โรคพิษสุนัขบ้า
สาเหตุของโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies Virus) เกิดจากเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า (Rabies Virus) เป็นโรคติดต่อจากสัตว์เลือดอุ่นโดยเฉพาะ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ติดต่อมาสู่คนโดยถูกสัตว์ที่มีเชื้อพิษสุนัขบ้ากัด ข่วน หรือเลีย บริเวณที่มีแผลรอยข่วน หรือน้ำลายของสัตว์ที่มี เชื้อพิษสุนัขบ้าเข้าตา ปาก จมูก สัตว์ที่นำโรคที่สำคัญที่สุดได้แก่ สุนัข แมว และอาจพบในสัตว์อื่นๆ ทั้งสัตว์เลี้ยง เช่น หมู ม้า วัว ควายและสัตว์ป่า เช่น ลิง ชะนี กระรอก กระแต เป็นต้น เมื่อคนได้รับเชื้อแล้ว และไม่ได้รับการป้องกันที่ถูกต้อง ส่วนใหญ่จะมีอาการหลังจากรับเชื้อ 15 – 60 วัน บางรายอาจน้อยกว่า 10 วัน หรือนานเป็นปี เนื่องจากขณะนี้ไม่มียาที่ใช้ในการรักษาโรคพิษสุนัขบ้า ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้จะเสียชีวิตทุกราย ฉะนั้นการป้องกันโรคจึงสำคัญที่สุด
อาการของโรคพิษสุนัขบ้า
อาการที่สำคัญ คือ เริ่มด้วยอาการปวดศีรษะ มีไข้ต่ำ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย อาการที่พบได้บ่อย คือ คันบริเวณบาดแผลที่ถูกกัดซึ่งแผลอาจหายสนิทไปนานแล้ว ต่อมาลุกลามไปที่อื่นๆ ผู้ป่วยจะเกามากจนเลือดออกซิบๆ และมีอาการกลืนลำบากเพราะกล้ามเนื้อที่ลำคอและกล่องเสียงหดเกร็งตัว อยากดื่มน้ำแต่กลืนไม่ได้ทำให้มีอาการกลัวน้ำ น้ำลายฟูมปาก บ้วนน้ำลายบ่อยกระวนกระวาย ตื่นเต้น ใจคอหงุดหงิด หายใจเร็ว ประสาทสัมผัสจะไวต่อการกระตุ้น ทำให้ตกใจง่ายและสะดุ้งผวาเมื่อถูกลม หรือได้ยินเสียงดัง กล้ามเนื้อแขนขาเกร็งกระตุก ระยะหลังจะเป็นอัมพาตหมดสติและเสียชีวิตภายใน 2-7 วัน นับจากเริ่มแสดงอาการ
กิจกรรมการทำหมั่นหมาแมวของเทศบาลตำบลบางละมุง
การทำหมันหมา และการทำหมันแมวเพศเมีย
วิธีการทำหมัน มักใช้วิธีตัดทั้งรังไข่และมดลูกออกโดยเรียกวิธีนี้ว่า Ovariohysterectomy หรือ OVH นั่นเอง ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยในสมัยก่อนมีการทำหมันโดยการตัดเฉพาะรังไข่ออกนั้น อาจทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อของมดลูกที่เหลืออยู่และกลายเป็นหนองได้ หรือการตัดเฉพาะมดลูกเพียงอย่างเดียวนั้นจะยังทำให้สุนัขหรือแมวยังมีอาการเป็นสัดและยังยอมรับการผสมพันธุ์จากสัตว์เพศผู้อยู่ เนื่องจากยังมีฮอร์โมนเพศที่สร้างจากรังไข่ที่เหลืออยู่ และปากมดลูกที่เหลือมีโอกาสติดเชื้อเป็นหนองได้เช่นกัน ดังนั้นการทำหมันโดยการตัดทั้งรังไข่และมดลูกออก (Ovariohysterectomy หรือ OVH) นั่น จึงเป็นวิธีที่ใช้ในปัจจุบัน
อายุที่เหมาะสม
อายุที่เริ่มเป็นสัดครั้งแรกขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ พันธุกรรม น้ำหนักตัวความสมบูรณ์พันธุ์ การใกล้ชิดกับตัวผู้ และปัจจัยอื่นๆ โดยทั่วไป การเป็นสัดครั้งแรกอยู่ในช่วง 6- 12 เดือน ดังนั้นอายุที่เหมาะสมแก่การทำหมันคือ 8- 10 เดือน สำหรับสุนัข และ 6-8 เดือน สำหรับแมว เพื่อให้ระบบสืบพันธุ์มีการพัฒนาเต็มที่แล้วสำหรับกรณีที่ต้องการเริ่มทำหมันก่อนวัยเจริญพันธุ์ สามารถทำได้ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปหรือทำวัคซีนครบแล้ว แต่ถ้าทำหมันในสัตว์ที่อายุน้อยกว่านี้จะมีความเสี่ยงในการวางยาสลบ เนื่องจากการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายยังไม่สมบูรณ์
ทำหมันหมาและทําหมันแมวมีข้อดีดังนี้
ข้อดีของการทำหมันก่อนวัยเจริญพันธุ์คือช่วยลด การเกิดเนื้องอกเต้านม เนื่องจากไม่ต้องผ่านภาวะที่ร่างกายอยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้างต่อมน้ำนม
ป้องกันการเกิดมดลูกอักเสบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่อันตรายต่อชีวิตในสัตว์เพศเมีย
แมวเพศเมียที่อยู่ในช่วงเป็นสัดมักจะร้องเสียงดังเกือบตลอดเวลา สร้างความรำคาญให้กับเจ้าของและอาจหนีออกไปหาแมวตัวผู้ ซึ่งมีโอกาสติดโรคกลับมาได้ การทำหมันสามารถจัดการกับปัญหานี้ได้เช่นกัน
การทำหมันหมา และการทำหมันแมวเพศผู้มีด้วยกัน2วิธี คือ
ตัดลูกอัณฑะออกทั้งสองข้าง หรือเรียกว่า castration เป็นวิธีการที่นิยมในสัตว์ เนื่องจากช่วยลด พฤติกรรมทางเพศได้ เช่นการหนีออกจากบ้าน การปัสสาวะเรี่ยราด เพื่อกำหนดอาณาเขตบริเวณ การต่อสู้ ก้าวร้าวกับสัตว์เพศผู้อื่นๆ ช่วยลดความผิดปกติของลูกอัณฑะ อัณฑะอักเสบ การรักษาความผิดปกติของต่อมลูกหมาก เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก และ ต่อมลูกหมากโต (prosthetic gland hyperplasia)
ตัดเพียงท่อน้ำอสุจิออกหรือ vasectomy วิธีนี้เป็นการควบคุมจำนวนประชากรเพียงอย่างเดียว ไม่ลดพฤติกรรมทางเพศที่สร้างความรำคาญแก่เจ้าของสัตว์ เพราะลูกอัณฑะยังมีการสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรนอยู่ แต่วิธีนี้มักจะทำเพื่อคงความสวยงาม โดยสุนัขยังมีลูกอัณฑะอยู่เหมือนปกติ
พบว่าหลังการทำหมันสุนัขตัวผู้หรือทําหมันแมว แม้หลายคนจะมองว่ามีข้อดีคือสัตว์มักมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากสุนัขและแมวของเรามีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่างๆลดลง ซึ่งการที่สัตว์เลี้ยงแสนรักของเราดูอ้วนท้วมขึ้นแม้จะดูน่ารักถูกใจหลายๆคน แต่อย่าลืมเรื่องการคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกินไป โดยการให้อาหารแคลลอรี่ต่ำและพาไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วยเช่นกัน ไม่เช่นนั้นหลังทำหมันแมวอาจจะประสบปัญหากับโรคอ้วนได้
การเตรียมตัวก่อนการทำหมัน
สัตว์เลี้ยงควรมีสุขภาพดี แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยก่อนทำหมันสุนัขหรือทําหมันแมว โดยต้องทำการตรวจร่างกายและตรวจเลือดก่อนทำหมัน โดยสัตวแพทย์ ว่าปกติดีหรือไม่ เพราะบางครั้งสุนัขและแมวบางตัวอาจมีโรคบางชนิดซ่อนอยู่แต่ไม่แสดงอาการ ซึ่งผลเลือดสามารถบอกได้ว่าสุขภาพปกติ แข็งแรงดีหรือไม่ ถ้าผลเลือดออกมาปกติก็สามารถทำหมันได้โดยไม่ต้องกังวล แต่ถ้ามีข้อผิดปกติก็ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตวแพทย์อย่างเคร่งครัดต่อไป
งดอาหารและน้ำ อย่างน้อย 8-12 ชม. ตามที่สัตวแพทย์แนะนำก่อนการผ่าตัดทำหมันเนื่องจากการทำหมันจะมีการวางยาสลบ หากมีน้ำหรือเศษอาหารอยู่ในกระเพาะอาหาร อาจทำให้เกิดการสำลักอาหาร และอุดตันทางเดินหายใจระหว่างการผ่าตัด ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ข่าวและภาพจากเทศบาลบางละมุง