ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ต้นไม้ 58 ชนิด ปลูกแล้วได้ คาร์บอนเครดิต รับต้นกล้าฟรีที่กรมป่าไม้

ต้นไม้ 58 ชนิด ปลูกแล้วได้ คาร์บอนเครดิต รับต้นกล้าฟรีที่กรมป่าไม้ Thumb HealthServ.net
ต้นไม้ 58 ชนิด ปลูกแล้วได้ คาร์บอนเครดิต รับต้นกล้าฟรีที่กรมป่าไม้ ThumbMobile HealthServ.net

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยถึง คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ว่า คือ กลไกสำคัญใหม่ ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว ที่กำลังเพิ่มมูลค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยประชาชนหรือภาคเอกชน เพียงแค่มีที่ดินปลูกต้นไม้ ก็สามารถเข้าสู่ธุรกิจนี้ได้แล้ว โดยนำไม้มาคำนวณคาร์บอนเครดิต เพื่อขายในตลาดการค้าคาร์บอนเครดิต



จากข้อมูล กรมพัฒนาธุรกิจ เมื่อวันที่ 20 พ.ค.65 ระบุว่ามีการจดทะเบียนนำต้นไม้มาเป็นหลักประกันทั้งสิ้น 146,282 ต้น เป็นจำนวนเงินค้ำประกัน 137,117,712 บาท โดยปัจจุบัน ราคาคาร์บอนเครดิตได้ขยับตัวขึ้นสูงไปถึง 120 บาท/ตันคาร์บอนไดออกไซด์ และคาดว่าจะขยับตัวสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ
 

ปัจจุบันมีไม้ยืนต้นที่สามารถเป็นหลักประกันได้ 58 ชนิด ได้แก่
  1. ตะเคียนทอง
  2. ตะเคียนหิน
  3. ตะเคียนชันตาแมว
  4. ไม้สกุลยาง (ไม่รวมยางพารา)
  5. สะเดา
  6. สะเดาเทียม
  7. ตะกู
  8. ยมหิน
  9. ยมหอม
  10. นางพญาเสือโคร่ง
  11. นนทรี
  12. สัตบรรณตีนเป็ดทะเล
  13. พฤกษ์
  14. ปีบ
  15. ตะแบกนา
  16. เสลา
  17. อินทนิลน้ำ
  18. ตะแบกเลือด
  19. นากบุด
  20. ไม้สัก
  21. พะยูง
  22. ชิงชัน
  23. กระซิก
  24. กระพี้เขาควาย
  25. สาธร
  26. แดง
  27. ประดู่ป่า
  28. ประดู่บ้าน
  29. มะค่าโมง
  30. มะค่าแต้
  31. เคี่ยม
  32. เคี่ยมคะนอง
  33. เต็ง
  34. รัง
  35. พะยอม
  36. ไม้สกุลจำปี ทั้งจำปีสิรินธร จำปีป่า
  37. จำปีถิ่นไทย (จำปีดง จำปีแขก จำปีเพชร)
  38. แคนา
  39. กัลปพฤกษ์
  40. ราชพฤกษ์
  41. สุพรรณิการ์
  42. เหลืองปรีดียาธร
  43. มะหาด
  44. มะขามป้อม
  45. หว้า
  46. จามจุรี
  47. พลับพลา
  48. กันเกรา
  49. กะทังใบใหญ่
  50. หลุมพอ
  51. กฤษณา
  52. ไม้หอม
  53. เทพทาโร
  54. ฝาง
  55. ไผ่ทุกชนิด
  56. ไม้สกุลมะม่วง
  57. ไม้สกุลทุเรียน
  58. มะขาม


 

คาร์บอนเครดิตคืออะไร?

 
หมายถึง สินค้าชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นเอกสิทธิใช้ทดแทนปริมาณก๊าชเรือนกระจก (Greenhouse Gas) ที่ลดได้ ซึ่งตามพิธีสารเกียวโตจะประกอบด้วยก๊าซ 7 ชนิด ได้แก่ 
 
  1. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
  2. ก๊าซไนโตรเจนไตรฟลออไรด์ (NF3)
  3. ก๊าซมีเทน (CH4 )
  4. ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC)
  5. ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC)
  6. ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6)
  7. ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N20)
 
 

ตลาดคาร์บอน

หมายถึงตลาดที่มีการซื้อขายคาร์บอน (Carbon Market) โดยกำหนดให้ "คาร์บอนเครดิต" (ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้จากการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจก) และ/หรือ "สิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก" (ปริมาณก๊าซร้อนกระจกที่สามารถลดได้ต่ำกว่าเป้าหมายลดก๊าซรือนกระจกที่กำหนดให้องค์กรดำเนินการ ภายใต้ระบบซื้อขาย สิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก) เป็นสินค้าที่สามารถซื้อขายได้และสามารถนำมาชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผู้ซื้อ

ต้นไม้ 58 ชนิด

 

ขอรับกล้าไม้ได้ฟรีที่กรมป่าไม้ LINK

ขอรับกล้าไม้ได้ฟรีที่กรมป่าไม้ ต้นไม้ 58 ชนิด ปลูกแล้วได้ คาร์บอนเครดิต รับต้นกล้าฟรีที่กรมป่าไม้
ขอรับกล้าไม้ได้ฟรีที่กรมป่าไม้ ต้นไม้ 58 ชนิด ปลูกแล้วได้ คาร์บอนเครดิต รับต้นกล้าฟรีที่กรมป่าไม้
ประชาชนที่มีที่ดินและต้องการปลูกต้นไม้ สามารถขอรับกล้าไม้ได้ฟรีที่กรมป่าไม้

ขั้นตอนขอรับกล้าไม้

 บัตรประชาชนใบเดียวก็ใช้รับกล้าไม้ได้แล้ว 
ขั้นตอนดังนี้
1. เตรียมหลักฐาน  - บัตรประชาชน + สำเนาสิทธิถือครองที่ดิน  กรณีหน่วยงานรัฐ/เอกชน ใช้หนังสือจากหน่วยงาน และรายละเอียดโครงการ (กรณีขอรับจำนวนมาก)
2. ยื่นคำขอ - ที่ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ หรือ สถานีเพาะชำกล้าไม้ใกล้เคียง
3. รับกล้าไม้ - พร้อมรับข้อมูลทางวิชาการ คำแนะนำ จากจนท.ผู้เชี่ยวชาญ
4. ตรวจติดตาม - จนท.จะสุ่มตรวจติดตามผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของผู้มาขอรับกล้าไม้

อำนาจการจ่ายกล้าไม้
  • ศูนย์เพาะชำกล้าไม้  ประชาชนทั่วไป 5,000 ต้น/ปี  หน่วยงาน 20,000 ต้น/ปี
  • สถานีเพาะชำกล้าไม้ ประชาชนทั่วไป 1,000 ต้น/ปี  หน่วยงาน 10,000 ต้น/ปี
 ต้นไม้ 58 ชนิด ปลูกแล้วได้ คาร์บอนเครดิต รับต้นกล้าฟรีที่กรมป่าไม้
 ต้นไม้ 58 ชนิด ปลูกแล้วได้ คาร์บอนเครดิต รับต้นกล้าฟรีที่กรมป่าไม้
ติดตามเรื่องความรู้เรื่องก๊าซเรือนกระจก คาร์บอนเครดิต ได้กับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด