ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สแกนมวลกระดูก ที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์

สแกนมวลกระดูก ที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ Thumb HealthServ.net
สแกนมวลกระดูก ที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ ThumbMobile HealthServ.net

คลินิกกระดูกและข้อ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ติดต่อคลินิกกระดูกและข้อ โทร. 063-3236967 ติดต่อโรงพยาบาล โทร. 0-7547-9999

สแกนมวลกระดูก ที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ HealthServ
มวลกระดูกของท่านปกติหรือไม่? ขอเชิญทุกท่านมา " สแกนมวลกระดูก ที่มวล. ” 
 
๐ สงสัยโรคกระดูกพรุน หรือภาวะกระดูกบาง สามารถเข้ารับการตรวจแสกนมวลกระดูกได้เเล้ววันนี้ที่ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.)
 
๐ โรคกระดูกพรุนคืออะไร?
โรคกระดูกพรุน หรือภาวะกระดูกบาง จะไม่มีอาการหรือสัญญาณเตือนล่วงหน้ามาก่อน อาการของโรคกระดูกพรุนนี้มักค่อยๆ เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ทันได้สังเกตเห็น เช่น หลังโก่ง ไหล่งุ้ม หรือเตี้ยลง เป็นต้น ยิ่งในปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุนได้สูง พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเป็นภัยเงียบ เนื่องจากจะไม่มีอาการ แต่จะรู้เมื่อกระดูกหักไปแล้ว เพราะเกิดจากมวลกระดูกที่ลดลง และโครงสร้างกระดูกเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ความแข็งแกร่งน้อยลง เมื่อถูกแรงกระแทกเพียงเล็กน้อยอาจทำให้กระดูกหักได้ง่ายขึ้น ดังนั้นเราควรที่จะป้องกันหรือรีบรักษาภาวะกระดูกพรุนตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเพื่อป้องกันไม่ให้มีกระดูกหักเกิดขึ้น
 
๐ ทราบได้อย่างไรว่ามี “ภาวะกระดูกพรุน” หรือไม่?
วิธีการที่ดีที่สุดที่จะรู้ได้ว่า คุณกำลังเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด คือ “การตรวจมวลกระดูก หรือการตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density)”
 
๐ การตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density) คืออะไร?
การตรวจมวลกระดูก หรือ การตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density) เป็นการตรวจหาค่าความหนาแน่นของกระดูกตามส่วนต่างๆ เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก ว่ามีภาวะกระดูกพรุนมากน้อยเพียงใด โดยการใช้รังสีที่เรียกว่า Dual Energy X-ray Absorptiometry scanner หรือ DEXA scanner พลังงานต่ำสะท้อนภาพเนื้อเยื่อกระดูก ซึ่งจะทราบผลการตรวจอย่างรวดเร็ว แม่นยำ และปลอดภัย
 
๐ ขั้นตอนการตรวจความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density)
ก่อนการตรวจผู้เข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใดๆ เป็นพิเศษทั้งสิ้น สามารถตรวจได้เลย และในวันตรวจสามารถรับประทานอาหารและดื่มน้ำได้ตามปกติ เมื่อตรวจเสร็จแล้วก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยไม่มีรังสีใดๆ หลงเหลืออยู่ในตัว แต่อาจต้องมีการเปลี่ยนชุด จึงขอแนะนำให้ผู้เข้ารับการตรวจใส่ชุดที่สบาย ถอดเปลี่ยนได้ง่าย และไม่ใส่เครื่องประดับ ในกรณีที่มีโลหะฝังอยู่ในร่างกาย เช่น ใส่เหล็กดามกระดูก ใส่ข้อสะโพกเทียม หรือใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนการตรวจ การตรวจนั้นจะต้องนอนราบลงเป็นเตียงตรวจ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะช่วยจัดตำแหน่งร่างกายให้เหมาะสม แล้วเริ่มเดินเครื่องฉาย X-ray โดยทั่วไปแพทย์จะตรวจกระดูกที่มีโอกาสหักได้ง่ายจากโรคกระดูกพรุนใน 2 ตำแหน่ง ได้แก่ กระดูกสะโพก  กระดูกสันหลังส่วนเอว ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที 
 
๐ใครบ้างควรตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก
การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก แนะนำส่งตรวจความหนาแน่นของกระดูกโดยอาศัยเกณฑ์อายุและปัจจัยเสี่ยงทางคลินิกข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป และผู้ชายอายุ 70 ปีขึ้นไป
2. หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี  ซึ่งรวมถึงผู้ที่ถูกตัดรังไข่ทั้งสองข้าง 
3. มีภาวะฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ (hypoestrogenism) ต่อเนื่องนานกว่า 1 ปี  ก่อนเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยที่ได้รับ GnRH agonist หรือมี functional hypothalamic amenorrhea เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางอายุรกรรม คนที่ออกกำลังกายอย่างหนักเป็นเวลานาน เป็นต้น โดยยกเว้น
กรณีตั้งครรภ์และให้นมบุตร   
4. หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีอายุน้อยกว่า 65 ปี  หรือผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่า 70 ปี  ที่มีความเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ 
- กำลังเริ่มยาหรือได้รับยา glucocorticoid ขนาดเทียบเท่าหรือมากกว่า prednisolone 5 มก./วัน ต่อเนื่องกันตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป  
- มีบิดาหรือมารดากระดูกสะโพกหักจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง
- ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 20 กก./ตร.ม.
- ส่วนสูงลดลงตั้งแต่ 4 ซม.ขึ้นไป เมื่อเทียบกับประวัติส่วนสูงสูงสุดของผู้ป่ วย หรือตั้งแต่ 2 ซม.ขึ้นไปจากบันทึกการวัดส่วนสูง 2 ครั้ง 
- ผู้หญิงที่ได้รับการรักษาด้วย aromatase inhibitor หรือผู้ชายที่ได้รับการรักษาด้วย androgen deprivation therapy
- ภาพถ่ายรังสีแสดงลักษณะ radiographic osteopenia หรือกระดูกสันหลังผิดรูปจาก vertebral fracture
- มีประวัติกระดูกหักจากอุบัติเหตุไม่รุนแรง (fragility fracture)
 
๐ ควรเข้ารับการตรวจตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก ซ้ำบ่อยแค่ไหน?
ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยารักษาภาวะกระดูกพรุน ควรเข้ารับการตรวจตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกซ้ำทุก 1-2 ปี   เพื่อประเมินการตอบสนองต่อการรักษา
 
๐ การป้องกันภาวะกระดูกพรุน
การป้องกันภาวะกระดูกพรุน สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
- แนะนำให้รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่และรับประทานอาหารที่ให้แคลเซี่ยมมาก เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม กุ้งแห้ง ปลาตัวเล็กๆ งาดำ ผักใบเขียว เช่น ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า ผักบร็อคโคลี่ (เป็นกลุ่มผักที่มีแคลเซี่ยมสูง)
- ควรออกกำลังกายอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ
- งดการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
 
-----------------------------------------
 
ทีมออร์โธปิดิกส์แพทย์ คลินิกกระดูกและข้อ...ยินดีให้บริการครับ
***หมายเหตุ***
- สิทธิ์การรักษาบุคคลากร นักศึกษา พนักงาน เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย รัฐวิสาหกิจ ชำระเอง เเนะนำตรวจนอกเวลา
- ตรวจใหม่ในเวลา แนะนำนัดล่วงหน้าเพื่อความสะดวกของท่าน
 
-----------------------------------------
 
รพ.ศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ อาคาร B ชั้น 1 
222 หมู่ที่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา 
จังหวัดนครศรีธรรมราช 80161
ติดต่อคลินิกกระดูกและข้อ โทร. 063-3236967
ติดต่อโรงพยาบาล โทร. 0-7547-9999
Line ID: @672MUEN
สแกนมวลกระดูก ที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ HealthServ
สแกนมวลกระดูก ที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ HealthServ
สแกนมวลกระดูก ที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ HealthServ
สแกนมวลกระดูก ที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ HealthServ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด