ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เอทิลแอลกอฮอล์ vs เมทิลแอลกอฮอล์ อันไหนกินได้ อันไหนกินแล้วตาย

เอทิลแอลกอฮอล์ vs เมทิลแอลกอฮอล์ อันไหนกินได้ อันไหนกินแล้วตาย Thumb HealthServ.net
เอทิลแอลกอฮอล์ vs เมทิลแอลกอฮอล์ อันไหนกินได้ อันไหนกินแล้วตาย ThumbMobile HealthServ.net

เป็นเรื่องใหญ่เมื่อมีคนตายจากการบริโภคยาดองที่พบว่าใช้ "เมทิลแอลกอฮอล์" มาทำ ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ชนิดที่กินไม่ได้ กินแล้วตาย เรื่องนี้บอกให้รู้ว่า คนยังไม่รู้ว่าแอลกอฮอล์มีความแตกต่างกัน และความต่างนี้สำคัญมากเพราะมันอันตรายอย่างรุนแรงมากถึงชีวิต

        กรมการแพทย์เตือนพบผู้ดื่มสุราเถื่อน เสี่ยงตาบอด เลือดเป็นกรด หมดสติและเสียชีวิตกระทันหัน ล่าสุดมีผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลพร้อมกันหลายรายในกรุงเทพมหานคร

        แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กรมการแพทย์ได้รับแจ้งพบผู้ป่วยที่ดื่มสุราเถื่อนมีส่วนผสมที่อันตราย เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โรงพยาบาลราชวิถีและโรงพยาบาลอื่นๆ ในเขตกรุงเทพมหานครพร้อมกันกว่า 10 ราย ด้วยอาการเวียนศีรษะ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียนรุนแรง มีอาการตามองไม่เห็นหรือมองเห็นผิดปกติทั้งสองข้าง อาจมีอาการชักเกร็งกระตุกทั้งตัว ซึม ซึ่งขณะนี้กรมการแพทย์ ได้มีการตั้งศูนย์การประสานงานที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โดยได้มีการประสานงาน หน่วยงานในสังกัดกรมการแพทย์ และหน่วยงาน อื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่นกรุงเทพมหานคร กรมสรรพสามิตในพื้นที่กรุงเทพตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก โดยผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวอยู่ระหว่างการดูแลรักษาของแพทย์พยาบาล รวมถึงได้มีการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนไปยังประชาชนในพื้นที่ให้หลีกเลี่ยงการดื่มสุราเถื่อน เนื่องจากอาจจะเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ การดื่มสุราเถื่อนเสี่ยงทำให้ได้รับสารพิษ อันจะก่อให้เกิดความผิดปกติต่อสมองและระบบประสาทส่วนกลาง เส้นประสาทตา และร่างกายทุกระบบจากภาวะเลือดเป็นกรด เมื่อผู้ป่วยดื่มเหล้าที่มีส่วนผสมของเมทิลแอลกอฮอล์ เมื่อร่างกายมีการดูดซึม เมทิลแอลกอฮอล์จะถูกส่งไปเผาผลาญที่ตับ ซึ่งตัวฟอร์มัลดีไฮด์นี้เป็นพิษสูงต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะระบบประสาทและสมอง
        อาการของผู้ป่วยที่เกิดจากพิษของเมทิลแอลกอฮอล์ มักจะมีประวัติดื่มเหล้าที่ผลิตเอง ยาดอง หรือเหล้าที่ราคาถูกเกินจริง หรือมีส่วนผสมที่เป็นอันตรายอื่น ๆ อาการมักจะเกิดขึ้นหลังจากการดื่มไปแล้ว 16-24 ชั่วโมง เพราะเป็นช่วงเวลาที่มีการสร้างฟอร์มัลดีไฮด์และกรดฟอร์มิก จากกระบวนการเผาผลาญที่เกิดขึ้นในร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการตั้งแต่ อาการแฮงค์เหมือนการดื่มเหล้าทั่ว ไป ร่วมกับมึนเวียนศีรษะ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียนรุนแรง มีอาการตามองไม่เห็นหรือมองเห็นผิดปกติทั้งสองข้าง อาจมีอาการชักเกร็งกระตุกทั้งตัว ซึม และเสียชีวิตจากภาวะเลือดเป็นกรดรุนแรงและระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานล้มเหลว

        ทั้งนี้ เนื่องจากอาการของผู้ป่วยอาจจะไม่จำเพาะเจาะจงมาก ดังนั้น ประวัติจากญาติหรือเพื่อนที่สามารถบอกเล่าพฤติกรรมการดื่ม หรือมีตัวอย่างของเครื่องดื่มมาด้วย จะช่วยให้นึกถึงภาวะนี้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น การรักษาที่รวดเร็ว จะช่วยลดภาวะความผิดปกติทางระบบประสาทและลดอัตราเสียชีวิตได้ จึงขอฝากความห่วงใยไปยังประชาชนทั้งกลุ่มผู้ดื่มและผู้จำหน่ายสุรา ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันป้องกันการได้รับสารพิษาจากเหล้าปลอมและส่วนผสมต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

เอทิลแอลกอฮอล์ กับ เมทิลแอลกอฮอล์ อันไหนกินได้กันแน่

        กรมควบคุมโรค จำแนก แอลกอฮอล์ 2 ประเภท  ดังนี้ 
        1. เอทิลแอลกอฮอล์(เอทานอล)
        ของเหลวไวไฟ ละลายน้ำไม่มีสี มีกลิ่นและ รสขม ได้จากการหมักพืชผลทางการเกษตร เช่น อ้อย กากน้ำตาล กากอ้อย แป้ง มันสำปะหลัง มันเทศ ธัญพืชต่าง ๆ
        ความเป็นพิษต่อร่างกาย : ดื่มเป็นระยะเวลานานจะเกิดโรคพิษสุราเรื้อรัง ตับอักเสบ มะเร็งตับ

       การใช้ประโยชน์ และตัวอย่าง ใช้ทำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์ที่มีแตกต่างกัน


 
        2. เมทิลแอลกอฮอล์ (เมทานอล)
         ของเหลวไวไฟ ละลายน้ำไม่มีสี มีกลิ่นและรส ไม่ต่างจากเอทิลแอลกอฮอล์ได้จากกระบวนการ กลั่นทางปิโตรเคมี
         ความเป็นพิษต่อร่างกาย
        ทางเดินหายใจ : ระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ หลอดลมอักเสบ หายใจลำบาก
        ทางปาก : ปวดท้อง เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก และเสียชีวิตได้
        ทางตา : ระคายเคืองเยื่อบุตา การมองเห็น ผิดปกติ อาจทำให้ตาบอด


        การใช้ประโยชน์ และตัวอย่าง ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น สีทาไม้ น้ำยาลอกสี น้ำมันเคลือบเงา

 
         คำแนะนำสำหรับประชาชน เมื่อต้องเลือกซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ควรซื้อเหล้าจากร้านที่เชื่อถือได้ มีแสตมป์สรรพสามิตที่ขวด
  • ขวดต้องไม่มีการนำมาแยกบรรจุใหม่
  • ไม่มีการใช้ขวดเครื่องดื่มอื่นๆ มาบรรจุแทน ฉลากต้องชัดเจน
  • หากพบว่า เหล้ามีสี กลิ่น รสชาติเปลี่ยนไปจากเดิม ขุ่นหรือมีตะกอนไม่ควรดื่ม
 

ภาวะพิษจากเมทานอล

        เมทานอล เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง ไม่มีสี ระเหยง่าย ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสารเคมี และตัวทำละลาย ไม่เหมาะสมสำหรับการบริโภคเนื่องจากมีความเป็นพิษสูง

ช่องทางรับสัมผัส และผลกระทบด้านสุขภาพ
  • ทางจมูก  ระคายเคืองทางเดินหายใจ วิงเวียน ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย และหายใจลำบาก
  • ทางตา ตาแดง ปวดตา ตาพร่ามัว
  • ทางผิวหนัง ผิวแห้งและแดง
  • ทางปาก ระคายเคืองทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ชัก หมดสติ และเสียชีวิตได้ 

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 
  • หากสูดดมเข้าไป ให้ย้ายผู้ป่วยไปยังบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์
  • หากสัมผัสผิวหนัง ล้างด้วยสบู่และน้ำปริมาณมาก ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนออกทัน
  • หากสัมผัสดวงตา ล้างตาด้วยน้ำสะอาด อย่างน้อย 20 นาที
  • หากกิน บ้วนปากด้วยน้ำสะอาด อย่าทำให้อาเจียนเอง รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
     
การป้องกันสำหรับประชาชน
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคเหล้ายาดอง รวมทั้งสุราที่ไม่ได้รับอนุญาตจากกรมสรรพสามิต
  • หากพบว่า มีสี กลิ่น รสเปลี่ยนไป จากเดิม ขุ่นหรือมีตะกอนไม่ควรดื่ม
  • ใช้เมทานอลในบริเวณที่มีการระบายอากาศ
  • สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงมือ แว่นตา และหน้ากาก ในการใช้เมทานอล
 

รู้จัก เอทิลแอลกอฮอล์ vs เมทิลแอลกอฮอล์ และไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์

        แอลกอฮอล์ เป็นสารอินทรีย์ที่มีองค์ประกอบหลักคือธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และอ๊อกซิเจน ส่วนมากผู้คนจะคุ้นหูกับแอลกอฮอล์ที่มีการนำมาใช้งานอยู่ 3 ชนิด คือ เมทิลแอลกอฮอล์ เอทิลแอลกอฮอล์ และไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์

       เมทิลแอลกอฮอล์  หรือ เมทานอล (Methanol)
  • ผลิตจาก กระบวนการทางเคมี 
  • การนำไปใช้ เพื่อเป็นต้วทำละลายในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เช่น สีทาไม้ น้ำมันเคลือบเงา ยาลอก
  • พิษต่อร่างกาย  หากดื่มเข้าไป จะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เห็นภาพไม่ชัด มีผลต่อประสาทตา และอาจทำให้ตาบอดได้ หอบเหนื่อย หายใจเร็ว ทำให้ไตอักเสบ หรือ โลหิตเป็นพิษ  ซึ่งอันตรายถึงชีวิต


       เอทิแอลกอฮอล์ หรือ เอทานอล (Ethanol)
  • ผลิตจาก กระบวนการหมักพืชผลทางการเกษตรที่มีองค์ประกอบของแป้งหรือนำ้ตาลสูง และกลั่นให้บริสุทธิ์ 
  • การนำไปใช้ นำไปบริโภคหรือใช้ทางการแพทย์ได้
  • พิษต่อร่างกาย  ทำให้ผิวแห้ง แต่ไม่ระคายเคือง  บริเวณเยื่อบุจมูก คอ และตา แต่จะน้อยกว่า ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์


       ไอโซโพรทานอล (Isopropanol)
  • ผลิตจาก การเติมน้ำไปในแก๊สโพรพีน ด้วยกลไกทางเคมี ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการทางปิโตรเคมี
  • สามารถนำมาใช้ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคบนพื้นผิวอุปกรณ์ต่างๆ ได้
  • พิษต่อร่างกาย  ทำให้ระคายเคืองผิวหนัง ผิวแห้ง แตกลอก เกิดผื่นแพ้ ระคายเคืองเยื่อบุตา และเป็นแผลที่กระจกตา

พิษจากเมทานอล หรือสุราเถื่อน

    สุรา/เหล้าเถื่อน ส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มสุราที่มี สารเมทานอลปนเปื้อนอยู่ มักจะพบในสุราปลอม หรือ เหล้าเถื่อนที่ต้มกลั่นเอง

     สารเมทอล (Methanol หรือ Wood alcohol)  จะเป็นแอลกอฮอล์ชนิดเชื้อเพลิง เป็นสารพิษที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม ไม่ควรนำมาบริโภค   

     อาการ 
  • มีอาการแฮงค์เหมือนดื่มเหล้าทั่วไป ร่วมกับมึนเวียนศรีษะ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง 
  • มีอาการตาพร่ามัว อาจมองไม่เห็น หรือมองเห็นผิดปกติทั้งสองข้าง
  • อาจมีอาการชักเกร็ง กระตุกทั้งตัว ซึม และ เสียชีวิต  จากภาวะเลือดเป็นกรดรุนแรง และระบบร่างกายต่างๆ ทำงานล้มเหลว 
     การรักษา   ทำได้โดยการประคับประคอง และอาจร่วมการรักษาโดยใช้เอทานอล ซึ่งไม่ได้เป็นยาต้านพิษโดยตรง เพียงแต่จะชะลอการเกิดพิษของเมทานอล  

    สิ่งที่ช่วยได้ดีที่สุดคือ การล้างไต 

วิธีจำแนกแอลกอฮอล์ทั้ง 3 ชนิด

 

พิษจากเมทานอล หรือสุราเถื่อน

 

แพทย์เตือนสุราเถื่อน (เมธานอล)

 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด