"อาการนอนกรน" เป็นสิ่งที่ทุกคนรู้จักอย่างดีแต่มีเพียงน้อยรายที่จะรู้ว่า เสียงกรนนั้นเป็นอาจจะเป็นอาการนำ ของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น เนื่องจากภาวะนี้ยังเป็นเรื่องใหม่สำ หรับสังคมไทยประชาชนส่วนใหญ่จึงอาจจะไม่ รู้จักห รือ รู้จักโ รคดังกล่าวแต่เพียงผิวเผิน ทำ ให้คนนอนกรนส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญ จึงละเลยที่จะเข้ารับการตรวจรักษา ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ โดยเฉพาะต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดตามมา นอกจากนี้ยังมีคนนอนกรนหลายรายที่พอจะทราบถึงความสำคัญแต่ยังมีความสับสนไม่เข้าใจถึงวิธีการตรวจ รวมไปจนถึงแนวทางในการรักษา คู่มือฉบับนี้จึงมุ่งหวังที่จะให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจถึงความสำ คัญ สาเหตุรวมไปจนถึงวิธีตรววินิจฉัยและแนวทางการรักษา
สมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย
มูลนิธิโรคนอนกรนและการนอนหลับผิดปกติ
Download (pdf)
บทนำ
เมื่อพูดถึงอาการนอนกรน คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก อาการนอนกรนเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยมากจนอาจจะกล่าวได้ว่า ไม่มีใครเลยที่ไม่เคยได้ยินเสียงกรนจากคนใกล้ชิด ดังนั้นใครก็ตามเมื่อได้ยินเสียงดังกล่าวแม้จะไม่ได้เห็นต้นเสียง ก็สามารถบอกได้ทันทีว่าเป็น “เสียงกรน” และคิดต่อไปโดยทันทีว่าเจ้าของเสียงกำลังหลับสนิท คนส่วนใหญ่เห็นเป็นเรื่องปกติเพราะพบได้บ่อยมากและกลับเห็นเป็นเรื่องตลกขบขัน นำ มาล้อเลียนกันในตอนเช้า แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่าเสียงกรนเหล่านี้ จริงๆเป็นสัญญาณขอความช่วยเหลือจากเจ้าของเสียง ที่เรียกร้องให้คนใกล้ชิดหรือผู้พบเห็นได้ช่วยบอกเจ้าของเสียงว่า การหลับของเขานั้นไม่เคยจะสนิทเลยเนื่องจากการหายใจขณะหลับของเขากำลังมีปัญหา
รายชื่อผู้แต่ง
- แพทย์หญิงคุณนันทา มาระเนตร์
สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค
ภาควิชาอายุรศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- แพทย์หญิงพิมล รัตนาอัมพวัลย์
ศูนย์นิทรรักษ์ศิริราชโรงพยาบาลศิริราช
- นายแพทย์ธีรเดช คุปตานนท์
ศูนย์โรคการนอนหลับ โรงพยาบาลรามาธิบดี
- แพทย์หญิงวิสาข์สิริ ตันตระกูล
ศูนย์โรคการนอนหลับ โรงพยาบาลรามาธิบดี
- นายแพทย์ณัฐพงษ์ เจียมจริยธรรม
ศูนย์นิทราเวชโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- แพทย์หญิงกัลยา ปัญจพรผล
สถาบันโรคทรวงอก
- แพทย์หญิงนฤชา จิรกาลวสาน
ศูนย์นิทราเวชโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ