☰
ข้อมูลบริการสุขภาพ
ข่าวสุขภาพ
|
โรงพยาบาล
|
justView
×
ข่าวสุขภาพ
โรงพยาบาล [+]
รพ.รายจังหวัด (รัฐ-เอกชน)
รพ.รัฐบาล
รพ.เอกชน
รพ.เอกชน ประกันสังคม
รพ.เอกชน บัตรทอง
รพ.มหาวิทยาลัย
ศูนย์แพทย์มหาวิทยาลัย
สถาบัน/ศูนย์แพทย์
รพ.สังกัดกทม.
ศูนย์สาธารณสุข กทม.
รพ.ศูนย์
รพ.ทั่วไป (จังหวัด)
รพ.ชุมชน (อำเภอ)
รพ.สต.(ตำบล)
รพ.กองทัพ
รพ.สมเด็จพระยุพราช
รพ.จิตเวช
รพ.มะเร็ง
รพ.แพทย์แผนไทย
รพ.รัฐวิสาหกิจ/กระทรวงอื่น
คลินิกรัฐบาล-ศูนย์อนามัย
ข่าวสุขภาพ [+]
ข่าวสุขภาพทั่วไป
ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย
ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ
ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ
สาระความรู้สุขภาพ
กิจกรรม ESG CSR
Health Economy
บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us
เผยแพร่เนื้อหา
สถิติเว็บไซต์
สำรวจความเห็นสุขภาพ
โฆษณา
healthserv.net@gmail.com
@healthserv
เชื้ออีโบลา 8 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับเชื้อไวรัสอีโบลา ที่กำลังระบาดหนักในแอฟริกาตะวันตก
เชื้ออีโบลา 8 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับเชื้อไวรัสอีโบลา ที่กำลังระบาดหนักในแอฟริกาตะวันตก ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลาแล้วนับพัน เสียชีวิตแล้วกว่า 600 ราย ทำความรู้จักกับเชื้อไวรัสอีโบลา ไวรัสมรณะติดแล้วถึงตายไปพร้อม ๆ กัน
Home
/
ความรู้สุขภาพ
/
Update: 11.06.2563
เชื้ออีโบลา กับ 8 เรื่องที่คุณควรรู้
เชื้ออีโบลา 8 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับเชื้อไวรัสอีโบลา ที่กำลังระบาดหนักในแอฟริกาตะวันตก ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลาแล้วนับพัน เสียชีวิตแล้วกว่า 600 ราย ทำความรู้จัก
กับเชื้อไวรัสอีโบลา ไวรัสมรณะติดแล้วถึงตายไปพร้อม ๆ กัน
อีโบลา เป็นเชื้อไวรัสมรณะที่กำลังระบาดหนักในแอฟริกาตะวันตก จนทำให้นายแพทย์ชีคห์ อูมาร์ ข่าน ผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้นำในการต่อต้านเชื้ออีโบลา ป่วยจากการติดเชื้อเสียเองและเสียชีวิตลงในที่สุด ซึ่งปัจจุบันนี้การระบาดยังคงเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อกว่า 1,300 คน เสียชีวิตแล้วกว่า 600 ราย เชื้อไวรัสอีโบลาระแพร่จากคนสู่คนได้ง่ายและความรุนแรงของโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีสิทธิ์เสียชีวิตสูงถึง 50%-90% เราจึงจำเป็นที่จะต้องทำความรู้จักเชื้อไวรัสมรณะนี้ให้มากขึ้น และนี่คือ 8 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับเชื้อไวรัสอีโบลา ที่เรานำมาฝากจากเว็บไซต์ฮัฟฟิงตันโพสต์ ค่ะ
1. เชื้ออีโบลา ระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519
เชื้อไวรัสมรณะระบาดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศซูดานและซาร์อี (ปัจจุบันคือ คองโก) ในปี 2519 และถูกตั้งชื่อว่า "อีโบลา" ตามชื่อแม่น้ำในทวีปแอฟริกา นอกจากนี้ก็ยังมีรายงานการระบาดให้ประเทศอื่น ๆ ทั่วแอฟริกา อาทิ คองโก ไอวอรี่โคสต์ ยูกันดา ซูดานใต้ กาบอง กินี และไลบีเรีย
2. เชื้ออีโบลา มี 5 สายพันธุ์
เชื้อไวรัสอีโบลามีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ตั้งชื่อตามสถานที่ที่เกิดการระบาด ได้แก่ อีโบลา-ซาร์อี (Ebola-Zaire), อีโบลา-ซูดาน (Ebola-Sudan), อีโบลา-โกตดิวัวร์ (Ebola-Côte d’Ivoire), อีโบลา-เรสตัน (Ebola-Reston) และ อีโบลา-บันดิบูเกียว (Ebola-Bundibugyo) โดยสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอย่างหนักในแอฟริกาตะวันตกขณะนี้ คือ อีโบลา-ซาร์อี และยังมีสายพันธุ์ อีโบลา-เรสตัน ที่เชื้อไม่ทำให้เกิดความเจ็บป่วยในมนุษย์
3. ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคอีโบลามักเสียชีวิต
จากสถิติผู้ป่วยโรคอีโบลาสายพันธุ์ซาร์อีในตอนนี้ มีโอกาสเสียชีวิตสูงถึง 80%-90%
4. ไวรัสอีโบลา แพร่เชื้อจากคนสู่คน
เชื้อไวรัสอีโบลาสามารถแพร่ได้จากคนสู่คน ผ่านการสัมผัสถูกสารคัดหลั่งจากตัวผู้ป่วย เช่น น้ำมูก น้ำลาย เลือด เหงื่อ ปัสสาวะ หรืออสุจิ รวมถึงการสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น ราวจับประตู ลูกบิดประตู ปุ่มลิฟต์ ตลอดจนการสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อไวรัสดังกล่าว โดยเชื่อว่าค้างคาวผลไม้ ซึ่งเป็นสัตว์ที่ชาวแอฟริกานิยมจับทำอาหาร เป็นพาหะในการแพร่เชื้อ ซึ่งทางองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ออกเตือนให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แพร่ระบาดงดล่าและนำค้างคาวมาประกอบอาหารแล้ว
5. อีโบลา ไม่สามารถวินิจฉัยได้แน่นอนจากอาการแรกเริ่ม
การวินิจฉัยผู้ป่วยที่ติดเชื้ออีโบลาในช่วงแรกอาจเป็นไปได้ล่าช้า เนื่องจากอาการผื่นและตาแดง ซึ่งเป็นอาการแรกเริ่มของโรค ก็เป็นอาการของความเจ็บป่วยชนิดอื่นได้เช่นกัน ส่งผลให้การวินิจฉัยโรคในระยะแรกที่ติดเชื้อนั้นไขว้เขวหรือไม่แม่นยำ อย่างไรก็ดี ในตอนนี้มีกระบวนการตรวจสอบเชื้อซึ่งจะทราบผลอย่างแม่นยำได้ในไม่กี่วันหลังมีอาการ
6. ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มแสดงอาการหลังรับเชื้อแล้ว 8-10 วัน
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มแสดงอาการของโรคอีโบลา หลังได้รับเชื้อไปแล้วประมาณ 8-10 วัน แม้ว่าเชื้อจะมีระยะฟักตัวอยู่ที่ 2-21 วันก็ตาม โดยอาการจะประกอบด้วย มีไข้ ปวดหัว อ่อนเพลีย ท้องเสีย อาเจียน ไม่อยากอาหาร ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อตามร่างกาย ปวดข้อ การติดเชื้อยังทำให้เกิดอาการเลือดออกทั้งจากภายในและภายนอกร่างกาย มีปัญหาในการหายใจ การกลืนอาหาร เจ็บคอ เจ็บหน้าอก ตาแดง สะอึก ไอ มีผื่น นอกจากนี้ อาการเลือดออกที่ตา จมูก หู และปาก นับเป็นอาการที่ชี้ถึงการติดเชื้อที่เด่นชัด
7. การระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบันอยู่ในขั้นรุนแรง
ปกติแล้ว การระบาดของโรคอีโบลา มักเกิดขึ้นในพื้นที่ห่างไกล แต่การระบาดที่เป็นอยู่ในปัจจุบันกลับเกิดขึ้นพื้นที่ซึ่งจัดว่าไม่ทุรกันดารนัก โดยในตอนมีการระบุพื้นที่ติดเชื้อต่าง ๆ แล้วกว่า 60 จุด ในประเทศเซียร์ราลีโอน กินี และไลบีเรีย
8. ปัจจุบันยังคงไม่มีวิธีการรักษาหรือวัคซีนป้องกันโรคอีโบลา
ในปัจจุบันยังคงไม่มียาหรือวิธีการเพื่อรักษาโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาโดยเฉพาะ รวมทั้งยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค การรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่ทำได้ในตอนนี้ คือ การรักษาไปตามอาการ คอยรักษาระดับของเหลวและอิเล็กโตรไลท์ในร่างกายในสมดุล รักษาระดับความดันโลหิต ระดับออกซิเจนในเลือด และรักษาตามอาการติดเชื้อต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเท่านั้น
โรคอีโบลา โรคติดเชื้อร้ายแรง ติดแล้วถึงตาย อีกทั้งยังคงไม่สามารควบคุมการแพร่ระบาดได้ในปัจจุบัน แม้ประเทศไทยจะอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการระบาดต่ำ แต่การทราบข้อมูลของเชื้อโรค และการไม่ประมาทที่จะป้องกันตัวเอาไว้ก่อน ย่อมเป็นสิ่งทีดีที่สุด
http://health.kapook.com/view94656.html
ข่าว/บทความล่าสุด
รพ.โรงเรียนแพทย์ ประกาศผู้ป่วยมะเร็งสิทธิบัตรทอง ต้องมีใบส่งตัว เริ่ม 1 มค 68
เลือกเปลี่ยนรพ.ประกันสังคม ปี 2568 ได้แล้ว ผ่าน 4 ช่องทาง
บอร์ดประกันสังคม เห็นชอบให้ผู้ประกันตนรักษามะเร็งได้ทุกที่ (SSO Cancer Care)
ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเสี่ยงเกิดอันตรายจริงไหม? รู้ก่อนทำเพื่อผลลัพธ์ดวงตาที่สดใส มาพร้อมความปลอดภัย
ทำอย่างไรเมื่อรู้สึกว่าเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง? พร้อมวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น
นครธนมินิมาราธอน ครั้งที่ 14 วิ่งด้วยความรัก เพื่อสภากาชาดไทย
อาสาบำรุงราษฎร์ ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ส่งท้ายปี 2567 ชุมชนคุ้งบางกะเจ้า
บำรุงราษฎร์ มอบอุปกรณ์การแพทย์ ให้รพ.เพชรบูรณ์ และศูนย์สุขภาพชุมชนเก้าดาว
โครงการรีไซเคิลถุงน้ำยาล้างไต Baxter Kidney Care คว้ารางวัล AMCHAM Awards ปี 2024
ฟูจิฟิล์ม หนุนตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในพื้นที่ห่างไกล
Wi-Fi 6 GHz โครงการนำร่องสุดล้ำที่ รามา อนาคตการรักษาพยาบาล
งานประชุม Vaccine World Asia Congress 2024
ดันนโยบาย 1 จังหวัด 1 โรงพยาบาล เลิกบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า
ไทยตั้งเป้า ลดเจ็บ-ตายจากอุบัติเหตุทางถนนลงร้อยละ 50 ภายในปี 2573 ตามปฏิญญาสตอกโฮล์ม
4 มาตรการคุมแอลกอฮอล์ ปีใหม่ 2568 เน้นย้ำ “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ”
[ ทั้งหมด]
เนื้อหาอ่านล่าสุด
เชื้ออีโบลา 8 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับเชื้อไวรัสอีโบลา ที่กำลังระบาดหนักในแอฟริกาตะวันตก
โปรแกรมตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลเกาะสมุย
สื่อความรู้ โรคไข้หวัดนก ฉบับอสม. เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ ดูแลประชาชน
13 เขตสุขภาพของประเทศไทย
โรคแอนแทรกซ์ โรคระบาดร้ายแรงในสัตว์ ที่ติดต่อสู่คนได้
สารสกัดช่อดอกกัญชาพันธุ์ไทย มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์)
การเข้ารับบริการฝากครรภ์และการคลอด โรงพยาบาลรามาธิบดี
งานประเพณีลอยกระทง ปี 2566 ที่ไหนจัดงานบ้าง
รายชื่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) ในจังหวัดสงขลา
ข้อกฏหมาย พ.ร.บ. ฯลฯ ที่เกี่ยวกับ ยาเสพติด @สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม
[บัตรทอง] สถานพยาบาลสิทธิบัตรทอง ปี 2567 ในกทม. รพ.เอกชน-รพ.รัฐบาล
ร่วมบริจาคเศษอลูมิเนียม เพื่อขายเป็นทุนซื้ออลูมิเนียมอย่างดี เพื่อผลิตขาเทียม
ห้องพัก โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
การทำหมันหญิง
การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ
[ทั้งหมด]
🔝