เขตลาดกระบัง ขอเชิญชวนผู้สูงอายุ เข้ารับสมัครคัดเลือกเป็น "คลังปัญญาผู้สูงอายุดีเด่น กทม."
เนื่องด้วย "โครงการเสริมพลังคลังปัญญาเพื่อคนทุกวัย" ประจำปี 2565 กรมกิจการผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่อง เชิดชูเกียรติ สร้างขวัญกำลังใจ และเสริมพลังให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมด้วยภูมิปัญญา โดยสามารถนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ มาทำประโยชน์ให้แก่สังคม เป็นผลให้เกิดความภาคภูมิใจในการต่อยอดและพัฒนาการดำเนินงาน รวมทั้งสามารถนำไปบูรณาการร่วมกับกรมกิจการผู้สูงอายุได้ นั้น
ทางโครงการ ต้องการสรรหาผู้สูงอายุที่เป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม ทั้งด้านสุขภาพดี ประพฤติดี มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น "คลังปัญญาผู้สูงอายุดีเด่นกรุงเทพมหานคร" ต่อไป
จึงขอเชิญชวน ผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เข้ารับสมัครคัดเลือก
- มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป และอาศัยอยู่ใน กทม.
- มีพฤติกรรมเป็นแบบอย่างที่ดี อยู่ในศีลธรรมอันดี อุทิศตนเพื่อสังคม
- มีความรู้ ภูมิปัญญา ในสาขาภูมิปัญญา 23 ด้าน โดยระบุรายละเอียดความเชี่ยวชาญอย่างชัดเจน
- มีผลงานเผยแพร่ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ภูมิปัญญา ต่อชุมชนและสังคมแบบประจักษ์ และรับรู้โดยทั่วไปไม่น้อยกว่า 1 ปี และยังคงบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมถึงปัจจุบัน
ผู้ได้รับการคัดเลือก จะได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณคลังปัญญาผู้สูงอายุดีเด่นกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2565 จากกรมกิจการผู้อายุ 1 รางวัล
ประกาศรางวัล ในวันที่ 31 สิงหาคม 2565 ทางเว็บไซต์กรมกิจการผู้สูงอายุ
มาร่วมคัดเลือกเพื่อเป็นคลังปัญญาผู้สูงอายุดีเด่นกรุงเทพมหานคร กันนะคะ
"สูงวัยอย่างสง่า สมทักษะ สมคุณค่า สมภูมิปัญากรุงเทพมหานคร"
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมกิจการผู้สูงอายุ กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ โทร. 0 2642 4339 ต่อ 303
รายละเอียดสาขาภูมิปัญญา 23 ด้าน
1. ด้านการศึกษา ได้แก่ ผู้มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ต่าง ๆ โดยไม่หวงวิชาทั้งด้านทฤษฎี และปฏิบัติ ทำให้ผู้เรียนเข้าใจ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้และเป็นผู้ที่ศึกษาทาความรู้ รวบรวมข้อมูลถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นได้
2. ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาของคนในชุมชน
โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองทางด้านสุขภาพ และอนามัยได้ เช่น ยาสมุนไพร การนวดแผนโบราณ การดูแลรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้าน เป็นต้น
3. ด้านเกษตร ได้แก่ ความสามารถในการผสมผสาน องค์ความรู้ ทักษะและเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าทางสังคม ซึ่งคนสามารถพึ่งพาตนเองในสภาวการณ์ต่างๆ ได้ เช่น การทำเกษตรแบบผสมผสาน การแก้ปัญหาการเกษตร ด้านตลาด การแก้ปัญหาด้านการผลิต เป็นต้น
4. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวตล้อม ได้แก่ ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งการอนุรักษ์การพัฒนา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งเวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน เช่น การอนุรักษ์ป่าชายเลน การปลูกและใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก
5. ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการประดิษฐ์ หรือคิดค้นสิ่งของวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือใช้ในการประกอบอาชีพหารายได้ หรือนำแนวคิดทางด้านวิทยาศาสตร์ ถ่ายทอดให้ผู้อื่นไปใช้ในชีวิตซึ่งมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เช่น วิธีการแช่อิ่มอาหาร
โดยสารจากธรรมชาติ การย้อมสีผ้าโดยธรรมชาติ เป็นต้น
6. ด้านวิศวกรรม ได้แก่ ความสามารถในการสร้างหรือประดิษโครงสร้างขนาดใหญ่ หรือการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ อาจนำหลักการทางวิศวกรรมมาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน หรือประชาชนในพื้นที่ เช่น
การทำเขื่อน หรืออ่างเก็บกักน้ำ เป็นต้น
7. ต้านสถาปัตยกรรม ได้แก่ ความสามารถในการผสมผสานความรู้ประสบการณ์ในการตกแต่ง ออกแบบประดิษฐ์วัสดุอุปกรณ์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของโครงสร้าง หรือสถานที่ ที่มีความเฉพาะ หรือเป็นเอกลักษณ์
8. ด้านการพัฒนาสังคม ได้แก่ การพัฒนาชุมชน การจัดสวัสติการชุมชน การสังคมสงเคราะห์ ได้แก่ ความสามารถช่วยเหลือทางด้านสังคม การเยี่ยมเยียนคนยากจน คนด้อยโอกาส การจัดเวทีประชาคมแลกเปลี่ยน
เรียนรู้และแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชุมชนร่วมกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาชุมชน พื้นที่ให้มีความเจริญมั่นคงต่อไป
9. ด้านกฎหมาย ได้แก่ ความสามรถในการนำประสบการณ์ ความรู้ต้านกฎหมายใช้ให้เกิดประโยชน์ในชุมชน ช่วยเหลือผู้มีปัญหาด้านกฎหมายต่างๆ
10. ด้านการเมืองการปกครอง ได้แก่ ความสามารถเป็นผู้นำในการปกครองพื้นที่ ชุมชนรักษาความสงบในพื้นที่ให้อยู่อย่างมีความสุข เป็นชุมชนที่พึ่งตนเอง หรือนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับ
เหตุการณ์ปัจจุบัน
11 ด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ได้แก่ ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ สาขาต่างๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม นาฎศิลปั คนตรี ทัตนศิลป์ การอนุรักษ์การสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นให้คงอยู่
12 ด้านศาสนา จริยธรรม ได้แก่ การนำหลักคำสอนทางศาสนา ปรัชญาความเชื่อมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน การถ่ายทอดหลักคำสอนทางศาสนาให้แก่ลูกหลานให้ประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี
13. ด้านพาณิชย์และบริการ ได้แก่ ความสามารถในการพัฒนาการให้บริการดูแลผู้อื่นให้เกิดความพึงพอใจ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพสร้างรายได้ หรือการเพิ่มมูลค่าของหรือสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่เป็นของโบราณ เช่น การทำบายศรีโดยประยุกต์ให้มีความหลากหลาย เป็นที่สนใจมากขึ้น
14. ด้านความมั่นคง ได้แก่ ความสามารถในการปกป้องคุ้มครองประเทศให้ปลอดภัยด้วยวิธี หรือวิธีการที่ได้เรียนรู้ หรือประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมา เช่น ทหารที่ปลดประจำการได้นำความรู้ ระเบียบวินัยต่างๆ มาถ่ายทอดให้แก่เด็กและเยาวชน ทำให้บุคคลเหล่านั้นเป็นพลเมืองดี ไม่สร้างความวุ่นวายให้สังคม
15. ด้านบริหารจัดการและบริหารธุรกิจ ได้แก่ ความสามารถในการประยุกต์ วิธีการหรือจัดการธุรกิจหรือกิจการให้ได้รับผลประโยชน์แก่ตนเอง หรือปันส่วนผลประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้อง และแบ่งให้ได้ผลประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย หรือสามารถถ่ายทอดวิธีการเหล่านี้แก่ผู้อื่นได้
16. ด้านการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ความสามารถในการผลิตสื่อหรือเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์สาระความรู้หรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นด้วยเอกสาร แผ่นพับ การบอกต่อบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาในสมัยโบราณ สมัยก่อนของท้องถิ่นให้คงอยู่
17. ต้านการคมนาคมและการสื่อสาร ได้แก่ การนำความรู้ประสบการณ์ด้านคมนาคม การสื่อสารสมัยก่อน ถ่ายทอดให้ผู้ให้ความสนใจ เช่น ช่องทางการสื่อสาร การรักษาทางน้ำ วิธีการสมัยโบราณให้เป็นการสร้างเส้นทางคมนาคม พาหนะเก็บรักษาไว้ให้คงอยู่
18. ด้านพลังงาน ได้แก่ การนำวัสดุทรัพยากรธรรมชาติ หรือสิ่งทดแทนมาใช้แทนพลังงานที่กำลังจะหมดไป เช่น สบู่ดำทดแทนเชื้อเพลิงถ่านแห่งที่ผลิตจาก แกลบ กะลา และวัสดุต่างๆ ในท้องถิ่น เป็นต้น
19. ด้านต่างประเทศ ประสบการณ์ในการติดต่อเจรจาต่อรองเกี่ยวกับชาวต่างชาติ หรือประสานการดำเนินงานกับต่างประเทส ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จัก หรือนำผลประโยชน์มาให้ประเทศไทย สามารถนำความรู้ ถ่ายทอดให้ผู้อื่นเป็นกลยุทธ์ในการประสานงานกับต่างชาติ
20. ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ได้แก่ การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์อย่างปลอดภัย ประหยัดและเป็นธรรม
21. ด้านภาษา วรรณศิลป์ ได้แก่ ความสามารถด้านภาไทยพื้นถิ่น ไทยดั้งเดิม กาพย์ กลอน โคลง
22. ด้านวาทศิลป์ ได้แก่ การอนุรักษ์การใช้พูดภาษาไทยอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามกาลเทศะ ตามประเพณีไทย
23. ด้านอื่นๆ ได้แก่ ภูมิปัญญาที่นอกเหนือจากภูมิปัญญา 22 ด้านข้างต้น