ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า ๑๐๐ ปี เมืองยาง นครราชสีมา

Muang Yang Chaloem Phrakiat Somdet Ya Hospital

Logo

ที่อยู่/ติดต่อ
222 หมู่ 1 ต.เมืองยาง อ.เมืองยาง จ.นครราชสีมา 30270
โทรสาร 044-229062

✅ รับบัตรทอง

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า ๑๐๐ ปี เมืองยาง นครราชสีมา

โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า ๑๐๐ ปี เมืองยาง นครราชสีมา
โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า ๑๐๐ ปี เมืองยาง นครราชสีมา
 

ข่าวสาร ข้อมูลบริการ บทความ สาระประโยชน์

  • ยังไม่มีข่าวสาร ข้อมูลจากที่นี่
[ทั้งหมด]
โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี เป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง สังกัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข สถานที่ตั้ง : เลขที่ 222 หมู่ 1 ตำบลเมืองยาง อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา

บริการ
 
 โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี เป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง สังกัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข สถานที่ตั้ง : เลขที่ 222 หมู่ 1 ตำบลเมืองยาง อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา
 

ประวัติการก่อตั้ง

ได้รับงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุข
ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างจากกระทรวงสาธารณสุข บนเนื้อที่ 82 ไร่ ซึ่งเป็นที่สาธารณประโยชน์ของบ้านโนนตาสุด และบ้านยางน้อย ตำบลเมืองยาง กิ่งอำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา
 
พ.ศ.2542 - ได้รับงบประมาณวางศิลาฤกษ์และเริ่มก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก
 
วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2543 พิธีวางศิลาฤกษ์ โดย ฯพณฯ กร ทัพรังสี ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี โดยการก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2544
 
 
พ.ศ.2543 - ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก
 
เริ่มเปิดให้บริการ วันที่ 1 กรกฎาคม 2544
นายแพทย์สำเริง แหยงกระโทก ขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีเปิดให้บริการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2544 โดยโรงพยาบาลได้รับประทานนามจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ ว่า “ โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี เมืองยาง” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสครบรอบ 100 ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งมีประชาชนทั้งอำเภอมาร่วมในพิธีเปิดเป็นจำนวนมาก พวกเขาได้เฝ้าดูด้วยความ ปีติ และความหวังตั้งแต่เริ่มทำการก่อสร้างจนกระทั่งเสร็จ เขาหวังว่า “โรงพยาบาลแห่งนี้จะเป็นที่พึ่งของเขาและพี่น้องของเขาในยามเจ็บป่วย คงไม่มีเจ้าหน้าที่ดุด่าว่ากล่าวอย่างไร้เหตุผล เมื่อเขาทำผิดไปเพราะไม่รู้....”
 
 
ในช่วงแรกโรงพยาบาลเปิดให้บริการเป็นลักษณะผู้ป่วยนอก มีเตียงรับผู้ป่วยไว้สังเกตอาการเพียง 4 เตียง เนื่องจากมีบุคลากรจำกัดโดยมีแพทย์ 1 คน พยาบาล 5 คน และเจ้าหน้าที่อื่นๆ รวมทั้งสิ้น 20 คน จัดพยาบาลอยู่เวรแบบเวรนอน ส่วนการบริหารเป็นแบบ CEO มีนายช่วย เชิญกลาง ขณะนั้นดำรงตำแหน่งสาธารณสุขกิ่งอำเภอเมืองยางรักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาล โดยให้สถานีอนามัยขึ้นตรงต่อโรงพยาบาล รวมเจ้าหน้าที่ ฝ่ายต่างๆ ของสำนักงานสาธารณสุขกิ่งอำเภอ และฝ่ายต่างๆ ของโรงพยาบาลรวมเป็นทีมเดียวกันตามโครงการวิจัย เรื่อง การปฏิรูประบบสาธารณสุข และการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และเนื่องจากเป็นโรงพยาบาล ที่เกิดภายใต้ นโยบาย “โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค” งบประมาณที่ได้รับจึงมีจำกัดตามจำนวนประชากร คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลจึงได้พยายาม จัดหางบประมาณจากส่วนอื่นมาสนับสนุน อาทิ ของบสร้างถนนคอนกรีตเข้าโรงพยาบาลจาก อบต. เมืองยาง, ขอบริจาคเงินจากผู้มีจิตศรัทธาปรับปรุง ห้องพิเศษ ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้รับความอนุเคราะห์จากท่านพ่อนภดล วัดโสนันทาราม
 
พ.ศ.2544 - เริ่มเปิดให้บริการ
 
ประวัติการพัฒนา
พ.ศ.2545
เปิดให้บริการผู้ป่วยใน 10 เตียง
วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2545 เปิดให้บริการตึกผู้ป่วยในเป็นแบบ 10 เตียง โดย พยาบาลยังคงอยู่เวรแบบเวรนอน (มีแพทย์ 2 คน, พยาบาลวิชาชีพ 8 คน)
 
พ.ศ.2547
เปิดให้บริการผู้ป่วยใน 30 เตียง
วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2547 กระทรวงสาธารณสุขอนุมัติให้เปิดบริการผู้ป่วยในอย่างเป็นทางการ ให้บริการแบบโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง และจัดพยาบาลปฏิบัติงานแบบเวร 8 และเปิดให้บริการแพทย์แผนไทย ส่วนห้องผ่าตัดยังไม่เปิดให้บริการเนื่องจากไม่พร้อมทั้ง ด้านอาคาร สาธารณูปโภคและบุคลากร
 
พ.ศ.2548
ผ่านการรับรอง HA ขั้นที่ 1
ได้รับการรับรองการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลตามมาตรฐาน HA ขั้นที่ 1 จากสถาบันรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.)
 
พ.ศ.2549
สร้างคลังยา
ได้รับงบประมาณสร้างคลังเก็บยาและเวชภัณฑ์
 
พ.ศ.2550
พัฒนาระบบน้ำดื่มและสร้างพระพุทธรูป
คณะกรรมการบริหารและพัฒนาสาธารณสุข(คบสอ.)เมืองยาง อนุมัติงบประมาณ ในการสร้างโรงจอดรถ , โรงอาหาร, และ พัฒนาระบบน้ำดื่ม โดยใช้ระบบน้ำกรอง RO ส่วนลานพระพุทธรูปสร้างด้วยเงินกองทุนบริจาค 60,000 บาท
 
พ.ศ.2551
สร้างศาลาพักญาติ
วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2551 ได้มีการจัดทอดผ้าป่า เพื่อหาทุนสร้างสวนสมเด็จย่าและ ศาลาพักญาติ ได้รับเงินบริจาคประมาณ 500,000 บาท นอกจากนี้ได้ปรับปรุงต่อเติมอาคารหน่วยจ่ายกลางให้ได้มาตรฐานงานหน่วยจ่ายกลาง และที่สำคัญในปีนี้โรงพยาบาลได้จัดโครงการ พัฒนาองค์กร “5 ส. เทิดไท้องค์ราชัน ทดแทนพระคุณแผ่นดิน” จนได้รับป้ายทองผลงานองค์กรที่มีการดำเนินงานกิจกรรม 5 ส. ดีเด่นแห่งปี 2551 จากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพขั้นพื้นฐาน โดย ดร.กัณฑิมา ศรีวิลัย เป็นผู้มอบในวันที่ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2551 (อาคารที่เพิ่มใหม่ – โรงเก็บออกซิเจน,โรงผลิตอิฐบล็อกประสาน)

 
พ.ศ.2552-2553
สร้างอาคารตามโครงการ "ไทยเข้มแข็ง"
ได้รับการรับรองการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลตามมาตรฐาน HA ขั้นที่ 1 ในด้านอาคารและสิ่งก่อสร้าง ได้รับ งบประมาณ ตามโครงการ “ไทยเข้มแข็ง” ตามนโยบายรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สร้างแฟลตแพทย์ 1 หลังและแฟลตพยาบาล 1 หลัง นอกจากนี้ยัง ได้มีการปรับปรุงขยายห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน เพื่อรองรับผู้รับบริการที่มีจำนวนมากขึ้นโดยใช้งบเงินบำรุงโรงพยาบาล 200,000 บาท


ผู้อำนวยการโรงพยาบาล
พ.ศ.2544 - พ.ศ.2545 นายช่วย เชิญกลาง สาธารณสุขกิ่งอำเภอเมืองยาง
พ.ศ.2545 - พ.ศ.2547 นายแพทย์ปรีชา พิทยาวุธวินิจ
พ.ศ.2547 - พ.ศ.2549 นายแพทย์รัชต์พงษ์ จรสัมฤทธิ์
พ.ศ.2549 - พ.ศ.2560 นายแพทย์ชาญวิชญ์ โพธิสุวรรณ
พ.ศ.2560 - พ.ศ.2561 นายแพทย์อิทธิพล อุดตมะปัญญา
พ.ศ.2561 - พ.ศ.2563 นายแพทย์สรวัฒน์ ธนานุภาพไพศาล
พ.ศ.2563 - ปัจจุบัน นายแพทย์ธีรศักดิ์ อุ่นเจริญ