ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานุกูล เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา (โรงพยาบาลแม่แจ่ม)

Debaratana Vejjanukula Hospital Commemorating Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirinthorn’s 60th Birthday Anniversary

Logo

โรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานุกูล เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา (โรงพยาบาลแม่แจ่ม) เป็นโรงพยาบาลชุมชนระดับ 60 เตียง ได้รับการอนุมัติให้ยกระดับ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2556 ปัจจุบันเปิดดำเนินการเตียงจริงได้ 60 เตียง มีประชากรทั้งหมด 59,484 คน ส่วนใหญ่เป็นวัยแรงงาน มีประชากรสูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 30 มีแรงงานต่างด้าวที่มาขึ้นทะเบียนประมาณ 5,000 ราย รับผิดชอบ 7 ตำบล 104 หมู่บ้าน มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเครือข่าย 12 แห่ง ปัจจุบันมีพยาบาลประจำ จำนวน 7 แห่ง พื้นที่อำเภอแม่แจ่ม เป็นพื้นที่สูง และมีความห่างไกลจากอำเภอเมือง

ที่อยู่/ติดต่อ
เลขที่ 11 หมู่ 9 ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ 50270 โทร 053-485371 ถึง 6 ต่อ 103

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานุกูล เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา (โรงพยาบาลแม่แจ่ม)

โรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานุกูล เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา (โรงพยาบาลแม่แจ่ม)
 ประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ : ประชากรรวม 62,267 คน เป็นประชากร UC จำนวน 58,721 คน รับผิดชอบ PCU โรงพยาบาล 1 แห่งคือ PCU ตำบลช่างเคิ่ง และสนับสนุน รพ.สต.ในพื้นที่จำนวน 12 แห่ง รวม 104 หมู่บ้าน จำนวน 16,833 ครัวเรือน สำหรับประชากรทั้งหมดแบ่งเป็นเพศชาย 29,950 คน คิดเป็นร้อยละ 51 และเพศหญิง 28,771คน คิดเป็นร้อยละ49ที่มา : งานทะเบียนราษฎร์อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ (มีนาคม 2559)
เข็มมุ่ง : เราจะพัฒนาโรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานุกูล เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา ให้เป็นสถานบริการด้านสุขภาพ ที่ผ่านมาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาล (HA)
 
ความสามารถเฉพาะขององค์กร (Core competency):
 
1.เป็นโรงพยาบาลที่ให้บริการด้านสุขภาพระดับทุติยภูมิ (F2)
 
2.การสร้างเครือข่ายสุขภาพร่วมกับชุมชนและองค์กรภายนอกในการพัฒนาการให้บริการด้านสุขภาพในเขตอำเภอแม่แจ่มและชายขอบ
 
3.บริการเชิงรุกด้วยจิตอาสา
 
4.การจัดสิ่งแวดล้อมขององค์กรให้เหมาะสมต่อการเยี่ยวยา (Healing Environment)
 
ลักษณะโดยรวมของบุคลากร (Workforce profile) :
 
บุคลากรโรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานุกูล เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา มีทั้งหมด 140 คน เป็นเพศชายจำนวน 46 คน (ร้อยละ 32.86) เพศหญิงจำนวน 94 คน (ร้อยละ 67.14) โดยมีอายุของบุคลากรเฉลี่ยโดยมากอยู่ในช่วง ระหว่าง 21 – 30 ปี ร้อยละ 41.26 และเป็นประชากรในพื้นที่อำเภอแม่แจ่มจำนวน 100 คน ร้อยละ 71.43


หน่วยงานในเขตอำเภอ
  สสอ.แม่แจ่ม
  รพ.สต.ท่าผา
  รพ.สต.สองธาร
  รพ.สต.กองกาน
  รพสต.บ้านนาฮ่อง
  รพ.สต.แม่นาจร
  รพ.สต.บ้านแม่แฮเหนือ
  รพ.สต.บ้านแม่แฮใต้
  รพ.สต.ปางหินฝน
  รพ.สต.กองแขก
  รพ.สต.โหล่งโปง
 
 ประวัติ :
 
เริ่มก่อสร้างโรงพยาบาลขึ้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2515 แล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม 2517 โดยใช้ชื่อสถานบริการขณะนั้นว่า “ศูนย์การแพทย์และอนามัย” โดยใช้งบประมาณจากเงินบริจาคชาวบ้านหลังคาเรือนละ 1 บาท สมทบกับเงินงบประมาณซื้อที่ดินสำหรับก่อสร้างโรงพยาบาลจำนวน 1 แปลง มีเนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 65 ตารางวา ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลอำเภอขนาด 10 เตียง กระทั่งปี 2528 กระทรวงสาธารณสุขจัดสรรงบประมาณ เพื่อก่อสร้างโรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานุกูล เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา โดยยกฐานะจากโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง เป็นขนาด 30 เตียง และได้มีการจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมจำนวน 2 ไร่ 3 งาน 40 ตารางวา รวมเนื้อที่ของโรงพยาบาลทั้งหมดจำนวน 7 ไร่ 2 งาน 5 ตารางวา โรงพยาบาลแม่แจ่ม มีขนาดคับแคบไม่พื้นที่เพียงพอต่อผู้มารับบริการทั้งแผนกหอผู้ป่วยนอกและหอผู้ป่วยใน จึงได้มีการขอย้ายและยกฐานะของโรงพยาบาลเป็น โรงพยาบาลขนาด 60 เตียง ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระเทพรัตนาราชสุดาฯ ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใน สถานที่ตั้งโรงพยาบาลแห่งใหม่บนพื้นที่กว่า 90 ไร่ พร้อมทั้งได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2556 หลังจากนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างอาคารอำนวยการ อาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และอาคารประกอบอื่นๆ เพื่อสามารถย้ายไปดำเนินการในพื้นที่แห่งใหม่ได้ โดยออกแบบการก่อสร้างทั้งหมด โดยกองแบบแผนกระทรวงสาธารณสุข จากนั้นได้ทำพิธีเปิดโรงพยาบาลอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2558 และพระราชทานนามว่า “โรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานุกูล เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา”