ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ผลหารือ ข้อดี-ข้อเสีย การฉีดพ่นละอองฝอยน้ำต่อการลดฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ กทม.

ผลหารือ ข้อดี-ข้อเสีย การฉีดพ่นละอองฝอยน้ำต่อการลดฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ กทม. Thumb HealthServ.net
ผลหารือ ข้อดี-ข้อเสีย การฉีดพ่นละอองฝอยน้ำต่อการลดฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ กทม. ThumbMobile HealthServ.net

กทม.ระดมนักวิชาการ จากหลายหน่วยงาน สำนักสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรมควบคุมมลพิษ นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ ม.เกษตร นิด้า ร่วมหารือประเด็น ประสิทธิภาพของการกำจัดฝุ่นด้วยการฉีดพ่นละอองน้ำ และประโยชน์ของการล้างพื้นถนน ต่อการลดฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ กทม.

ผลหารือ ข้อดี-ข้อเสีย การฉีดพ่นละอองฝอยน้ำต่อการลดฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ กทม. HealthServ
21 ก.พ. 66 ณ ห้องประชุม 1 สำนักสิ่งแวดล้อม กทม.2 ดินแดง : นายพรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายชาตรี วัฒนเขจร รองปลัดกรุงเทพมหานคร นางสาววรนุช สวยค้าข้าว รองผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม คณะผู้บริหารสำนักสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กทม. ผู้แทนกรมควบคุมมลพิษ นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษาหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหิดล NIDA และนักวิชาการอิสระ ร่วมประชุม เพื่อหารือในประเด็นการฉีดพ่นละอองฝอยของน้ำต่อการลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร


สำหรับข้อหารือในวันนี้ ประกอบด้วย ประสิทธิภาพของการกำจัดฝุ่นด้วยการฉีดพ่นละอองน้ำ และประโยชน์ของการล้างพื้นถนนของกรุงเทพมหานคร ซึ่งที่ผ่านมากรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการ ฉีดพ่นละอองฝอยบนอาคารที่ทำการหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดหลายแห่ง และดำเนินการล้างถนน และป้ายรถโดยสารประจำทางอย่างต่อเนื่องเพื่อทำความสะอาดท้องถนน และลดฝุ่นละอองขนาดใหญ่ที่ตกบนท้องถนนไม่ให้ฟุ้งกระจายเพิ่มเติมจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่อาศัยหรือประกอบอาชีพริมท้องถนนได้

 
ผลหารือ ข้อดี-ข้อเสีย การฉีดพ่นละอองฝอยน้ำต่อการลดฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ กทม. HealthServ

ความคิดเห็นจากนักวิชาการ


นักวิชาการได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและตั้งข้อสังเกต โดยอ้างอิงงานวิจัยต่างๆ ในหลายประเด็น อาทิ
 
 
1. ฉีดเพื่อล้างถนน การล้างถนนจะช่วยลดฝุ่น Resuspended particle (ฝุ่นที่เคยตกลงมาแล้วครั้งนึง) ไม่ให้ฟุ้งกระจายขึ้นมาอีกครั้ง เป็นการป้องกันอันตรายบุคคลที่อยู่ริมถนน ซึ่งอาจไม่ได้ผลเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็กโดยตรงและชัดเจน แต่จะเป็นการชะล้างฝุ่นขนาดใหญ่และทำความสะอาดคราบน้ำมันที่อยู่บนพื้นผิวถนนได้
 
 
2. ฉีดละอองน้ำจากอาคาร สามารถลดปริมาณของฝุ่นขนาดใหญ่ (TSP) ที่เข้าสู่อาคารได้ แต่ในส่วนของการจัดการฝุ่นขนาดเล็กภายในอาคารต้องใช้รูปแบบอื่นประกอบด้วย เช่น เครื่องฟอกอากาศ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
 
 
3. ในฤดูหน้าหนาวความชื้นในอากาศจะลดลงกว่าฤดูอื่นๆ ดังนั้น การเพิ่มความถี่ในการล้างถนนจึงสามารถทำได้
 
 
4. อากาศมีการแทนที่ตลอดเวลา ถึงลดขนาดสเปรย์น้ำให้เล็กแค่ไหนก็ได้ผลน้อยมาก ยกเว้นจะอยู่ในพื้นที่กึ่งปิดกึ่งเปิดอาจได้ผลมากขึ้น แต่ท้ายที่สุดฝุ่นขนาดเล็กก็จะฟุ้งกลับมาใหม่ ซึ่งเวลาที่ฉีดน้ำอาจลดได้บ้าง พอหยุดฉีดฝุ่นก็จะกลับมาสูง เพราะแหล่งกำเนิดยังคงอยู่เหมือนเดิม
 
 
5. ในหลายประเทศที่มีปัญหาฝุ่นละอองไม่ได้ใช้วิธีการฉีดละอองน้ำหรือการล้างถนนแต่อย่างใด หากมีรถดูดฝุ่นควรใช้รถดูดฝุ่นแทน


 

ข้อสรุปร่วม

 
นายพรพรหม กล่าวภายหลังการประชุมว่า จากการประชุมในวันนี้ได้ข้อสรุปว่า ที่ประชุมเห็นร่วมกันว่า การฉีดน้ำบนอาคารไม่จำเป็น เช่นเดียวกับการใช้รถฉีดละอองน้ำเคลื่อนที่ไปในจุดต่างๆ  แต่หากเลือกฉีดในจุดที่เป็นพื้นที่กึ่งปิดกึ่งเปิด อาทิ บริเวณ ใต้สถานีรถไฟฟ้า BTS จะมีประโยชน์มากกว่า

สำหรับรถฉีดละอองน้ำจะให้จัดทำ Action Plan เพื่อกำหนดพื้นที่ปฏิบัติงานให้ชัดเจน และเกิด Impact ที่ไม่กระทบกับประชาชน
 
 
นอกจากนี้จะมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มประสิทธิภาพของรถดูดฝุ่น เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานได้เหมือนเช่นเมืองใหญ่ๆ อีกหลายแห่ง รวมถึงจะให้ความสำคัญกับค่าฝุ่นในพื้นที่ Indoorให้มากขึ้น เนื่องจากคนส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ Indoor ในส่วนของการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภายนอกจะร่วมมือกับกรมอนามัยดำเนินการตามแนวทางห้องปลอดฝุ่นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อให้ครบทุกรูปแบบ
 
 
“ในขณะนี้โรงเรียนสังกัด กทม.คือ ที่โรงเรียนวิชูทิศได้ทดลองทำม่านน้ำ มีระบบเปิดปิดน้ำอัตโนมัติ โดยจะทดลองใช้ 2 สัปดาห์ จากนั้นศึกษาข้อมูล ผลกระทบ ซึ่งกรุงเทพมหานครจะแบ่งปันข้อมูลนี้ให้ผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต” นายพรพรหม กล่าว
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด