ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

วัคซีนพื้นฐาน วัคซีนทางเลือก วัคซีนสำหรับผู้เดินทางระหว่างประเทศ

วัคซีนพื้นฐาน วัคซีนทางเลือก วัคซีนสำหรับผู้เดินทางระหว่างประเทศ Thumb HealthServ.net
วัคซีนพื้นฐาน วัคซีนทางเลือก วัคซีนสำหรับผู้เดินทางระหว่างประเทศ ThumbMobile HealthServ.net

วัคซีนพื้นฐาน วัคซีนทางเลือก วัคซีนสำหรับผู้เดินทางระหว่างประเทศ

วัคซีนพื้นฐาน วัคซีนทางเลือก วัคซีนสำหรับผู้เดินทางระหว่างประเทศ HealthServ

ความสำคัญของวัคซีนกับคนในช่วงวัยต่างๆ - สถาบันวัคซีนแห่งชาติ 

เราทราบดีว่า ประโยชน์ของการรับวัคซีนจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ แต่มีอีกหลายคนที่ยังไม่ทราบว่านอกจากวัยเด็กที่ต้องไปรับวัคซีนแล้ว วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุก็มีความจำเป็นที่ต้องไปรับวัคซีนเพื่อให้แอนติบอดี้สร้างภูมิคุ้มกันลดการเจ็บป่วย
  • กลุ่มแรกที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ต้องไปรับวัคซีนตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์และขณะกำลังตั้งครรภ์ เพราะจะช่วยให้คุณแม่และทารกในครรภ์ได้รับวัคซีนที่เป็นประโยชน์ โดยวัคซีนที่จำเป็นต้องรับก่อนการตั้งครรภ์คือ วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน
  • ส่วนกลุ่มเด็กทารกแรกเกิดและเด็กก่อนวัยเรียน ถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่พ่อแม่ต้องคอยหมั่นพาไปรับวัคซีนอยู่เสมอ เพราะปัจจุบันเชื้อโรค หรือโรคติดเชื้อเกิดขึ้นใหม่ทุกปี จึงมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ง่าย การรับวัคซีนให้ในวัยเด็ก จึงจะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ง่ายและการแพร่กระจายเชื้อโรค
  • ในกลุ่มนักเรียนและเด็กวัยรุ่น เป็นกลุ่มที่ควรได้รับวัคซีนเพื่อให้เกิดการกระตุ้นภูมิคุ้มกันซ้ำ โดยวัคซีนที่ควรได้รับเพิ่มเติมคือ วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV)
  • พอเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เมื่อเวลาผ่านไปภูมิคุ้มกันในร่างกายก็จะลดลง จนไม่อาจที่จะป้องโรคได้ จึงควรได้รับวัคซีนเพื่อกระตุ้นระดับภูมิคุ้มกัน อาทิ วัคซีนโรคบาดทะยัก หรือวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
  • ในกลุ่มผู้สูงอายุ ลูกหลานต้องให้ความสำคัญพาคนที่คุณรักไปรับวัคซีนเนื่องจากอายุที่มากขึ้น ภูมิต้านทานก็จะต่ำลงทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม และโรคบาดทะยัก ซึ่งจะพบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ และมักมีอาการรุนแรงใช้เวลารักษานาน
เมื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ปฏิเสธไม่ได้ว่าวัคซีนมีความจำเป็นและสำคัญทุกกลุ่มอายุ นอกจากจะช่วยป้องกันโรคหรือลดความรุนแรงของโรคแล้ว ยังเป็นการลดต้นทุนทางด้านสุขภาพให้กับประเทศ เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของตัวเอง และลดปัญหาการระบาดในครอบครัว ในโรงเรียน และในชุมชนได้ ดังนั้นจึงควรติดตามข้อมูลข่าวสาร และหาโอกาสไปรับวัคซีนที่จำเป็นอยู่เสมอ

EPI program : วัคซีนพื้นฐาน

กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดบริการวัคซีนพื้นฐานที่เด็กไทยทุกคนควรได้รับ โดยเน้นวัคซีนป้องกันโรค ที่เป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งในปัจจุบันประกอบด้วยวัคซีน 8 ชนิด ได้แก่ วัคซีนวัณโรค (BCG) วัคซีนตับอักเสบบี (HB) วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB) วัคซีนโปลิโอ (OPV) วัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR) วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (JE) วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP) และวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก (dT) โดยกระทรวงสาธารณสุขจัดระบบบริการเพื่อให้เด็กทุกคนในประเทศได้รับวัคซีนตามกำหนด โดยให้สถานบริการ สาธารณสุขของรัฐเป็นหน่วยบริการหลัก ทั้งนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรับผิดชอบ ในการจัดหาวัคซีน และกระจายวัคซีนจากส่วนกลางไปยังคลังวัคซีนระดับอำเภอทุกแห่งโดยตรง วัคซีนที่กำหนดไว้ใน แผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในประเทศต่างๆ อาจแตกต่างกันขึ้นกับการพิจารณาของแต่ละประเทศเกี่ยวกับ อุบัติการณ์ ความรุนแรงของโรค ประสิทธิภาพของวัคซีน ราคาของวัคซีน และสถานการณ์โดยรวมของวัคซีนในประเทศ ในอนาคตแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค อาจปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้โดยขยายเพิ่มชนิดของวัคซีน ขยายกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งปรับเปลี่ยนกำหนดการให้วัคซีน ทั้งนี้โดยพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างเหมาะสม

กำหนดการให้วัคซีนตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2560

อายุ วัคซีนที่ให้ ข้อแนะนำ
แรกเกิด BCG (บีซีจี) ฉีดให้เด็กก่อนออกจากโรงพยาบาล
HB1 (ตับอักเสบบี) HB1 ควรให้เร็วที่สุดภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
1 เดือน HB2 (ตับอักเสบบี) เฉพาะรายที่เด็กคลอดจากมารดาที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี
2 เดือน DTP-HB1 (คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี)
OPV1 (โปลิโอชนิดหยอด)
 
4 เดือน DTP-HB2 (คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี)
OPV2 (โปลิโอชนิดหยอด) , IPV1 (โปลิโอชนิดฉีด)
ให้วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด 1 เข็ม พร้อมกับวัคซีนโปลิโอชนิดหยอด 1 ครั้ง
6 เดือน DTP-HB3 (คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี)
OPV3 (โปลิโอชนิดหยอด)
 
9 เดือน MMR1 (หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน) หากไม่ได้ฉีดเมื่ออายุ 9 เดือน ให้รีบติดตามฉีดโดยเร็วที่สุด
1 ปี LAJE1 (ไข้สมองอักเสบเจอีเชื้อเป็น)  
1 ปี 6 เดือน DTP4 (คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน)
OPV4 (โปลิโอชนิดหยอด)
 
2 ปี 6 เดือน LAJE2 (ไข้สมองอักเสบเจอีเชื้อเป็น)
MMR2 (หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน)
 
4 ปี DTP5 (คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน)
OPV5 (โปลิโอชนิดหยอด)
 
7 ปี (ป.1) MR (หัด-หัดเยอรมัน) เฉพาะรายที่ได้รับไม่ครบตามเกณฑ์
HB (ตับอักเสบบี) เฉพาะรายที่ได้รับไม่ครบตามเกณฑ์
LAJE (ไข้สมองอักเสบเจอีเชื้อเป็น) เฉพาะรายที่ได้รับไม่ครบตามเกณฑ์
IPV (โปลิโอชนิดฉีด) เฉพาะรายที่ได้รับไม่ครบตามเกณฑ์
dT (คอตีบ-บาดทะยัก), OPV (โปลิโอชนิดหยอด) เฉพาะรายที่ได้รับไม่ครบตามเกณฑ์
BCG (บีซีจี) 1. ให้ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานว่าเคยได้รับเมื่อแรกเกิด และไม่มีแผลเป็น
2. ไม่ให้ในเด็กติดเชื้อเอชไอวี ที่มีอาการของโรคเอดส์
11 ปี
(นักเรียนหญิง ป.5)
HPV1, HPV2 (เอชพีวี) ให้ 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 6 เดือน (จังหวัดที่ได้รับการสนับสนุนวัคซีนกระทรวงสาธารณสุขจะได้แจ้งให้พื้นที่ทราบต่อไป)
12 ปี (ป.6) dT (คอตีบ-บาดทะยัก) ตามแผนปฏิบัติงานของกระทรวงสาธารณสุขฉีดให้เด็กนักเรียนชั้น

Optional Vaccine : วัคซีนทางเลือก

วัคซีนทางเลือก หรือ วัคซีนเสริม คือ วัคซีนที่มีประสิทธิภาพดี มีประโยชน์ในการป้องกันโรค แต่ไม่ได้อยู่ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข (วัคซีนพื้นฐาน) ดังนั้นเราจะเลือกฉีดหรือไม่ก็ได้ เพราะมีราคาค่อนข้างสูง ซึ่งในปัจจุบัน วัคซีนทางเลือกเหล่านี้ได้มีการพัฒนาโดยการรวมหลาย ๆ วัคซีนในเข็มเดียว จึงทำให้ได้รับหลายภูมิคุ้มกันโรคในเข็มเดียว อีกทั้งยังทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้อีกด้วย 

ตารางคำแนะนำการใช้วัคซีนที่อยู่นอกแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ของกระทรวงสาธารณสุข

ชื่อวัคซีน ผู้ที่ควรได้รับวัคซีน อายุที่ควรได้รับและกำหนดการรับวัคซีน
โรต้า (Rotavirus) - เด็กทั่วไปที่ควรได้รับ โด๊สแรกอายุตั้งแต่ 6 สัปดาห์และไม่เกินอายุ 15 สัปดาห์ - วัคซีนชนิด monovalent หยอด 2 ครั้ง เมื่ออายุ 2, 4 เดือน ห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์ และโด๊สสุดท้ายไม่เกินอายุ 8 เดือน
- วัคซีนชนิด pentavalent หยอด 3 ครั้ง เมื่ออายุ 2, 4, 6 เดือน แต่ละโด๊สห่างกันไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์ และโด๊สสุดท้ายไม่เกินอายุ 8 เดือน
- วัคซีนทั้ง 2 ชนิดสามารถให้พร้อมกับ OPV ได้ หรือ ห่างกันเป็นเวลาเท่าใดก็ได้ และสามารถกินนมแม่ได้
ฮิบ
(Haemophilus influenzae type b)
- เด็กทั่วไปที่มีอายุ 2 เดือน - 2 ปี
- เด็กทุกอายุที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ม้ามทำงานผิดปกติ
- อายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป ฉีด 1-3 เข็ม ห่างกันทุก 2 เดือน ขึ้นกับอายุที่เริ่มให้วัคซีน ดังนี้ :
• กรณีที่ใช้วัคซีนชนิด PRP-T ถ้าอายุที่เริ่มฉีดต่ำกว่า 6 เดือน ให้ 3 เข็ม, อายุ 7-11 เดือน ให้ 2 เข็ม และ อายุ 12-24 เดือน ให้เข็มเดียว
• ฉีดกระตุ้น 1 เข็ม เมื่ออายุ 12-18 เดือน และห่างจากเข็มสุดท้ายอย่างน้อย 2 เดือน โดยเด็กที่แข็งแรงดีอาจไม่ต้องฉีดกระตุ้นก็ได้
• หลังอายุ 24 เดือน ไม่ต้องฉีดยา ยกเว้นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องให้ฉีด 2 เข็มห่างกัน 2 เดือน
อีสุกอีใส
(Varicellazoster)
- บุคคลทั่วไปที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส หรือยังไม่มีภูมิคุ้มกัน โดยให้ได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จนถึงผู้ใหญ่
- ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดหรืออยู่บ้านเดียวกันกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสหรือยังไม่มีภูมิคุ้มกัน ให้ได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป
- บุคลากรทางการแพทย์ ที่ยังไม่เคยเป็นโรค หรือยังไม่มีภูมิคุ้มกัน
- ห้ามให้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องทุกสาเหตุ ยกเว้นผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่มี CD4 มากกว่าร้อยละ 15
- เด็กอายุ 1-12 ปี ให้ 2 เข็ม เข็มแรกแนะนำให้ฉีดเมื่ออายุ 12-18 เดือน เข็มที่ 2 เมื่ออายุ 4-6 ปี แต่ในกรณีที่มีการระบาด อาจฉีดครั้งที่สองก่อนอายุ 4 ปีได้ โดยต้องห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน
- เด็กอายุตั้งแต่ 13 ปี และผู้ใหญ่ให้ 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์
- ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีที่ไม่มีอาการของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง และมี CD4 มากกว่าร้อยละ 15 แนะนำให้ 2 เข็ม ห่างกัน 3 เดือน
ตับอักเสบเอ (Hepatitis A) - บุคคลทั่วไปที่อายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันและมีความเสี่ยงต่อโรคตับรุนแรง เช่น ผู้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง
- ควรพิจารณาให้แก่ผู้ประกอบอาหาร ผู้ที่อยู่ในสถาบันที่มีคนอยู่ด้วยกันเป็นจำนวนมาก เช่น สถานเลี้ยงเด็ก สถานกักกัน กองทัพ ที่อาจเกิดการระบาดของโรคได้บ่อย
- ผู้ที่จะเดินทางไปในที่ที่มีการระบาดหรือมีความชุกของโรคสูง
- อายุ 1 ปี ขึ้นไปฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน
(อายุ 1-18 ปี ฉีดขนาดครึ่งหนึ่งของขนาดในผู้ใหญ่)
นิวโมคอคคัส
(Streptococcus pneumoniae)
ชนิด 23-valent polysaccharide
- บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อนิวโมคอคัสมากกว่าคนปกติหรือรุนแรงกว่าคนปกติที่มีอายุ 2 ปี ขึ้นไป เช่น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยที่ไม่มีม้ามหรือม้ามทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดโดยเฉพาะชนิดเขียวและผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย โรคปอดเรื้อรัง โรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่มีน้ำไขสันหลังรั่ว และผู้ป่วยปลูกถ่าย cochlear - อายุ 2 ปี ขึ้นไป แนะนำให้ฉีดวัคซีน 2 เข็ม ห่างกัน 5 ปี
- อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป แนะนำให้ฉีดวัคซีน 1 เข็ม
นิวโมคอคคัส (Streptococcus pneumoniae)
ชนิด 10-valent conjugate (PCV-10)
และ 13 valent conjugate (PCV-13)
- เด็กปกติที่มีอายุตั้งแต่ 6 สัปดาห์ขึ้นไป จนถึง 5 ปี
- เด็กที่มีความเสี่ยงได้แก่ เด็กทุกอายุที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือมีความเสี่ยงต่อโรค เช่น ไม่มีม้ามหรือม้ามทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดโดยเฉพาะ ชนิดเขียวและผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย โรคปอดเรื้อรัง โรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่มีน้ำไขสันหลังรั่ว และผู้ป่วยปลูกถ่าย cochlear
- ผู้ใหญ่ทุกคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป
- จำนวนครั้งที่ฉีด ขึ้นอยู่กับอายุที่เริ่มฉีด โดยแต่ละเข็มควรห่างกัน 6-8 สัปดาห์ ดังนี้
• ถ้าเริ่มฉีดที่อายุ 2-6 เดือน ให้ 3 ครั้ง
• ถ้าเริ่มฉีดที่อายุ 7-23 เดือน ให้ 2 ครั้ง
• ถ้าเริ่มฉีดที่อายุ 24-59 เดือน ให้ครั้งเดียว ยกเว้นเป็นกลุ่มเสี่ยง ซึ่งควรให้ 2 ครั้ง
• หลังอายุ 5 ปี แนะนำให้เฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยง โดยใช้ PCV-13 2 ครั้ง ห่างกัน 6-8 สัปดาห์
- ควรฉีดเข็มกระตุ้นเมื่ออายุ 12-15 เดือน ถ้าเริ่มให้ก่อนอายุ 1 ปี
- ในเด็กปกติอาจพิจารณาฉีดแบบ 2+1 (รวมเป็นการฉีด 3 เข็ม) คือฉีดเมื่ออายุ 2, 4 และ 12-15 เดือน
- เด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือไม่มีม้ามหรือม้ามทำงานผิดปกติ หลังจากฉีด PCV แล้วตามอายุอันควรดังข้างต้น ควรให้วัคซีนชนิด 23- valent polysaccharide ร่วมด้วยเมื่ออายุ 2 ปี ขึ้นไป อีก 2 เข็ม โดยเข็มแรกห่างจาก PCV โด๊สสุดท้าย 2 เดือน และฉีด 23- valent polysaccharide เข็มที่สองเมื่อ 5 ปีต่อมา
- ผู้ใหญ่อายุ 50 ปี ขึ้นไป ฉีด PCV-13 1 ครั้งเท่านั้น
ไข้กาฬหลังแอ่น
(Neisseria meningitidis)
ชนิด polysaccharide (MPSV 4)
- เฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป และมีข้อบ่งชี้ดังนี้
1. ผู้ที่จะเดินทางไปยังบริเวณที่มีการระบาดของเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นซึ่งมี ซีโรกรุ๊ปที่วัคซีนป้องกันได้ เช่น ผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ และอุมเราะห์ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย
2. กรณีที่มีการระบาดของเชื้อซีโรกรุ๊ปที่มีในวัคซีนเกิดขึ้น
3. กรณีก่อนไปศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษา หรือมหาวิทยาลัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือประเทศอื่นที่กำหนดให้ต้องฉีดก่อนเข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษา
4. มีภาวะภูมิต้านทานต่อเชื้อนี้บกพร่องได้แก่ ภาวะม้ามไม่ทำงานหรือขาดสารคอมพลีเม้นต์ส่วนปลาย
- ฉีดครั้งเดียว
ไข้กาฬหลังแอ่นชนิดคอนจูเกต (MCV4) - MCV4-DT (MenactraTM) ในผู้ที่อายุ 9 เดือน-55 ปี
- MCV4-CRM (MenveoTM) ในผู้ที่อายุ 2-55 ปี
- ข้อบ่งชึ้เหมือน MPSV4 ข้างต้น
- เด็กอายุ 9-23 เดือน ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3 เดือน
- เด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป และผู้ใหญ่ ถ้ามีความเสี่ยงต่อการไปสัมผัสโรคเท่านั้น (ข้อ 1-3) ให้ 1 เข็ม แต่ถ้ามีความเสี่ยงเพราะม้ามไม่ทำงาน หรือขาดสารคอมพลีเม้นต์ให้ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 2 เดือน
- เด็กอายุ 11-18 ปีแข็งแรงดีที่จะไปเรียนในประเทศที่กำหนดให้ต้องฉีดให้ฉีด 1 เข็ม และซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุ 16 ปี ถ้าฉีดเข็มแรกก่อนอายุ 16 ปี โดยต้องห่างจากเข็มแรก อย่างน้อย 2 เดือน
- การฉีดกระตุ้นซ้ำ ควรให้เมื่อยังมีความเสี่ยงโดยฉีด 5 ปี หลังเข็มสุดท้าย กรณีเป็นผู้มีภูมิคุ้มกันในการต้านทานเชื้อนี้บกพร่อง (ข้อ 4) ให้ฉีดทุก 5 ปี
พิษสุนัขบ้า
(Rabies)
- ทุกคนที่ถูกสัตว์กัด
- ผู้ที่มีโอกาสสัมผัสเชื้อพิษสุนัขบ้า เช่น สัตวแพทย์ ผู้ทำงานในห้องปฏิบัติการ หรือผู้เดินทางเข้าไปในถิ่นที่มีโรคพิษสุนัขบ้าชุกชุม
- ฉีดก่อนสัมผัส วันที่ 0, 7, และ 21 (หรือวันที่ 28)
- ฉีดหลังสัมผัส ฉีดเข้ากล้ามวันที่ 0, 3, 7, 14, และ 30 (มีการฉีดหลังสัมผัสแบบเข้าใต้ผิวหนังดูรายละเอียดในเรื่องวัคซีนพิษสุนัขบ้า)

Recommended vaccine for travelers : วัคซีนสำหรับผู้เดินทางระหว่างประเทศ

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันสำหรับผู้เดินทางไปต่างประเทศนับเป็นเรื่องสำคัญ เพราะประเทศจุดหมายที่เรา จะเดินทางไปอาจเกิดโรคระบาดหรือมีโรคติดต่อบางอย่างเป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งผู้เดินทางเข้าไปในประเทศหรือ พื้นที่นั้นๆ อาจจะไม่มีภูมิคุ้มกันโรคนั้นๆ อยู่ทำให้มีความเสี่ยงในการติดโรค และบ่อยครั้งที่ประเทศจุดหมายปลายทาง กำหนดกฎหมายหรือระเบียบในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของผู้เดินทางเข้าประเทศตามความเหมาะสมของตนเอง ดังนั้นผู้เดินทางจึงควรสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคก่อนการเดินทาง โดยควรปรึกษาแพทย์อย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ก่อน การเดินทาง เนื่องจากร่างกายต้องใช้เวลาในการสร้างภูมิคุ้มกันหลังการให้วัคซีน และวัคซีนบางชนิดต้องให้หลายครั้ง ก่อนที่ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันในระดับที่สามารถป้องกันโรคได้
 
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโดยวัคซีนก่อนออกเดินทางแล้ว ไม่ได้หมายความว่า ผู้เดินทางจะปลอดภัยจากโรคติดต่อดังกล่าว ความปลอดภัยของผู้เดินทางจะต้องระวังตัวป้องกันไม่ให้เกิดโอกาสเสี่ยง ต่อการเกิดโรคโดยไม่จำเป็น เช่น การเลือกบริโภคอาหารหรือน้ำที่สะอาดถูกอนามัย
 
ผู้เดินทางกลุ่มพิเศษ
 

ทารกและเด็ก

ทารกและเด็กควรได้รับวัคซีนตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุขให้ครบถ้วน ตามอายุ โดยทั่วไปไม่แนะนำให้เด็กอายุต่ำกว่า 9 เดือน เข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เหลือง เนื่องจากวัคซีน ป้องกันโรคไข้เหลืองจะไม่ให้แก่เด็กก่อนอายุ 9 เดอื น อย่างไรก็ดีในเด็กอายุ 6-8 เดือน ถ้าจำเป็น ต้องเดินทางเข้าไป ในพื้นที่เสี่ยงและไม่สามารถป้องกันไม่ให้ยุงกัดได้ดี อาจพิจารณาให้วัคซีนไข้เหลืองได้ แต่ต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป ส่วนเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือนถือเป็นข้อห้ามในการรับวัคซีนไข้เหลือง
 

วัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว

วัยรุ่นและวัยหนุ่มสาวเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อมากเพราะส่วนใหญ่เดินทางอย่างประหยัด ดังนั้นจึงอาจพักอาศัยในสถานที่ที่มีระบบสุขาภิบาลต่ำกว่ามาตรฐาน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเดินทางที่มีกระเป๋า สัมภาระสะพายหลัง) รวมถึงพฤติกรรมทางเพศและความเสี่ยงอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากฤทธิ์ของแอลกอฮอล์หรือยา คนกลุ่มนี้จึงควรได้รับคำแนะนำให้รับวัคซีนป้องกันโรคที่เหมาะสมก่อนออกเดินทางและระมัดระวังหลีกเลี่ยงโอกาส ติดเชื้อโรคต่างๆ ไปพร้อมกันด้วย
 

ผู้เดินทางเป็นประจำ

ผู้ที่เดินทางเป็นประจำโดยเฉพาะทางเครื่องบินอาจละเลยการดูแลสุขภาพตนเอง การเดินทางที่นับจำนวน ไม่ถ้วนและไม่เคยเกิดปัญหาด้านสุขภาพมาก่อนจึงอาจทำให้ไม่ได้ตรวจตราว่าตัวเองได้รับ การสร้างภูมิคุ้มกันครบถ้วน หรือยัง
 

ผู้เดินทางนาทีสุดท้ายหรือเดินทางกะทันหัน

ผู้เดินทางหลายต่อหลายคนต้องเดินทางกะทันหัน ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะได้รับวัคซีนหลายชนิดในเวลา อันสั้น ถ้าไม่อาจได้รับวัคซีนก่อนจะเดินทางได้ครบถ้วน อาจจะขอรับวัคซีนโด๊สที่เหลือในประเทศปลายทางหลังช่วง เวลาที่เหมาะสมได้
 

หญิงตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ไม่ใช่ข้อห้ามไม่ให้รับวัคซีน ถ้าวัคซีนชนิดนั้นปลอดภัยและมีผลในการป้องกันโรคทั้งมารดา และทารกในครรภ์ แต่ต้องใช้ความระมัดระวังอยู่บ้างในการหลีกเลี่ยงวัคซีนบางชนิดที่อาจเกิดอันตรายต่อทารกใน ครรภ์ได้ วัคซีนทำจากเชื้อตาย, toxoids, polysaccharide และวัคซีน IPV ถือว่ามีความปลอดภัยสำหรับหญิง มีครรภ์ ส่วนวัคซีนเชื้อมีชีวิตอ่อนฤทธิ์ เช่น วัคซีน MMR, BCG, Varicella, วัคซีนป้องกันโรคไข้เหลือง วัคซีน ไทฟอยด์ชนิดกิน, วัคซีนเจอี จะเป็นวัคซีนต้องห้ามเพราะตามทฤษฎีแล้วจะเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ และเป็นวัคซีนที่ต้อง หลีกเลี่ยง แต่ความเสี่ยงและประโยชน์ที่จะได้จากวัคซีนเชื้อยังมีชีวิตต้องแยกพิจารณาเป็นรายๆ เช่น หญิงตั้งครรภ์ ถ้าจำเป็นต้องเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดโรคไข้เหลืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจพิจารณาให้วัคซีนไข้เหลือง
 

ผู้เดินทางสูงอายุ

  • ผู้สูงอายุอาจไม่เคยได้รับวัคซีนที่แนะนำให้ตามปกติ หรือภูมิคุ้มกันที่เคยมีอาจตกต่ำลง ทำให้ไวต่อ การติดเชื้อโรคได้ง่าย เช่น คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก และโปลิโอ เช่นเดียวกับโรคติดเชื้อประจำถิ่นอื่นๆ ในประเทศ จุดหมายปลายทาง
  • ผู้เดินทางที่สูงอายุที่ไม่เคยได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคควรได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันพื้นฐานครบชุด ตั้งแต่ Tdap, IPV และ HB และสำหรับผู้ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคตับอักเสบเอ ควรได้รับวัคซีนดังกล่าวก่อนออกเดินทาง ไปยังประเทศที่กำลังพัฒนา
  • ผู้เดินทางสูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่ จึงควรได้รับวัคซีน ไข้หวัดใหญ่อย่างสม่ำเสมอทุกปี และควรพิจารณารับการฉีดวัคซีน Pnc ด้วย

ผู้เดินทางที่มีปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรัง

ผู้เดินทางที่มีปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น ภูมิคุ้มกันบกพร่องเป็นโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน หรือกำลัง รับรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกันจะมีโอกาสเสี่ยงจากอาการแทรกซ้อนเมื่อได้รับวัคซีนที่เชื้อยังมีชีวิต ดังนั้นจึงต้องแนะนำ ให้หลีกเลี่ยงวัคซีน MMR, OPV, BCG, Varicella, วัคซีนไข้เหลือง และวัคซีนทัยฟอยด์ (ชนิดกิน) ถ้าจำเป็นต้อง เดินทางไปยังประเทศที่ต้องการเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนโรคไข้เหลือง ผู้เดินทางต้องขอหนังสือรับรองจากแพทย์ เพื่อขอยกเว้นการฉีดวัคซีนดังกล่าว
 
ผู้เดินทางที่มีปัญหาหัวใจและระบบการไหลเวียนของเลือด และ/หรือ โรคทางเดินหายใจ หรือ โรคเบาหวาน เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อไข้หวัดใหญ่รุนแรงและเกิดอาการแทรกซ้อนของโรคดังกล่าวด้วย จึงแนะนำให้รับ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกปี และ วัคซีน Pnc ด้วย สำหรับผู้ที่ไม่มีม้าม หรือม้ามไม่ปกติ จะแนะนำให้ รับวัคซีนเพิ่มได้แก่ วัคซีน Hib, Mnc และ Pnc
 
ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ควรได้รับวัคซีนให้ครบถ้วนเช่นเดียวกับคนปกติ รวมทั้งควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ Pnc โดยมีข้อยกเว้นดังต่อไปนี้ :
  • วัคซีน MMR ให้ได้ตามปกติ ยกเว้นถ้าผู้เดินทางมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องมาก (เช่น เป็น HIV ที่มีระดับ CD 4 < 200 เซลล์/มม.3 หรือ < 15% ในเด็ก) ถือเป็นข้อห้ามในการรับวัคซีน
  • วัคซีน BCG ให้ได้เฉพาะผู้ที่ยังไม่มีอาการของโรค (แต่สำหรับคนไทยไม่จำเป็นต้องรับ BCG เพราะมีการให้เป็นวัคซีนพื้นฐานตั้งแต่แรกเกิด เนื่องจากมีความชุกของโรคสูงในประเทศไทย)
  • วัคซีนไข้เหลือง เป็นข้อห้ามในกลุ่มผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องที่มี CD4 น้อยกว่า 200 เซลล์/ตร.มม. ส่วนผู้ที่มี CD4 200-499 เซลล์/ตร.มม. สามารถพิจารณาให้วัคซีนไข้เหลืองได้ถ้าจำเป็นต้องเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง
สถาบันวัคซีนแห่งชาติ
อาคาร 4 ชั้น 5 ตึกสถาบันบำราศนราดูร เลขที่ 38 ซอยติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี 11000
02-580-9729-31

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด