ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สวน 15 นาที สวน pocket park ใกล้ชุมชนของคนกรุง

สวน 15 นาที สวน pocket park ใกล้ชุมชนของคนกรุง HealthServ.net
สวน 15 นาที สวน pocket park ใกล้ชุมชนของคนกรุง ThumbMobile HealthServ.net

สวน 15 นาที ตามนโยบายของผู้ว่าฯ กทม. หมายถึง พื้นที่สาธารณะที่ทำกิจกรรมได้กระจายตัวอยู่ทุกที่ และเข้าถึงได้ด้วยการเดินภายใน 15 นาที หรือระยะทางโดยประมาณ 800 เมตร

สวน 15 นาที สวน pocket park ใกล้ชุมชนของคนกรุง HealthServ


นอกจากระยะทางที่ไม่ไกล เข้าถึงได้ง่าย ใกล้ชุมชนแล้ว ขนาดของสวน 15 นาที จะเป็นลักษณะ pocket park คือพื้นที่ขนาดไม่ใหญ่ อาจเป็นพื้นที่เล็กๆ แปลงที่ดินว่างๆ พื้นที่ว่างรอการพัฒนา พื้นที่รกร้าง พื้นที่จุดอับจุดบอด พื้นที่ว่างของอาคาร ฯลฯ เหล่านี้ สามารถนำมาพัฒนาเป็นส่วนขนาดกระทัดรัดได้ทั้งสิ้น เป็นสร้างเสริมการใช้ประโยชน์ในที่ดิน เชื่อมโยงคนและชุมชน ให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน อาจมีการให้สิ่งจูงใจสำหรับเจ้าของที่บ้าง เช่น กลไกทางภาษีที่ดิน เป็นต้น 
 
“สวน 15 นาที ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องสามารถเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้ภายใน 15 นาที หรือระยะทาง 800 เมตร ซึ่งเป็นแนวทางของผู้ว่าฯ ชัชชาติ ที่อยากให้การเข้าถึงสวนของประชาชนดีขึ้น”   - พรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
 
 
ด้านกรุงเทพมหานครเอง จะมุ่งไปที่การพัฒนาที่ดินเดิม เช่น ลานกีฬานับพันแห่งของกทม. ที่กระจายตัวอยู่ในชุมชนอยู่แล้ว โดยเพิ่มมิติสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการใช้งานและความปลอดภัย  
 
 
“การจัดทำสวน 15 นาที เป็นนโยบายสำคัญของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จากสถิติของสำนักสิ่งแวดล้อมในการจัดทำสวน 15 นาที มีทั้งหมด 124 แห่ง เปิดให้ประชาชนเข้าใช้บริการแล้ว 18 แห่ง ล่าสุดที่เปิดอยู่ในพื้นที่เขตหนองแขม ตามแผนของสำนักสิ่งแวดล้อมมีเป้าหมายในปี พ.ศ.2566 จะเปิดสวนทั้งหมด 56 แห่ง การจัดอบรมกับทาง we!park วัตถุประสงค์หลักที่สำคัญคือ เน้นให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม ถ้าเราสามารถนำแนวคิดของประชาชนไปพัฒนาสวน จะทำให้การจัดทำสวน 15 นาที เกิดประโยชน์และตรงกับความต้องการของประชาชน เมื่อจัดทำสวนไปแล้วมีประชาชนเข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมาก ก็บ่งบอกได้ว่าการจัดทำสวน 15 นาทีนั้นประสบผลสำเร็จ อย่างไรก็ตามความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่ย่อมมีความแตกต่างกัน ทั้งจากขนาดพื้นที่ เงื่อนไขต่าง ๆ ในการออกแบบในแต่ละพื้นที่ ฉะนั้นการวางแผนออกแบบสวน 15 นาที จึงเป็นส่วนสำคัญที่เราจะได้ร่วมกันหารือแนวทางในการออกแบบเพื่อให้สวน 15 นาที สามารถเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายที่ตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่มากที่สุด” - นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
 
 
สวน 15 นาที สวน pocket park ใกล้ชุมชนของคนกรุง HealthServ

มีพื้นทีในมือแล้ว 107 แปลง


สวน 15 นาที นอกจากประโยชน์ใช้สอยด้านหลักคือเป็นพื้นที่ทำกิจกรรม ออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจ แล้ว บางสวนจะมีมิติอื่นร่วมด้วย เช่น การใช้เป็นพื้นสีเขียวเป็นพื้นที่ซับน้ำ บางสวนอาจเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ  บางแห่งอาจเพิ่มการเป็นพื้นที่การเกษตร  บางแห่งจะปลูกต้นไม้ที่ช่วยในการกรองฝุ่นได้ เป็นต้น 
 
 
สำหรับที่ดินที่กทม.มีอยู่ในมือขณะนี้ที่สามารถพัฒนาเป็นสวน 15 นาที ได้ จำนวน 107 แปลง เป็นของกทม.เอง 42 แห่ง ของเอกชน 27 แห่ง ที่เหลือเป็นของรัฐวิสาหกิจ 


ในการพัฒนานั้น นอกจากการที่จะให้กทม.ลงทุนเองแล้ว หากเอกชนเอง ก็สามารถลงทุนทำ แล้วส่งมอบให้ กทม. ก็ได้เช่นกัน ซึ่งหลังการรับมอบแล้ว กทม.จะเข้ามาทำหน้าที่ส่วนของการดูแลรักษาต่อไป

 
 
 
สวน 15 นาที ที่เปิดให้บริการแล้ว 

นับตั้งแต่ปี 2565 กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการ "สวน 15 นาที" แล้วดังนี้ 
 
1. เขตดุสิต หน้าคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลฯ
 
2. เขตดินแดง ดับเพลิงสุทธิสาร
 
3. เขตวัฒนา ซอยทองหล่อ 10
 
4. เขตพระโขนง ซอยสุขุมวิท 62/3
 
5. เขตพระโขนง ซอยวชิรธรรมสาธิต 27
 
6. เขตบางรัก พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก
 
7. เขตคันนายาว สวนสุขใจ
 
8. เขตลาดกระบัง จุดพักรถลาดกระบัง
 
9. เขตบางกอกน้อย ใต้สะพานบางขุนศรี
 
10. เขตบางขุนเทียน เคหะธนบุรี โครงการ 1 ส่วน 4
 
11. เขตบางขุนเทียน สวนสมเด็จย่า บางขุนเทียน
 
12. เขตราษฎร์บูรณะ สวนสุขเวชชวนารมย์
 
13. เขตบางบอน สวนบางบอนสุขใจ
 
14. เขตบางกะปิ  ต่างระดับศรีนครินทร์-กรุงเทพกรีฑา
 
15. เขตดอนเมือง สวนนาวงประชาพัฒนา 21 
 
16. เขตสาทร หลังตลาดแสงจันทร์
 
17. เขตยานนาวา ที่ดินริมถนนรัชดาภิเษก
 
18. เขตจอมทอง ถนนพระรามที่ 2 ซอย 30 - พัฒนาพื้นที่เป็นสวนป่า และใช้เป็นสถานที่ปลูกผัก เพาะพันธุ์ไม้ อนุบาลไม้ดอกไม้ประดับ ผลิตน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมักรักษ์โลก และปุ๋ยหมักชีวภาพ รวมถึงใช้เป็นจุดแปรรูปผลิตภัณฑ์รีไซเคิล
 
 
 
เป้าหมายสวน 15 นาที แต่ละปี ดังนี้
 
ปี 2565 จะเปิดให้บริการ 57 แห่ง (เปิดจริง 13 แห่ง)
ปี 2566 จะเปิดให้บริการ 26 แห่ง
ปี 2567 จะเปิดให้บริการ 18 แห่ง
ปี 2568 จะเปิดให้บริการ 6 แห่ง
 
รวมพื้นที่ 659 ไร่ 
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด