ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ จะรู้ว่าเป็น โรคหัวใจ ได้อย่างไร

ผู้ที่มีความเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่ง แนะนำให้ตรวจสุขภาพหัวใจทุกปี ผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 55 ปี น้ำหนักเกินมาตราฐาน เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง

ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ ข้อเดียว! ก็เสี่ยงแล้ว
 
ผู้ที่มีความเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่ง แนะนำให้ตรวจสุขภาพหัวใจทุกปี
  • ผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 45 ปี
  • ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 55 ปี
  • น้ำหนักเกินมาตราฐาน
  • เป็นโรคเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • ไขมันในเลือดสูง
  • มีประวัติครอบครัว และญาติสายตรง เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ผู้ที่สูบบุหรี่
จะรู้ว่าเป็น..โรคหัวใจ..ได้อย่างไร
 
มีเครื่องมือตรวจค้นหา ดังนี้

Echocardiogram
 
ใช้ในการวินิจฉัย และพยากรณ์โรค รวมทั้งตรวจหาความรุนแรง ติดตามผลการรักษาในโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสามารถวัดขนาด และดูความสามารถในการทำงานของหัวใจ รวมถึงโครงสร้างต่างได้ดี
 
 
Exercise Stress Test
 
คือการให้ผู้ป่วยออกกำลังกายโดยการเดินบนสายพานตามโปรแกรมที่กำหนดเพื่อมุ่งเน้นการตรวจหาภาวะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ หรือขาดเลือดเป็นสำคัญหรืออาจใช้ตรวจหาการเต้น ผิดจังหวะที่เกิดร่วมกับการออกกำลังกายอีกด้วยการทดสอบชนิดนี้ใช้ในการวินิจฉัยแยกโรคในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกได้เป็นอย่างดี
 
 
CIMT
 
Carotid Intima Media Thickness เป็นการตรวจวัดการตีบตันของหลอดเลือดแดงที่คอ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
 
 
EKG
 
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ช่วยในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน หัวใจโต ความผิดปกติของระดับเกลือแร่ในเลือด ฯลฯ
 
 
ABI
 
Ankle-brachial index เป็นการตรวจวิเคราะห์ สมรรถภาพการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย เพื่อเช็คดูว่ามีโรคของหลอดเลือดแดงที่แขน หรือขาตีบหรือไม่
 
 
Tilt Table Test
 
 (การทดสอบภาวะการเป็นลมหมดสติโดยการปรับระดับเตียง) เป็นการตรวจพิเศษเพื่อที่ใช้ทดสอบผู้ป่วย ที่มีอาการเป็นลมโดยไม่ทราบสาเหตุ เพื่อหาทางแก้ไขหรือรักษาให้ถูกต้องต่อไป เนื่องจากอาการเป็นลม หมดสติ เกิดได้จากหลายสาเหตุซึ่งอาจจะมาจากปัญหาทางด้านสมอง หัวใจ ความดันโลหิตต่ำ หรือความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ เป็นสาเหตุของการเป็นลมที่พบบ่อยที่สุด
 
 
24 Hours Ambulatory ECG Recording
 
(การตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง ชนิดพกพา) คือ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง เป็นการติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง ไว้กับตัวท่าน โดยที่ท่านสามารถกลับไปพักที่บ้าน หรือที่ทำงานได้ตามปกติ การตรวจวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อาจจะมีปัญหาใจสั่นผิดปกติเป็นครั้งคราว หน้ามืดคล้ายจะเป็นลมอยู่เสมอ เวียนศีรษะ ใจเต้นแรงผิดปกติเป็นประจำ
 

 ด้วยความปรารถนาดี จากศูนย์หัวใจ รพ.วิภาวดี
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด