ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ยาที่กินแล้วง่วง ยาที่มีผลต่อการขับขี่ ต้องระวังหากขับรถ

ยาที่กินแล้วง่วง ยาที่มีผลต่อการขับขี่ ต้องระวังหากขับรถ HealthServ.net

เทศกาลสงกรานต์ เป็นช่วงเวลาแห่งการเดินทาง อย.ให้ความรู้ว่า มียาหลายประเภทที่ "กินแล้วง่วง" จึงจำเป็นต้องรู้และระวัง โดยเฉพาะเมื่อต้องขับรถ ขับขี่ยวดยานพาหนะ หรือทำงานกับเครื่องจักร ก็เช่นกัน เพราะจะมีความเสี่ยงเกิดอันตรายสูงขึ้นมาก นอกจากยาที่ทำให้ง่วงซึมแล้ว ยาบางกลุ่มส่งผลให้อ่อนเพลีย วูบ หรือรบกวนการมองเห็นได้เช่นกัน

ยาที่กินแล้วง่วง ยาที่มีผลต่อการขับขี่ ต้องระวังหากขับรถ ThumbMobile HealthServ.net

โดยทั่วไปแล้วเมื่อรับยาจากเภสัชกรจะแจ้งให้ทราบเมื่อรับยาว่ายาเหล่านั้นจะทำให้ง่วงซึม หากไม่แน่ใจควรสอบถามเภสัชกรทันที หากมีความจำเป็นต้องกิน ต้องขอคำปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ อย่างชัดเจน และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด 

ที่ต้องจำและยึดถือเป็นหลักไว้เลย คือ ห้ามกินยา กับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เหล้า เบียร์ ของมึนเมา ห้ามเด็ดขาด  รวมถึงเครื่องดื่มบำรงกำลังก็ไม่ควร


 
 
 
ยาที่กินแล้วง่วง ยาที่มีผลต่อการขับขี่ ต้องระวังหากขับรถ HealthServ

ยาที่มีผลต่อการขับขี่


สำหรับยาที่ไม่ควรกินหรือพึงหลีกเลี่ยง หากต้องขับรถ หรือทำงานกับเครื่องจักร ดังนี้ 
 

1. ยาแอนติฮิสตามีน (Antihistamine) 
ที่รู้จักกันในชื่อ ยาแก้แพ้หรือยาแก้โรคภูมิแพ้ รวมถึงกลุ่มยาแก้เมารถ เช่น คลอเฟนิรามีน พบทั้งชนิดที่เป็นยาเดี่ยวและชนิดผสม ส่งผลให้เกิดการกดประสาท ทำให้ง่วงนอน มึนงง มองไม่ชัด นอกจากไม่ควรใช้ยาก่อนที่จะขับขี่ยานพาหนะแล้วไม่ควรใช้ยาชนิดนี้ร่วมกับการดื่มสุรา หรือยาที่มีฤทธิ์กดประสาทด้วย
 

2. ยาคลายเครียด/ยานอนหลับ/ยารักษาโรคจิตเวช และยารักษาโรคทางระบบประสาทบางชนิด
 เช่น ไดอะซีแพม อัลพาโซแลม ยากลุ่มนี้เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง มีผลต่อร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น เกิดอาการซึมมาก หลับนานผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ส่งผลให้การตัดสินใจล่าช้า มีผลต่อการทำงานของร่างกายในการรับรู้ของอวัยะต่างๆ และสั่งการทำงานของแขนขา ซึ่งหากรับประทานยาในกลุ่มนี้แล้วมาขับขี่ยานพาหนะอาจจะมีอาการง่วงซึมค้างจากยา หรือประสิทธิภาพในการตัดสินใจในการขับขี่ลดลง อาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้
 

3. ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมอนุพันธ์ของฝิ่น
 เช่น ทรามาดอล มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้พบผลข้างเคียงตั้งแต่อาการใจสั่น ความดันโลหิตต่ำ มึนงง ง่วงซึม จนถึงรุนแรง เช่น กดศูนย์การหายใจของร่างกาย กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก ประสาทหลอน จึงควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะด้วยตนเองขณะที่ใช้ยานี้
 

4. ยาแก้ไอหลายชนิดที่เป็นอนุพันธ์ของฝิ่น
 เช่น ยาแก้ไอน้ำดำที่มีส่วนผสมของโคเดอีน จะส่งผลให้คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม ลดประสิทธิภาพในการขับขี่ การใช้ยาในขนาดสูงทำให้การหายใจหยุด ช็อก และหัวใจหยุดเต้น
 

5. ยาคลายกล้ามเนื้อ/แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
 มีผลต่อสารสื่อประสาทในสมอง ลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดตึง ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย จนบางครั้งอาจทำให้แขนขาอ่อนแรง และใช้งานในการควบคุมได้ไม่ดีพอ
 

6. ยาประเภทอื่นๆ
 เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง/ยารักษาโรคหัวใจ และยาหยอดตา ที่มีผลรบกวนการขับขี่ยานพาหนะ


 
ยาที่กินแล้วง่วง ยาที่มีผลต่อการขับขี่ ต้องระวังหากขับรถ HealthServ
  
 

ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันอาการง่วงนอนจากยาขณะขับรถ
 

1. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนในช่วงก่อนและขณะขับรถ โดยสังเกตคำเตือนบนฉลากก่อนใช้ยา เช่น “ยานี้ทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง” หรือ “ควรทดสอบก่อนว่า รับประทานยานี้แล้วไม่ง่วง” เป็นต้น
 
2. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนร่วมกับแอลกอฮอล์  โดยสังเกตคำเตือนบนฉลากก่อนใช้ยา เช่น “ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุราหรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ” หรือ “ยานี้มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่…% ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง”  
 
3. ยาบางชนิดรบกวนการมองเห็น เช่น ยาหยอดตา น้ำตาเทียม แม้จะทำให้ตาพร่ามัวเพียงชั่วคราวแต่ไม่ควรใช้ระหว่างขับรถ
 
4. การใช้ยาที่ทำให้วูบ ใจสั่น หน้ามืด อ่อนเพลีย ซึ่งเกิดจากผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน ยาลดความดันโลหิต ควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรถึงผลข้างเคียงให้ชัดเจน ไม่ควรหยุดยาหรือปรับการใช้ยาเองเพื่อขับรถ แต่ควรหลีกเลี่ยงการขับรถด้วยตัวเอง
 
           ยาที่ส่งผลต่อการขับขี่ยานพาหนะ พบได้ทั้งชนิดที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ซึ่งได้จากโรงพยาบาล และเป็นยาสามัญประจำบ้านที่หาซื้อได้เองตามร้านขายยาและร้านค้าทั่วไป ดังนั้นก่อนใช้ควรอ่านคำแนะนำบนฉลาก และปฏิบัติตามคำเตือนอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยควรเลือกซื้อยาจากร้านขายยาที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง มีเภสัชกรประจำร้านที่ได้มาตรฐาน สามารถให้คำแนะนำการใช้ยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมจะดีที่สุด


ข้อมูลจากอย.
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด