ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เครือข่ายศูนย์ส่งต่อเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน (BMA Home Ward Referral) กรุงเทพมหานคร

เครือข่ายศูนย์ส่งต่อเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน (BMA Home Ward Referral) กรุงเทพมหานคร HealthServ.net

โครงการเครือข่ายศูนย์ส่งต่อเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน (BMA Home Ward Referral Center) เป็นโครงการในการดูแลของกองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุระยะยาว (Long Tem Care) มีระบบการปฏิบัติการพยาบาลที่บ้านแบบ Home Ward ตาม BMA Home Ward Referral Center Service Plan 4.0

เครือข่ายศูนย์ส่งต่อเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน (BMA Home Ward Referral) กรุงเทพมหานคร ThumbMobile HealthServ.net
เป้าหมายของโครงการเครือข่ายศูนย์ส่งต่อฯ BMA Home Ward Referral Center มุ่งการทำงานเชิงบูรณาการของศูนย์บริการสาธารณสุขในทุกมิติ และพัฒนาขยายเครือข่ายระบบส่งต่อผู้ป่วยและผู้สูงอายุต่อเนื่องที่บ้าน  ระหว่าง "ศูนย์บริการสาธารณสุข และ โรงพยาบาลภาคีเครือข่าย"  ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร  ในการร่วมดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) ในลักษณะ Home Ward หรือรักษาตัวที่บ้าน  ที่แม้จะรักษาตัวที่บ้านก็ตาม  แต่จะยังได้รับการดูแลใส่ใจการพยาบาลเหมือนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (Hospital in Home)


เพื่อให้บรรลุความเป้าหมาย บุคลากรจึงเป็นกลไกที่สำคัญที่สุด ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดังนั้นสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้จัดให้มีการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากร ในสายงานพยาบาลสาธารณสุข อย่างต่อเนื่อง  เพื่อสร้างทีมงานเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ เพื่อให้พร้อมในการลงสนามให้บริการประชาชนได้ โดยขอบเขตการฝึกอบรมที่มี อาทิ เช่น 
 
- อบรมพัฒนาความรู้ และทักษะการใช้โปรแกรมการส่งต่อ
ผู้ป่วยและผู้สูงอายุต่อเนื่องที่บ้าน (BMA Home Ward Referral Program) ในกลุ่มเจ้าหน้าที่ ผู้ชำนาญการ พยาบาลของโรงพยาบาลเครือข่าย
 
- อบรมห้องปฏิบัติการพยาบาล พัฒนาศักยภาพการบริหารควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ 
 
- ฝึกอบรมพยาบาลอนามัยโรงเรียน เพื่อดูแลเด็กวัยเรียนร่วมกับชุมชนและโรงเรียน
 
- ฝึกอบรมพยาบาลปฏิบัติการงานศูนย์บริการสาธารณสุขสาขา พัฒนาศักยภาพในการตรวจรักษาโรคเบื้องต้น ทำหัตถการ
 
- ฝึกอบรมพยาบาลเยี่ยมบ้าน พัฒนาศักยภาพการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุแบบประคับประคอง จนถึงระยะท้ายของชีวิตที่บ้าน
 
- ฝึกอบรมเสริมความรู้ความเข้าใจการปฏฺิบัติการพยาบาลสาธารณสุขพื้นฐานในหน่วยปฐมภูมิ
 
 
เมื่อมองจากเนื้อหาในการพัฒนาความรู้แล้ว ทำให้มั่นใจได้ว่า โครงการเครือข่ายศูนย์ส่งต่อเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน (BMA Home Ward Referral Center) จะเป็นกลไกสำคัญด้านสาธารณสุขที่จะดูแลชีวิตชาวกรุงเทพฯ ในอนาคต ที่จะต้องเผชิญกับภาวะสังคมสูงวัยที่แม้จะใกล้เข้ามาทีละน้อยฯ อย่างไม่อาจเลี่ยงได้ แต่กรุงเทพฯ "จะต้องอยู่และเติบโต" ไปกับภาวะนั้นได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
 
ระบบ BMA Home Ward Referral ของ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ (PP&P Excellence) ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่ดูแลภาพใหญ่ระดับประเทศ ในด้านการการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลตาม Care plan ซึ่งในระดับนี้ จะบูรณาการร่วมกันกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)  [กรมอนามัย]
 
 

รู้จัก สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

 
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร มีโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการ
(2) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
(3) กองสร้างเสริมสุขภาพ
(4) กองควบคุมโรคติดต่อ
(5) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(6) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(7) กองสุขาภิบาลอาหาร
(8) สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
(9) กองทันตสาธารณสุข
(10) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
(11) กองการพยาบาลสาธารณสุข
(12) กองเภสัชกรรม
(13) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข
(14-81) ศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 68 แห่ง
 
 
 

รู้จักกองการพยาบาลสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร


กองการพยาบาลสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร [เว็บไซต์] มีหน้าที่ความรับผิดขอบเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าวิเคราะห์ทางการพยาบาล การกำหนดและควบคุมมาตรฐานทางการพยาบาลสาธารณสุข การส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลและวิชาการพยาบาล การวิจัยและพัฒนาระบบบริการพยาบาล การพัฒนามาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุข การพัฒนาการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน การนิเทศ กำกับ ตรวจสอบและติดตามประเมินผล การจัดการสารสนเทศทางการพยาบาล และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการและกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการ จำนวน 28 ตำแหน่ง ดังนี้
(1) ผู้อำนวยการกอง จำนวน 1 ตำแหน่ง
(2) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป จำนวน 5 ตำแหย่ง
(3) กลุ่มงานมาตรฐานและควบคุมคุณภาพการพยาบาล จำนวน 6 ตำแหน่ง
(4) กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรและวิชาการพยาบาล จำนวน 5 ตำแหน่ง
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด