ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สธ.รณรงค์วันไตโลก 2567

สธ.รณรงค์วันไตโลก 2567 Thumb HealthServ.net
สธ.รณรงค์วันไตโลก 2567 ThumbMobile HealthServ.net

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รณรงค์ “วันไตโลก” ปี 2567 ขับเคลื่อนการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชน มุ่งเน้นการเข้าถึงการบริการที่เท่าเทียม การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตที่เหมาะสม รวมถึงให้คำแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยขับเคลื่อนผ่านกลไกระดับพื้นที่ สนับสนุนการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน เพื่อป้องกันโรคไตเรื้อรัง และโรคแทรกซ้อนอื่นๆ

        
         14 มีนาคม 2567 นายแพทย์ดิเรก ขำแป้น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดให้วันพฤหัสบดีที่สองของเดือนมีนาคมของทุกปีเป็นวันไตโลก (World Kidney Day) ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม 2567 สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยได้กำหนดประเด็นวันรณรงค์ คือ “Kidney Health for All - Advancing Equitable Access to Care and Optimal Medication Practice : ครอบคลุมทุกสิทธิ์ พิชิตโรคไต ใส่ใจการใช้ยา” มุ่งเน้นการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการเข้าถึงการบริการที่เท่าเทียม และการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตและชะลอการเสื่อมของไต โรคไตเรื้อรัง เป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต   ของผู้ป่วย และสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมาก
 
สธ.รณรงค์วันไตโลก 2567 HealthServ
 

          ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (HDC) ในปี 2566 พบผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 1,062,756 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 มากถึง 85,064 คน จำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 3 จำนวน 464,420 ราย ระยะ 4 จำนวน 122,363 ราย และระยะที่ 5 ที่ต้องล้างไตมากถึง 70,474 ราย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพื่อป้องกันหรือชะลอไม่ให้เกิดโรคไตวายระยะสุดท้าย ด้วยการดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น หรือน้อยกว่าระยะที่ 4 เพื่อชะลอความเสื่อมของไตให้ได้ผลดี และลดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจและไตวาย ซึ่งการชะลอความเสื่อมของไตทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดน้ำหนัก งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงสารหรือยาที่มีผลเสียต่อไต เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลเพราะผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีการจำกัดอาหารบางชนิดที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุและระยะของโรคไตเรื้อรัง  กรมควบคุมโรคได้ดำเนินการขับเคลื่อนการป้องกันโรคไตในชุมชนผ่านกลไกระดับพื้นที่เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนสร้างความตระหนักและป้องกันโรคไตเรื้อรังในชุมชนโดยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และขับเคลื่อนการดำเนินงานลดบริโภคเกลือและโซเดียม ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ลดการบริโภคโซเดียมในประเทศไทย หรือ SALTS เพื่อสร้างความตระหนักลดการบริโภคเกลือและโซเดียมเกินในประชาชน
 
 
 

 
          นายแพทย์กฤษฎา หาญบรรเจิด ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กล่าวว่า โรคไตเรื้อรังเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบมากในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ถ้าควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือความดันโลหิตไม่ดีก็มีโอกาสเป็นโรคไตได้ ดังนั้น การป้องกันโรคไตเรื้อรังทำได้โดยควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดให้คนปกติและผู้ป่วยเบาหวานทั่วไป น้อยกว่า 6.5% ผู้สูงอายุที่ไม่มีโรคร่วม 7 ถึง 7.5% ผู้สูงอายุที่มีโรคร่วม น้อยกว่า 8% รวมทั้งควบคุมระดับความดันโลหิตให้น้อยกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย   พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเน้นรับประทานอาหารเค็มน้อย (เกลือน้อยกว่า 5 กรัมต่อวัน หรือ 1 ช้อนชา) รับประทานยาให้ถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ งดการรับประทานยาชุด ยาแก้ปวด ยาสมุนไพร ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน และสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีสิทธิบัตรทองสามารถเลือกวิธีการบำบัดทดแทนไตที่เหมาะสมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่ต้องการเปลี่ยนการล้างไตทางหน้าท้องเป็นการฟอกเลือด หรือผู้ป่วยรายใหม่ที่ต้องการใช้วิธีฟอกเลือด ควรปรึกษาและตัดสินใจร่วมกับแพทย์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด