กฎกระทรวง
กำหนดมาตรฐานด้านสถานที่ ความปลอดภัย และการให้บริการ
ในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง
พ.ศ. 2563
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง และมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติ
สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ผศ. 6559 รัฐมนตรีว่การกระทรวงสาธารณสุขออกกฎกระทรวงไว้
ดังต่อไปนี้
หมวด 1
มาตรฐานด้านสถานที่
ข้อ 1 สถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง ต้องมีลักษณะโดยทั่วไปด้านสถานที่ ดังต่อไปนี้
(1) ตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และมีทางที่ใช้ในการเข้าและออกโดยสะดวก
(2) มีอาคาร สถานที่ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่ผู้รับบริการ รวมทั้งต้องปลอดจากเหตุรำคาญที่อาจรบกวนความเป็นอยู่ที่สุขสบาย ซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าตัวยการควบคุมอาคาร หรือกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
(3) พื้นที่ที่ให้บริการทั้งภายในและภายนอกสถานประกอบการเพื่อสุขภาพมีลักษณะ ดังนี้
(ก) มีความกว้างของทางเดินไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตร
(ข) มีการทำความสะอาดและจัดสถานที่ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
(ค) กรณีใช้พื้นที่ประกอบกิจการอยู่ในอคารเดียวกันกับการประกอบกิจการอื่น ต้องมีการแบ่งเขตพื้นที่บริเวณที่ให้บริการอย่างชัดเจน และการประกอบกิจการอื่นต้องไม่รบกวนต่อการให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
(ง) มีพื้นที่ส่วนกลางแก่ผู้รับบริการและเจ้าหน้าที่สำหรับการประกอบกิจกรรมหรือสันทนาการที่หลากหลาย
(4) กรณีสถานประกอการเพื่อสุขภาพการให้บริการหลายลักษณะรวมอยู่ในอาคารหรือสถานที่เดียวกัน จะต้องมีการแบ่งสัดส่วนการให้บริการให้ชัดเจน และแต่ละสัดส่วนจะต้องมีพื้นที่และ
ลักษณะตามมาตรฐานการให้บริการแต่ละลักษณะ
(5) มีหน่วยบริการในการประสานงาน แจ้งเหตุเตือนภัย อำนวยความสะดวก และอื่น ๆ
(6) มีการจัดการมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย ที่เหมาะสมตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(7) มีระบบการควบคุมพาหะนำโรคตามหลักสุขาภิบาล
(8) พื้นที่บริเวณที่ให้บริการต้องมีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอและไม่มีกลิ่นอับทึบ
(9) ห้องน้ำมีลักษณะ ดังนี้
(ก) ประตูเป็นแบบเปิดออกภายนอกหรืแบบบานเลื่อน ขนาดกว้างสุทธิไม่ต่ำกว่าเก้าสิบเชนติมตร มือจับแบบก้านโยกหรือแกนผลักและสามารถเปิดจากภายนอกได้ ไม่ติดอุปกรณ์บังคับประตูได้เองและไม่มีธรณีประตู
(ข) ระดับพื้นผิวภายในห้องน้ำราบเรียบเสมอกัน มีระดับเสมอกับพื้นภายนอก ไม่ลื่นและไม่มีน้ำท่วมขัง
(ค) โถส้วมชนิดนั่งราบ สูงจากพื้นไม่น้อยกว่าสี่สิบเชนติเมตร แต่ไม่เกินสี่สิบห้าเซนติเมตร
มีพนักพิง และมีราวจับชิดผนังอย่างน้อยหนึ่งด้านเพื่อช่วยการพยุงตัว
(ง) อ่างล้างมือ สูงจากพื้นไม่เกินแปดสิบเชนติเมตร มีราวจับที่ด้านข้างของอ่าง เพื่อช่วยการพยุงตัวขณะยืน ก๊อกน้ำเป็นชนิดก้านโยก ก้านหมุน หรือระบบอัตโนมัติ
(ฉ) บริเวณที่อาบน้ำ ที่นั่งสำหรับอาบน้ำสูงจากพื้นไม่น้อยกว่าสี่สิบเชนติเมตร แต่ไม่เกินสี่สิบห้าเชนติมตร ต้องมีพนักพิงที่มั่นคง มีราวจับที่ด้านข้างของที่นั่งเพื่อช่วยการพยงตัว ก็อกน้ำของฝักบัวเป็นชนิดก้านโยก ก้านหมุน หรือระบบอัตโนมัติ
(ฉ) ติดตั้งสัญญาณเรียกฉุกเฉินในห้องน้ำ
(ช) มีระบบทำน้ำอุ่นที่ปลอดภัย
(ช) มีราวจับตั้งแต่ประตูไปจนถึงโถส้วมและบริเวณที่อาบน้ำ
(10) การเดินสายไฟป็นระเบียบ ใช้สายไฟถูกประภท และมีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย ดังนี้
(ก) สวิตช์และสายไฟได้รับการบำรุงรักษให้อยู่ในสภาพดีและปลอดภัย
(ข) มีเส้นหรือขอบเขตแสดงบริเวณที่อาจมีอันตรายหรือห้ามเข้าใกล้
(ค) มีอุปกรณ์ตัดไฟรองรับกรณีเกิดไฟช็อตหรือรั่ว
(ง) มีระบบไฟฟ้าส่องสว่าง มีหลอดไฟติดตั้งไว้ทั้งในส่วนที่นอน ห้องน้ำ และพื้นที่ใช้สอยทั่วไป
(11) เครื่องเรือนต้องมีความปลอดภัยในการใช้สอย ไม่ก่อให้เกิดอันตราย ถ้ามีมุมแหลมต้องติดตั้งยางกันกระแทก
ข้อ 2 สถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงที่มีลักษณะเป็นการให้บริการดูแลผู้สูอายุโดยจัดให้มีที่พำนักอาศัย นอกจากต้องมีลักษณะตามข้อ 1 แล้วต้องจัดให้มีหน่วยบริการในการประสานงาน แจ้งเหตุเตือนภัย อำนวยความสะดวก และจัดบริการระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง
ข้อ 3 สถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงที่มีลักษณะเป็นการให้บริการดูแลและประดับประคองผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงโดยมีการพักค้างคืนนอกจากต้องมีลักษณะตามข้อ 1 และข้อ 2 แล้ว ต้องจัดให้มีความกว้างระหว่างเตียงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตร
หมวด 2
มาตรฐานด้านความปลอดภัย
ข้อ 4 สถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง ต้องมีลักษณะโดยทั่วไปด้านความปลอดภัย ดังต่อไปนี้
(1) มีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลและคู่มือการปฐมพยบาลไว้ในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพและพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา
(2) มีป้ายหรือข้อความเพื่อแสดงหรือเตือนให้ผู้รับบริการระมัดระวังอันตรายหรือบริเวณที่มีความเสี่ยงต่การเกิดภัยอันตราย รวมถึงการติดตั้งเครื่องป้องกันไม่ให้ผู้รับบริการเกิดอันตราย
(3) มีระบบป้องกันและควบคุมการติดเชื้อที่เหมาะสม
(4) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ และติดตั้งเครื่องดับเพลิงไว้ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจนอย่างน้อยหนึ่งเครื่อง กรณีสถานประกอบการเพื่อสุขภาพที่มีพื้นที่การให้บริการมากกว่าหนึ่งชั้น ต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงไว้ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน อย่างน้อยชั้นละหนึ่งเครื่อง
(5) มีระบบไฟฟ้าส่องสว่างสำรองตามช่องทางเดิน
(6) มีการฝึกอบรมผู้ดำเนินการและพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยปีละหนึ่งครั้ง
(7) มีแนวปฏิบัติการป้องกันภาวะเสี่ยงและภาวะฉุกเฉิน
(8) มีพนักงานที่ได้รับการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพ และมีการฝึกซ้อมอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(9) มีมาตการตรวจสอบระบบความปลอดภัยในการให้บริการปีละหนึ่งครั้ง
ข้อ 5 สถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงที่มีลักษณะเป็นการให้บริการดูแลผู้สูงอายุโดยจัดให้มีที่พำนักอาศัย หรือการให้บริการดูแลและประดับประคองผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงโดยมีการพักค้างคืน นอกจากต้องมีลักษณะตามข้อ 4 แล้ว ต้องมีลักษณะเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
(1) มีอุปกณ์ช่วยฟื้นคืนชีพ เช่น ถุงลมช่วยหายใจ หรืออุปกรณ์เปิดทางเดินหายใจ
และสัญญาณเรียกฉุกเฉิน เช่น กริ่ง กระดิ่ง หรือสัญญาณเตือนภัย
(2) มีเครื่องกระตุกหัวใจอย่างน้อยหนึ่งครื่อง ติดตั้งในจุดที่มองเห็นได้ชัดเจน
หมวด 3
มาตรฐานด้านการให้บริการ
ข้อ 6 สถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงต้องมีลักษณะโดยทั่วไปด้านการให้บริการ ดังต่อไปนี้
(1) มีการจัดทำทะเบียนประวัติของผู้รับบริการตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด
(2) มีการประเมินความต้องการการดูแลและความสามารถในการสื่อสารของผู้รับบริการเมื่อแรกรับ โดยมีการประเมินซ้ำทุกสามเดือน
(3) มีแนวทางการปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพ รวมถึงการฟื้นฟูสุขภาพของผู้รับบริการบนพื้นฐนของแนวทางการปฏิบัติที่ดีและมีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจน
(4) ให้บริการดูแลผู้รับบริกรให้สอดคล้องกับผลการประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน และความสมารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันที่ซับซ้อน
(5) ให้บริการอาหารที่สะอาดและปลอดภัย
(6) ผู้รับบริการที่ต้องใช้ยาหรืออุปกรณ์สุขภาพประจำตัว ต้องได้รับการดูแลตามมาตรฐานอุปกรณ์เครื่องมือด้านสุขภาพที่ผ่านการพิจารณาจากแพทย์ผู้ดูแลแล้ว
(7) มีกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม รวมทั้งกิกรรมส่งเสริมสัมพันธภาพในสังคม ตามความเหมาะสมแก่ผู้รับบริกร และสมารถลือกตามความพอใจ หรือตามความสามารถของแต่ละบุคคล เพื่อพัฒนาคุณค่ในตัวเองและสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการ
(8) มีการบันทึกและติดตามการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาวะของผู้รับบริการ
(9) แสดงรายการให้บริการและอัตราค่าบริการไว้ในที่เปิดเผย มองเห็นได้ง่ายและสามารถตรวจสอบได้
(10) มีการทำสัญญหรือข้อตกลงการให้บริการระหว่างผู้ประกอบการกับผู้รับบริการ ญาติสายตรงผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้ซึ่งผู้รับบริการได้มอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษร
(11) ให้บริการโดยคำนึถึงความเป็นส่วนตัวและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนี้
(ก) การให้บริการต้องยึดหลักความเป็นส่วนตัวและเป็นไปตามความต้องการหรือความเต็มใจของผู้รับบริการ
(ข) ต้องมีแนวทางในการควบคุม ดูแล และป้องกัน ผู้รับบริการจากการถูกกระทำต่อร่างกาย จิตใจ การเงิน และด้านอื่น ๆ รวมทั้งการล่วงละเมิดทางเพศ
(ค) พนักงานที่เกี่ยวข้องต้องผ่านการอบรมหลักสูตรที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้มีความรู้ ความข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันสิทธิและการให้ความคุ้มครองผู้สูงอายุ
(ง) หากมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เป็นการพำนักระยะยาวหรือมีกิจกรรมพักค้างคืน ต้องจัดให้มีบุคลาการเฝ้าระวังหรืออยู่เวรยามในตอนกลางคืนอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเพียงพอ
(จ) มีการรักษาความลับของผู้รับบริการ โดยต้องไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวต่อบุคคลภายนอกในมาตรฐานเดียวกับการรักษาสิทธิของผู้ป่วย
(ฉ) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและการดูแลต้องให้ข้อมูลแก่ผู้รับบริการ ญาติสายตรง ผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้ซึ่งผู้รับบริการได้มอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษร
(12) มีการแจ้งข้อมูลข่าวสาร ดังนี้
(ก) ผู้รับบริการหรือผู้แทนต้องได้รับการแจ้งค่าใช้จ่ายในการรับบริการและค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้รับบริการสมัครใจเข้าร่วม
(ข) ผู้รับบริการหรืิิอผู้แทนต้องได้รับรู้กระบวนการ ความก้าวหน้าในการส่งเสริมสุขภาพในปัจจุบัน และมีส่วนร่วมในกรวางแผนการดูแลขณะเกิดเหตุฉุกเฉินหรือกรณีที่เกิดการเจ็บปวย การประสานงานกับสถานพยาบาลที่รับส่งต่อ และการตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาลการดูแลในระยะยาวที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงข้อมูลอื่นเกี่ยวกับสุขภาพของผู้รับบริการ
(ค) ผู้รับบริการควรได้รับความรู้เกี่ยวกับสิทธิของตนเองและการดูแลตนเองเพื่อการพัฒนาศักยภาพและการส่งเสริมสุขภาพของตนเอง
(13) มีระบบการส่งต่อในกรณีผู้รับบริการเกิดการเจ็บปวยฉุกเฉิน
ข้อ 7 สถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง ที่มีลักษณะเป็นการให้ริการดูแลผู้สูงอายุโดยจัดให้มีที่พำนักอาศัย นอกจากต้องมีลักษณะตามข้อ 6 แล้ว ต้องมีการประสานงานกับสหสขาวิชาชีพในการให้การดูแลต้านการส่งเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูแก่ผู้รับบริการ
ข้อ 8 สถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงที่มีลักษณะเป็นการให้บริกรดูแลและประดับประคองผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงโดยมีการพักค้างคืนนอกจากต้องมีลักษณะตามข้อ 6 แล้ว ต้องมีการประสานงานกับสหสาขาวิชาชีพในการให้การดูแลด้านการส่งเสริมสุขภาพ การฟื้นฟู และการประดับประคองแก่ผู้รับบริการตามแผนการรักษาของผู้ประกอบวิชาชีพ รวมทั้งต้องมีสัดส่วนของผู้ให้บริการหนึ่งคนดูแลผู้รับบริการไม่เกินห้าคน
ให้ไว้ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
อนุทิน ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 บัญญัติให้มาตรฐานด้านสถานที่ ความปลอดภัยและการให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพแต่ละประเภทเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงจึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ