ประวัติโรงพยาบาลพังงา
เนื่องจากที่ตั้งจังหวัดพังงาอยูในที่จํากัดคับแคบ พื้นที่โดยรอบที่เป็นที่ราบหาได้ยากเพราะมีภูเขาสูง ขนาบโดยรอบภูมิประเทศส่วนมากเป็ นป่ า และ เขาจึงหาเนื้อที่ก่อสร้างโรงพยาบาลได้ยาก
ในปี พ.ศ.2495 นายเชวงไชยสุต ผู้วาราชการจังหวัดพังงาพร้อมด้วยนายแพทย์รัตน์ถาวรา ภาอนาัมัยจังหวัดได้ติดต่อขอที่ดินกองกำกับการตํารวจภูธรจังหวัดพังงา ซึ่งทราบว่าจะย้ายไปตั้งที่อื่น แต่ขัดข้อง เพราะกรมตํารวจไม่มีงบประมาณ ในการย้าย
ในปี พ.ศ. 2496 ทางจังหวัดได้รับเงินงบประมาณ 214,700 บาท จึงได้ดําเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลชั่วคราวขึ้น ในสมัย นายพุก ฤกษ์เกษม เป็นผู้วาราชการจังหวัดร่วมกับอนามัยจังหวัด (ในที่ดินเชิงเขาช้าง บนเนื้อที่ 30 ไร่ 1 งาน 25 ตาราวา)
ในปี พ.ศ. 2497 ได้เริ่มเปิดดําเนินการรักษาพยาบาล เป็นการภายในตั้งแต่เดือน พฤษภาคม โดยมีนายแพทย์วุทธิ โพธิสุนทร เป็นผู้อํานวยการกิจการของโรงพยาบาลได้กาวหน้าขึ้นเป็นลําดับ มีประชาชนมารักษาเป็นจํานวนมากขึ้น
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2497 นายแพทย์วุทธิ โพธิสุนทร ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ กรมการแพทย์ได้ติดต่อโรงพยาบาลภูเก็ต จัดส่งนายแพทย์วิรัช โรจนวงค์ มาปฏิบัติแทนเป็นการชั่วคราว ได้ปรับปรุงและขยายกิจการเพิ่มเติม ปริมาณคนไข้ ที่มารับ บริการรักษาเพิ่มมากขึ้น สถานที่ดําเนินงานที่มีอยู่คับแคบ ไม่สะดวกแก่การปฏิบัติงาน ทางจังหวัดได้ดําเนินการติดต่อผ่าน กรมการแพทย์และกระทรวงสาธารณสุข และติดต่อผ่าน นายโมรา ณ ถลาง ผู้แทนราษฎรจังหวัดพังงา เพื่อขอให้สนับสนุน
ในปี พ.ศ. 2498 นายเฉลิม ยูปานนท์ ผู้วาราชการจังหวัด พังงา ได้พยายามติดต่อทุกวิถีทาง เพื่อที่จะให้ได้ซึ่ง งบประมาณ สําหรับก่อสร้างโรงพยาบาล โดยมีนายโมรา ณ ถลาง ผู้แทนราษฎรจังหวัดพังงา เป็นผู้ช่วยเหลือและสนับสนุนร่วมกบทาง กรมการแพทย์ ในโอกาสที่ ฯพณฯ จอมพลอากาศฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี รองนายกรัฐมนตรี และดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีวากระทรวงสาธารณสุขอีกตําแหน่งหนึ่ง ได้มาตรวจราชการ ณ จังหวัดพังงาในเดือนมิถุนายน ได้รับทราบถึงความต้องการอันเร่งด่วน จึงได้นําเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้รับทราบเห็นชอบให้ดําเนินการจัดสร้างโรงพยาบาลขึ้น เนื่องจาก สถานที่เดิมไม่เหมาะสมเพราะเป็นพื้นที่ลาดติดเชิงเขา และห่างจากทางหลวงสายโคกกลอย-พังงา จึงได้พิจารณาพื้นที่ใหม่ซึ่งเป็นที่ราบ เนื้อที่ประมาณ 30 ไร่เศษ อยูติดทางหลวงแผ่นดิน นํ้าท่วมไม่ถึงและอยูในย่านใกล้ชุมชน อันเป็นที่เหมาะสมและดําเนินการก่อสร้าง
โรงพยาบาลแห่งใหม่แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2501 และได้ทําพิธีเปิดและฉลองโรงพยาบาล อย่างเป็นทางการในวันที่ 11 เมษายน ่ พ.ศ.2501 โดยมีนายวิรัช โรจนวงศ์ เป็นผู้อํานวยการโรงพยาบาล