1. ความปลอดภัยในการใช้รถยนต์ไฟฟ้า
ปัจจุบันรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้ประเด็นของ "ความปลอดภัยในการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า" กลายเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้นเช่นกัน ช้อแตกต่างของระบบประจุไฟฟ้ากระแสสลับและไฟฟ้ากระแสตรง เป็นดัง รูปที่ 1
ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยสำหรับไฟฟ้าแรงสูงบนรถยนต์พลังงานไฟฟ้าผู้ปฏิบัติงานต้องผ่านการอบรมด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการปฏิบัติงานกับกระแสไฟฟ้าแรงสูง : หากต้องถอดประกอบอุปกรณ์ชิ้นส่วนที่มีไฟฟ้าแรงสูงผู้ปฏิบัติงานจะต้องผ่านการอบรมด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการปฏิบัติงานกับกระแสไฟฟ้าแรงสูงก่อนการปฏิบัติติงาน
สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน : ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันซึ่งมีฉนวนกันไฟฟ้าเมื่อต้องปฏิบัติงานกับชิ้นส่วนที่มีไฟฟ้าแรงสูง โดยต้องใส่รองเท้าฉนวนกันไฟฟ้า ถุงมือฉนวนกันไฟฟ้าและอุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ รวมถึงการใช้เครื่องมือที่จะต้องมีฉนวนกันไฟฟ้า
ความปลอดภัยในการประจุไฟฟ้า
อุปกรณ์การชาร์จต้องพร้อมใช้งาน : ก่อนเริ่มชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทุกครั้ง ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์การชาร์จอยู่ในสถานะสมบูรณ์ ไม่ชำรุดเสียหาย และไม่ได้อยู่ในสถานะกำลังจ่ายกระแสไฟฟ้า
ห้ามบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าใกล้รถและอุปกรณ์การชาร์จ ในขณะทำการชาร์จรถยนต์พลังงานไฟฟ้า
ปฏิบัติตามคู่มืออย่างเคร่งครัด : เสียบหัวชาร์จในช่องเสียบหัวชาร์จสำหรับรถยนต์แล้วกดเริ่มการซาร์จ การทำงานของเครื่องชาร์จเป็นไปตามแนวทางการทำงานของอุปกรณ์ชาร์จนั้นๆ
สิ่งที่ควรปฏิบัติในระหว่างการซ่อมบํารุุงไฟฟ้าแรงสููงของรถยนต์ไฟฟ้า
- ต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะทางเท่านั้น และใส่อุปกรณ์ป้องกัน
- ห้ามใช้ถุงมือที่รั่วหรือชำรุด
- ห้ามสวมเครื่องประดับหรือมีอุปกรณ์โลหะในกระเป๋าหรือบนร่างกาย
- ห้ามจับหรือสัมผัสชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระแสไฟฟ้าแรงสูงในรถยนต์ นอกเหนือจากช่วงเวลาการบำรุงรักษา และต้องมีป้ายเตือนบนอุปกรณ์ (สายไฟแรงสูงส่วนใหญ่จะมีสีส้ม สีฟ้าและสีเหลือง)
- สวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่มีชิ้นส่วนโลหะ
- กำหนดพื้นที่ปฏิบัติงานให้ชัดเจน และป้องกันผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าในพื้นที่ปฏิบัติงาน
- ก่อนการซ่อมบำรุงรถยนต์ไฟฟ้าให้ถอดขั้วแบตเตอรี่ 12V และ Manual service disconnect (MSD) ที่แบตเตอรี่ไฟฟ้าแรงสูงออกทุกครั้ง
2.มาตรฐานความปลอดภัยของแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า
สหภาพยุโรปได้กำหนดให้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่จะจำหน่ายต้องผ่านมาตรฐานการทดสอบตามข้อกำหนดของ UNECE R100 โดยมีหัวซ้อทดสอบที่ครอบคลุมทั้งตัวรถยนต์ไฟฟ้าเองและแบตเตอรี่ โดยการทดสอบหลักคือ: ข้อกำหนดของยานพาหนะเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไฟฟ้า และข้อกำหนดเกี่ยวกับความปลอดภัยของระบบกักเก็บพลังงานแบบชาร์จไฟได้ (REESS)
โดยมีหัวข้อทดสอบที่สำคัญได้แก่ ความแข็งแกร่งของโครงสร้าง การป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรภายนอก การป้องกันการชาร์จเกิน การป้องกันการดิสชาร์จเกินการป้องกันอุณหภูมิสูงมากเกินไป การทดสอบความทนทานในสภาวะอุณหภูมิที่แตกต่าง การทดสอบการกระแทกทางกล การทดสอบความทนไฟ และการทดสอบแรงสั่นสะเทือน
สำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่จำหน่ายภายในประเทศไทยทุกคันจะมีป้ายข้อมูลรถยนต์ตามมาตรฐานสากล หรือ ECO Sticker ซึ่งระบุมาตรฐานความปลอดภัยของรถ ครอบคลุมทั้งมาตรฐานระบบเบรก มาตรฐานการปกป้องผู้โดยสารและมาตรฐานความปลอดภัยของรถยนต์และแบตเตอรี่ ทำให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้ว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่นนั้นๆ ได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยของรถยนต์และแบตเตอรี่ในระดับใด