 15 แต้ม ทำให้เป็นการแบ่งปันตามความต้องการอย่างแท้จริง
- ปัจจุบันเปิดแล้ว 29 เขต โดยเขตที่ 30 (ดินแดง) จะเปิดพรุ่งนี้ (วันที่ 6 ก.ค. 67)
นอกจากเครื่องอุปโภคบริโภคแล้ว สำนักงานเขตยังมีการรับ - ส่งต่ออาหารส่วนเกิน (Food Surplus) จาก “ผู้บริจาค ตรงสู่ ผู้รับ” ในพื้นที่และให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางครอบคลุมทุกกลุ่ม โดยจะรับอาหารส่วนเกินจากผู้บริจาค สัปดาห์ละ 3 วัน (ทุกวันอังคาร พุธ พฤหัสบดี) และส่งตรงถึงมือผู้รับ เป็นการร่วมมือกับมูลนิธิ SOS ที่ช่วยประสานกับผู้บริจาคให้
- ปัจจุบันเริ่มดำเนินการแล้ว 37 เขต
- โครงการสามารถส่งต่ออาหารบริจาคได้ 152,175 กก. หรือ 639,136 มื้อ
- ผู้รับเป็น:
- ผู้พิการ 3,266 ราย
- ผู้สูงอายุ 23,078 ราย
- ผู้ป่วยติดเตียง 2,106 ราย
- คนไร้บ้าน 542 ราย
- ผู้ด้อยโอกาส 5,087 ราย
- เด็กในศูนย์ 2,517 ราย
- ประชาชน 18,059 ราย
- ประเภทอาหาร
- เบเกอรี่ 47,858 กก.
- ข้าว 27,802 กก.
- อาหารปรุงสุกพร้อมทาน 20,757 กก.
++ กิจกรรม BKK Food Bank ++
BKK Food Bank เขตห้วยขวาง
18 ต.ค. 66 ผู้ว่าชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ตรวจเยี่ยม BKK Food Bank เขตห้วยขวาง โดยมี นายประพฤทธ์ หาญกิจจะกุล สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตห้วยขวาง นายพรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารเขตห้วยขวาง และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกิจกรรม ณ สำนักงานเขตห้วยขวาง
"ในพื้นที่กรุงเทพฯ เรามีคนที่เป็นกลุ่มเปราะบางที่ต้องการอาหาร ต้องการความช่วยเหลือต่างๆ ขณะเดียวกันก็มีคนที่อยากจะช่วยเหลือคนที่เปราะบาง บางครั้ง 2 ฝ่ายไม่เจอกัน หรือมีการเจอกันแล้ว การแจกสิ่งของต่างๆ ยังไม่เป็นระบบ เช่น ใครมาก็หยิบของไปหมด ไม่มีเหลือให้คนข้างหลัง เราก็เลยลองคิดโครงการ Food Bank หรือเป็นธนาคารอาหาร แต่ไม่ใช่ประเภทอาหารอย่างเดียว มีอย่างอื่นด้วย และลองจัดสรรรูปแบบ ในอนาคตอาจจะให้ในรูปแบบของคูปองดิจิตอล หรือเป็นการ์ดที่คนเปราะบางสามารถมาเลือกมาช้อปปิ้งได้ หยิบของแล้วหักแต้ม เราก็เก็บข้อมูลและหากเขามีความเข้มแข็งขึ้นหลุดพ้นจากกลุ่มเปราะบางก็ไม่ต้องให้สิ่งของ ส่วนคนที่อยากจะบริจาคก็สามารถเอามาบริจาคที่ศูนย์ได้ เราก็ส่งต่อให้กับผู้ที่ขาดแคลน ทุกคนก็ได้อย่างเหมาะสม"
"โครงการนี้ไม่ใช้งบประมาณของหลวง แต่ขอความร่วมมือคนที่มีส่วนเกิน ต่อไปก็จะขยายไปถึงซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ อาหารที่ใกล้หมดอายุ ยังบริโภคได้ แต่ขายไม่ได้แล้ว แทนที่จะทิ้งเป็นอาหารเสีย ก็จะมาอยู่ที่ Food Bank คนที่มีความต้องการก็สามารถนำไปบริโภคได้ ต่อไปร้านอาหารที่เข้าโครงการ Food Bank อาจจะมีป้ายขอบคุณที่เข้าร่วมโครงการ โมเดลนี้จะเป็นโมเดลหนึ่งที่ทำที่นี่ และจะขยายผลต่อไปทั่วทั้งกรุงเทพมหานคร"
เลือกเสื้อผ้าสวยๆ ที่ BKK Food Bank สำนักงานเขตพระโขนง
ขยะเสื้อผ้า กำลังเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายหน่วยงานกำลังให้ความสำคัญ สำนักงานเขตพระโขนงก็เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ตระหนักถึงปัญหานี้ โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก บริษัท ยัสปาล จำกัด (มหาชน) บริจาคเสื้อผ้าบางส่วนเพื่อร่วมโครงการ BKK Food Bank ที่คราวนี้ ไม่ได้มาเพื่อแก้ปัญหาอาหารเหลือทิ้งอย่างเดียว แต่ยังช่วยแก้ปัญหาขยะจากเสื้อผ้าอีกด้วย
บรรยากาศการเลือกเสื้อผ้าที่สำนักงานเขตพระโขนง แม้จะไม่ได้มีผู้มารับบริการจำนวนมากนัก แต่มีหลายท่านที่เลือกหยิบเสื้อผ้ามือสองกลับไปใช้ เจ้าหน้าที่ระบุว่า "แม้จะไม่คึกคักมากนัก แต่ก็มีคนมาเลือกเสื้อผ้าบ้างเป็นระยะ ๆ ส่วนใหญ่ก็พอใจกับเสื้อผ้าที่เราคัดสรรไว้"
เมื่อสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่ดูแลส่วนของเสื้อผ้า ท่านบอกว่า "ที่ BKK Food Bank แห่งนี้ นอกจากจะมีอาหารและสิ่งของที่จำเป็นแล้ว เรายังมีจุดรับบริจาคเสื้อผ้าด้วย พวกเราจะจัดเก็บเสื้อผ้าที่ยังสามารถใช้งานได้ไว้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสเลือกหยิบไปใช้ฟรี ๆ"
"จริง ๆ แล้วการรับบริจาคเสื้อผ้าช่วยลดปัญหาขยะเสื้อผ้าได้เยอะมาก ถ้าเสื้อผ้าเหล่านี้ต้องทิ้งเป็นขยะก็จะเป็นภาระต่อสิ่งแวดล้อม การนำมาบริจาคจึงเป็นวิธีการหนึ่งในการช่วยลดปัญหาได้ พวกเราได้ร่วมมือกับหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการรับบริจาคเสื้อผ้า ผู้มาใช้บริการที่สำนักงานเขตก็มีสิทธิ์เลือกหยิบเสื้อผ้าเหล่านี้กลับไปใช้ฟรี ซึ่งก็มีผู้มาใช้บริการส่วนใหญ่พอใจมากเลยทีเดียว" เจ้าหน้าที่กล่าว
- หากท่านมีเสื้อผ้ามือสองที่ยังอยู่ในสภาพดี สามารถนำมาบริจาคได้ที่สำนักงานเขตพระโขนง ติดต่อ ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม เขตพระโขนง โทร. 0 2332 9453
- หรือหากท่านกำลังมองหาเสื้อผ้าราคาประหยัด สามารถมารับได้ที่สำนักงานเขตพระโขนงเช่นกัน
Timeline โครงการ BKK Food Bank
โครงการ BKK Food Bank กรุงเทพมหานคร เริ่มต้น เมื่อปี 2565 (2022) มีไทม์ไลน์เส้นทางการดำเนินงาน ดังนี้
ปี 2565
22 มิถุนายน 2565 กรุงเทพมหานคร เปิดกิจกรรมนำร่องโครงการ Food Bank
1 กรกฎาคม 2565 ประชุมหารือการจัดทำ Model โครงการ BKK Food Bank การนำเสนอข้อคิดเห็น ปัญหา และอุปสรรคจากการดำเนินโครงการ “BKK Food Bank” ของเขตต้นแบบที่เริ่มดำเนินการไปแล้ว 3 เขต ได้แก่ เขตบางขุนเทียน เขตพระนคร และเขตคลองเตย นำเสนอ 3 รูปแบบ ทั้งหมดจะนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมหัวหน้าหน่วยงานกรุงเทพมหานครในวันที่ 7 ก.ค.65 เพื่อเดินหน้าแนวทางการดำเนินการ BKK Food Bank 50 เขต
20 ธันวาคม 2565 นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานการประชุมชี้แจงโครงการพัฒนาต้นแบบ BKK Food Bank ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้บริหารสำนักพัฒนาสังคม ผู้บริหารเขตนำร่อง 10 เขต ผู้แทนมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ ประเทศไทย (Scholars of Sustenance Thailand: SOS Thailand) ผู้แทนมูลนิธิวีวี แชร์ (VV Share Foundation) และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องสุทัศน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เขตพระนคร ที่ประชุมได้มีมติสรุปแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาต้นแบบ BKK Food Bank ระบบส่งต่ออาหารให้กลุ่มเปราะบางอย่างเป็นรูปธรรม ปี 2566 โดยดำเนินการร่วมกับมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ และมูลนิธิวีวี แชร์ ร่วมกับผู้เข้าร่วมดำเนินการนำร่อง จำนวน 10 สำนักงานเขต ประกอบด้วย เขตบางแค เขตภาษีเจริญ เขตบางกอกน้อย เขตบางขุนเทียน เขตบางพลัด เขตคลองสาน เขตพระโขนง เขตคลองเตย เขตลาดกระบัง และเขตประเวศ โดยสำนักงานเขตนำร่องดำเนินการ ดังนี้ 1. แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินโครงการพัฒนาต้นแบบ BKK Food Bank ระบบส่งต่ออาหารให้กลุ่มเปราะบางอย่างเป็นรูปธรรม 2. ดำเนินงานตามโครงการฯ โดยมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ ดำเนินงานร่วมกับ 6 สำนักงานเขต คือ เขตภาษีเจริญ เขตบางแค เขตบางกอกน้อย เขตคลองสาน เขตบางขุนเทียน และเขตบางพลัด ส่วนมูลนิธิวีวี แชร์ ดำเนินการร่วมกับ 4 สำนักงานเขต คือ เขตลาดกระบัง เขตพระโขนง เขตประเวศ และเขตคลองเตย
ปี 2566
8 สิงหาคม 2566 นายพรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ติดตามโครงการ BKK Food Bank แจก passport จัดการอาหารส่วนเกิน (surplus) ส่งมอบข้าวสารอาหารแห้งให้แก่ประชาชนกลุ่มเปราะบาง ตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 3 พร้อมกับภาคีเครือข่าย LINE MAN จัดส่งอาหารให้กลุ่มเปราะบาง ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถเดินทางมารับด้วยตนเอง โดยมี ดร.ไพฑูรย์ งามมุข ผู้อำนวยการเขตห้วยขวาง นางสายทิพย์ สุคนธ์มณี และนายอุกฤษฏ์ องตระกูล ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตห้วยขวาง คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เขตห้วยขวาง เข้าร่วมให้การต้อนรับและนำเสนอข้อมูล ณ ศูนย์ BKK FOOD BANK เขตห้วยขวาง
11 กันยายน 2566 รองผู้ว่าฯศานนท์ เป็นประธานการประชุมตามโครงการพัฒนาต้นแบบ BKK Food Bank โดยมีนายพรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร รองปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสำนักพัฒนาสังคมและสำนักงานเขต ผู้แทน SOS, VV Share, Lotus, โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme : UNDP) ร่วมประชุม ณ ห้องนพรัตน์ ชั้น 5 ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เขตพระนคร
รองผู้ว่าฯศานนท์ กล่าวว่า โครงการ BKK Food Bank เป็นนโยบายที่ดำเนินการมา 1 ปี โดยใช้วิธีการในรูปแบบ Sandbox ทดลองก่อน สรุปเป็น 2 แบบ ส่วนที่ 1 คือ Food Surplus หรืออาหารส่วนเกิน ส่วนที่ 2 คือ Food Donation คือการบริจาคอาหาร สถิติการดำเนินงาน BKK Food Bank วันที่ 28 ก.พ.66 - 31 ส.ค.66 นํ้าหนักอาหารบริจาค 6,033.74 กิโลกรัม ปริมาณคาร์บอนที่ลดได้ 15,265.36 kgCO2e และรวมได้จํานวน 25,341.7 มื้อ ผู้รับมอบอาหารส่วนเกิน ประกอบด้วย ผู้พิการ 781 คน ผู้สูงอายุ 3,626 คน เด็ก1,375 คน ผู้ป่วยติดเตียง 457 คน คนไร้บ้าน 141 คน ผู้ด้อยโอกาส 912 คน ประชาชน 2,220 คน อื่นๆ 52 คน ประเภทอาหารเป็น อาหารปรุงสุกพร้อมทานมากที่สุด 1,880.58 กก. เบเกอรี่ 1,741.05 กก. ผักและผลไม้ 778.14 กก. ตามลำดับ
18 ตุลาคม 2566 ผู้ว่าชัชชาติ ตรวจเยี่ยม BKK Food Bank ณ สำนักงานเขตห้วยขวาง โดยมีนายประพฤทธ์ หาญกิจจะกุล สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตห้วยขวาง นายพรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารเขตห้วยขวาง และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกิจกรรม ผู้ว่าชี้แจงว่า "โครงการนี้ไม่ใช้งบประมาณของหลวง แต่ขอความร่วมมือคนที่มีส่วนเกิน ต่อไปก็จะขยายไปถึงซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ อาหารที่ใกล้หมดอายุ ยังบริโภคได้ แต่ขายไม่ได้แล้ว แทนที่จะทิ้งเป็นอาหารเสีย ก็จะมาอยู่ที่ Food Bank คนที่มีความต้องการก็สามารถนำไปบริโภคได้ ต่อไปร้านอาหารที่เข้าโครงการ Food Bank อาจจะมีป้ายขอบคุณที่เข้าร่วมโครงการ โมเดลนี้จะเป็นโมเดลหนึ่งที่ทำที่นี่ และจะขยายผลต่อไปทั่วทั้งกรุงเทพมหานคร"
19 ตุลาคม 2566 รองผู้ว่าฯศานนท์ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาต้นแบบ BKK Food Bank ส่งต่ออาหารให้กลุ่มเปราะบางอย่างเป็นรูปธรรม โดยมี นายเรอโน เมเยอร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme : UNDP) ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสำนักพัฒนาสังคม สำนักอนามัย ผู้บริหารเขตบางกอกน้อย ผู้แทนสำนักงานเขตนำร่องโครงการ BKK Food Bank และ BKK Food Center เจ้าหน้าที่โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme : UNDP) ผู้แทนหน่วยงานภาคเอกชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสุพรรณหงส์ ชั้น 3 สำนักงานเขตบางกอกน้อย
ประเด็นการประชุม 2 ประเด็นสำคัญคือ การส่งของถึงกลุ่มเปราะบางที่ทำให้สิ้นเปลืองในการดำเนินการในบางครั้ง ให้หาโมเดลใหม่ที่เหมาะสมเกี่ยวกับสถานที่ในการส่ง อีกประเด็นคือ โมเดลที่ให้กลุ่มเปราะบางมารับของเองที่ศูนย์ Food Bank อาจจะเป็นที่สำนักงานเขต วัด หรือสถานที่ต่างๆ ทั้งสองประเด็นต้องสรุปหาแนวทางที่เหมาะสมให้ได้ "เพื่อไม่ต้องเหนื่อยทั้งเขตที่นำของมาส่ง และไม่ต้องเหนื่อยทั้งผู้ให้ที่ต้องมาเลือกว่าจะต้องไปให้ที่ไหน"
27 – 29 พฤศจิกายน 2566 กรุงเทพมหานครจัดกิจกรรมการ ณ โรงแรมรอยัล ออร์คิด เชอราตัน เขตบางรัก เปิดตัวยุทธศาสตร์ City of Food นโยบายอาหารกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566-2570 ตามเครือข่ายกติกาสัญญานโยบายอาหารในเมืองมิลาน โดยมีบุคคลสำคัญร่วมงาน ได้แก่ นายเดวิด เดลี (Mr. David Daly) เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย นายเปาโล ดิโอนิซี (Mr. Paolo Dionisi) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิตาลีประจำประเทศไทย นางสาวอันนา สคาวุซโซ (Ms. Anna Scavuzzo) รองนายกเทศมนตรีนครมิลาน นายพาโบล กานดารา (Mr. Pablo Gandara) หัวหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างเมืองและภูมิภาคนานาชาติประจำภูมิภาคเอเชียและออสตราเลเชีย (โครงการ IURC Asia and Australasia) นายฟิลิปโป กาวาสเซนี (Mr. Filippo Gavazzeni) หัวหน้าสำนักงานเลขานุการเครือข่ายกติกาสัญญานโยบายอาหารในเมืองมิลาน (MUFPP) นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พญ.วันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร รักษาราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานคร นายพรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร (Chief Sustainability Officer: CSO) และผู้เกี่ยวข้องร่วมพิธีเปิด กิจกรรมประกอบด้วย 1. การนำเสนอนโยบายอาหารของกรุงเทพมหานคร 2. การเสวนา และการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) 3. การศึกษาดูงานการดำเนินงาน District Food Management Sandbox
ปี 2567
8 มีนาคม 2567 ผู้ว่าชัชชาติ ตรวจเยี่ยมโครงการ BKK Food Bank เขตพระโขนง โดยมี นายแสนยากร อุ่นมีศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม นางสายทิพย์ สุคนธ์มณี ผู้อำนวยการเขตพระโขนง ผู้บริหารสำนักพัฒนาสังคม ผู้บริหารเขตพระโขนง ร่วมตรวจเยี่ยมและรายงานผลการดำเนินการ ณ ศูนย์ BKK Food Center เขตพระโขนง ชั้น 1 สำนักงานเขตพระโขนง.
BKK Food Bank เขตพระโขนง ประกอบด้วย 1. อาหารส่วนเกิน (food Surplus) ดำเนินการร่วมกับมูลนิธิ สโกลารส์ ออฟซัสทีแนนซ์ (Scholars Of Sustenance : SOS Thailand) ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2566 ดำเนินการสัปดาห์ละ 3 วัน (อังคาร พุธ และพฤหัสบดี) ส่งต่ออาหารแก่กลุ่มเปราะบางในพื้นที่ชุมชนที่จัดตั้งตามระเบียบกรุงเทพมหานคร 45 ชุมชน และอีก 15 ชุมชนที่ไม่ได้จดทะเบียน, เจ้าหน้าที่ภาคสนามของสำนักงานเขตพระโขนง และเด็กนักเรียนด้อยโอกาส โดยปี 2566 เริ่มดำเนินการ 22 ส.ค. 66 – 30 ก.ย. 66 มีเป้าหมายดำเนินการ 18 ครั้ง ดำเนินการ 18 ครั้ง (คิดเป็น 100 %) ปี 2567 เริ่มดำเนินการ 1 ต.ค. 66 – 30 ก.ย. 67 มีเป้าหมายการดำเนินงาน 139 ครั้ง ดำเนินการแล้ว 60 ครั้ง (คิดเป็น 43.17 %) ซึ่งจากผลการดำเนินการตั้งแต่ 22 ส.ค. 66 – 29 ก.พ. 2567 รวมส่งต่ออาหารแล้ว 3,411 ราย คิดเป็น 13,295.06 มื้ออาหาร รวมน้ำหนักอาหารส่วนเกิน 3,165.49 กิโลกรัม สามารถลดปริมาณคาร์บอน 8,008.69 คาร์บอนไดออกไซค์ (TCO2e)
2. อาหารบริจาค (Food Donation) ส่งมอบอาหารแก่กลุ่มเปราะบาง ดำเนินการร่วมกับเครือข่ายผู้ประกอบการในพื้นที่ เช่น วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร วัดธรรมมงคลเถาบุญญนนท์พระวิหาร และบริษัท จัสปาล จำกัด (มหาชน) เป็นต้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มเปราะบางในชุมชนจดทะเบียน 45 ชุมชน ในชุมชนไม่จดทะเบียน 15 ชุมชน กลุ่มคนงานภาคสนามของสำนักงานเขตพระโขนง กลุ่มนักเรียนผู้ด้อยโอกาส รวมถึงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนหมู่บ้านนิรันดร์วิลล่า ดำเนินการตั้งแต่มีนาคม 2566 เป็นต้นมา ทั้งในรูปแบบอาหารปรุงสุก ข้าวสารอาหารแห้ง ถุงยังชีพ ฯลฯ ตั้งแต่เริ่มดำเนินการมีผู้ได้รับความช่วยหลือรวม 794 ราย
23 มีนาคม 2567 ผู้ว่าชัชชาติ ตรวจเยี่ยมโครงการ BKK Food Bank ชั้น 1 สำนักงานเขตบางพลัด โครงการ BKK Food Bank เขตบางพลัด เริ่มต้นโครงการตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 โดยมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ และฝ่ายสิ่งแวดล้อมฯ ลงพื้นที่ไปรับของจาก 7-11 ในพื้นที่ จำนวน 7 แห่ง เพื่อนำมาแจกจ่ายให้กับกลุ่มเป้าหมายในชุมชน จำนวน 48 ชุมชนในพื้นที่เขตบางพลัด โดยสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปตามชุมชนต่าง ๆ รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 738 คน มีแผนดำเนินการส่งมอบอาหาร 3 วัน/สัปดาห์ ได้แก่ วันอังคาร วันพุธ และวันพฤหัสบดี
สำหรับการดำเนินงานที่ผ่านมา สำนักงานเขตบางพลัดได้ส่งมอบอาหารแล้ว 164 ครั้ง น้ำหนักอาหารบริจาค จำนวนทั้งสิ้น 2,259.43 กิโลกรัม หรือ 9,489.61 มื้อ มีปริมาณ Carbon Footprint หรือปริมาณก๊าซเรือนกระจกลดลง เท่ากับ 5,716.36 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO2e)
27 เมษายน 2567 ผู้ว่าชัชชาติ ตรวจเยี่ยมโครงการ BKK Food Bank เขตบางขุนเทียน ซึ่งเริ่มดำเนินโครงการเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 65 ซึ่งเป็น 1 ใน 4 เขตนําร่องของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมีผู้ได้รับความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางจากโครงการ จำนวน 3,448 ราย โดยเปิดบริการทุกวันศุกร์ให้แก่ลูกจ้างที่มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบาง
7 พฤษภาคม 2567 ผู้ว่าชัชชาติ ตรวจเยี่ยมและเป็นประธานการส่งต่อความช่วยเหลือผ่านศูนย์ BKK Food Bank Center เขตพระโขนง ณ ห้อง BKK Food Bank Center ชั้น 1 สำนักงานเขตพระโขนง โดยมี นางสายทิพย์ สุคนธ์มณี ผู้อำนวยการเขตพระโขนง ผู้บริหารสำนักพัฒนาสังคม ผู้บริหารกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ผู้บริหารเขตพระโขนง ร่วมตรวจเยี่ยมและรายงานผลการดำเนินการ
25 พฤษภาคม 2567 ผู้ว่าชัชชาติ ตรวจเยี่ยมศูนย์ BKK Food Bang ณ
ชุมชนรุ่งมณีพัฒนา เขตวังทองหลาง โครงการ BKK Food Bank เขตวังทองหลาง
เริ่ม KICK OFF เมื่อ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 นำโดยนายโครงการ เจียมจีรกุล ผู้อำนวยการเขตวังทองหลาง พร้อมเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ ลงพื้นที่ดำเนินการส่งต่ออาหารให้กลุ่มเปราะบางอย่างเป็นรูปธรรม ร่วมกับสภาองค์กรชุมชนสนับสนุนโดยมูลนิธิ SOS และผู้ประกอบต่างๆ ณ ชุมชนรุ่งมณีพัฒนา เขตวังทองหลาง กทม. ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสงเคราะห์และช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในชุมชนพื้นที่เขตวังทองหลางอย่างเป็นรูปธรรม