ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ค่าบริการวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า รพ.ต่างๆ ประจำฤดูร้อน 2566

ค่าบริการวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า รพ.ต่างๆ ประจำฤดูร้อน 2566 Thumb HealthServ.net
ค่าบริการวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า รพ.ต่างๆ ประจำฤดูร้อน 2566 ThumbMobile HealthServ.net

โรคพิษสุนัขบ้ามาคู่กับช่วงฤดูร้อน โรคนี้เป็นโรคที่มีความรุนแรงหากสุนัขหรือสัตว์กัดและติดเชื้อ เป็นโรคที่สามารถทำให้เสียชีวิตได้ การป้องกันที่ดีที่สุดนอกจากหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกสัตว์กัดแล้ว การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบก่อนสัมผัสโรค คืออีกทางหนึ่ง เหมาะกับผู้ที่มีสัตว์เลี้ยง ดูแลสัตว์เลี้ยง หรือมีโอกาสใกล้ชิดกับสัตว์ต่างๆ จริงๆ แล้วบุรุษไปรษณีย์หรือพี่ๆแมสเซนเจอร์ พี่ๆ นักส่งอาหารต่างๆ ก็เป็นอีกกลุ่มที่เสี่ยงนะจ๊ะ

สำรวจบริการ แพ็กเกจวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า จากรพ.ต่างๆ ทั้งในพื้นที่กรุงเทพ ปริมณฑล และจังหวัดต่างๆ มีที่ใดบ้างที่ให้บริการและราคาเท่าไหร่ ไปติดตามดูข้อมูลกันนะคะ

วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 5 เข็ม โรงพยาบาลขอนแก่นราม

โรงพยาบาลขอนแก่นราม บริการ วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า (Rabies Vaccination)  วัคซีนนี้ต้องฉีด 5 เข็ม  Verorab vaccine หรือ Speeda vaccine  
* ราคายังไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการ
*ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
โทร 043-002-002 043-239-000

โรงพยาบาลพระรามเก้า บริการฉีดวัคซีนก่อนสัมผัสโรค

สำหรับผู้ที่สนใจใช้บริการ ศูนย์วัคซีนและเวชศาสตร์การเดินทาง สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่  โรงพยาบาลพระรามเก้า   โทร.1270 

การฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้า ป้องกันได้จริงหรือ

 สำหรับวัคซีนที่ใช้ฉีดป้องกันล่วงหน้าก็ไม่ใช่วัคซีนใหม่ แต่เป็นวัคซีนชนิดเดียวกันกับที่ใช้ฉีดหลังโดนกัดแล้ว เพียงแต่จำนวนครั้งในการฉีดแค่ 3 ครั้ง (วันที่ 0 (วันเริ่มฉีดวัคซีน), วันที่ 7, วันที่ 21 หรือ 28) ซึ่งหากได้ฉีดวัคซีนล่วงหน้าไว้แล้วกรณีถูกสัตว์บ้ากัดจะฉีดวัคซีนกระตุ้นเพียง 1 - 2 ครั้ง โดยไม่จําเป็นต้องฉีดเซรุ่มรอบแผลอีก การฉีดเซรุ่มรอบแผลบอกเลยว่าเจ็บ ถ้ามีหลายแผลก็ต้องฉีดให้ครบทุกแผล ดังนั้นจึงไม่ต้องเจ็บปวดจากการฉีดเซรุ่ม ที่สำคัญลดโอกาสเสี่ยงที่จะแพ้เซรุ่ม และลดค่าใช้จ่ายไปได้มาก - รพ.ยันฮี

พัทยาเมโมเรียล บริการวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า หลังกัด

โรงพยาบาลพัทยาเมโมเรียล บริการวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า การฉีดวัคซีนหลังสัมผัสโรค การสัมผัสโรค ได้แก่ การโดนกัด ข่วน เลียผิวหนังที่มีบาดแผล หรือ น้ำลายของสัตว์ กระเด็นเข้าเยื่อเมือก คือ จมูก ปาก ตา และ คนที่กินเนื้อสัตว์ ที่สงสัย หรือเป็น โรคพิษสุนัขบ้า การสัมผัสที่เสี่ยงจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้ครบถ้วน จึงจะสามารถป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 038-488-777  ติดต่อ แผนกอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน ต่อ 111, 112  ทุกวัน เวลา 08.00 - 20.00 น.

วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (แบบก่อนสัมผัสโรค) 2 เข็ม รพ.กรุงเทพ

แพ็กเกจวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (แบบก่อนสัมผัสโรค) 2 เข็ม ราคา 3,000 บาท ราคาดังกล่าวรวมค่าแพทย์และค่าบริการแล้ว สอบถาม คลินิกวัคซีน โรงพยาบาลกรุงเทพ โทร. 02-3103003, 02-755-1003 Contact Center 1719

รพ.เกษมราษฎร์ บางแค วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า รพ.เกษมราษฎร์ บางแค ราคา 1,500 บาท (แพคเกจ 2 เข็ม) *ราคารวมค่าบริการพยาบาลและค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว แต่ยังไม่ร่วมค่าแพทย์ ราคาเฉพาะผู้ป่วยนอก-ในคนไทยเท่านั้น กรณีมีค่ายาหรือการรักษาอื่นๆ นอกเหนือแพคเกจ โรงพยาบาคิดค่าใช้จ่ายส่วนเินตามจริง สอบถามโทร 1218 กด 3 (สาขาบางแค) 

ติดต่อโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ตลอด 24 ชั่วโมง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ข้อมูลยาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ตลอด 24 ชั่วโมง 
  • เบอร์ Contact center โทร: 02-066-8888 และ 1378
  • ศูนย์อายุรกรรม  Hot line โทร: 02-011-3594
  • การให้บริการของฝ่ายเภสัชกรรม โทร: 02-011-3399

วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า จ.เชียงใหม่ ติดต่อศูนย์ศรีพัฒน์

โทร.สายด่วน 053-936900 , 053-936901 , 065-4724657 หรือ 065-4724658
ไลน์ @Sriphat

ประโยชน์ของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ก่อนการสัมผัส คือ สามารถกระตุ้นภูมิต้านทานให้สูงพอจะป้องกันโรคอย่างได้ผล โดยการฉีดเพียง 2 เข็ม รวมทั้งหากโดนสัตว์กัดหรือข่วนหลังจากฉีดวัคซีน จะสามารถฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีนพิษสุนัขบ้าได้ โดยไม่ต้องฉีดเซรุ่ม คือ หากโดนกัดภาย ใน 6 เดือนหลังฉีดเข็มสุดท้าย จะทำการฉีดกระตุ้น 1 เข็ม ณ วันที่โดนสัตว์กัด และหากโดนกัดมากกว่า 6 เดือนหลังฉีดเข็มสุดท้าย จะทำการฉีดกระตุ้น 2 เข็ม (วันที่ 0, 3) ที่สำคัญ คือ ประหยัดค่าใช้จ่ายจากการฉีดเซรุ่ม เนื่องจากมีราคาสูง และไม่เสี่ยงต่อการแพ้เซรุ่มและความเจ็บปวดจากการฉีดเซรุ่มรอบแผล 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด