Table of Contents
บทที่ 5 การพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ สาขาอุตสาหกรรมการแพทย์ ครบวงจร : มุมมองผู้ทรงคุณวุฒิ
คุณชัยณรงค์ หมั่นดี อุปนายก สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยี
เครื่องมือแพทย์ไทย และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ : มุมมองและความเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมไมซ์เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย
สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 โดยเริ่มจากสมาชิกผู้ก่อตั้ง 6 ราย ปัจจุบันมีสมาชิกรวม 104 ราย มีวัตถุประสงค์การดำ เนินงานเพื่อสร้างความพร้อม และสร้างความร่วมมือระหว่างบริษัทที่เป็นสมาชิก ให้ความร่วมมือและประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรภาคเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ให้เจริญและก้าวหน้ายิ่งขึ้น รวมทั้งสนับสนุนนโยบายรัฐบาลไทยที่มุ่งเน้นการเปิดเสรีเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ในภูมิภาคเอเชีย
สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย มีบทบาททั้งการมีส่วนร่วมในการจัดทำ ร่างกฎหมายฉบับต่าง ๆ รวมทั้งให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในการแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือแพทย์ ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมในหัวข้อและประเด็นต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพของระบบการกำ กับดูแลแครื่องมือแพทย์ สนับสนุนภาครัฐบาลและองค์กรเอกชนในต่างประเทศ ร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมระหว่างประเทศ รวมทั้งยังมีบทบาทโดยการเข้าเป็นสมาชิกและร่วมการแสดงและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในองค์กรระหว่างประเทศที่ทำ หน้าที่ควบคุมระบบการกำกับดูแลเครื่องมือแพทย์ตามภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก
จุดเด่นของประเทศไทย คือบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญสูง
อุตสาหกรรมทางการแพทย์เป็นอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว รวมทั้งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความประหยัดเนื่องจากขนาด (Economy of Scale) ประเทศที่มีฐานผู้บริโภคในประเทศจำ นวนมากเมื่อดำ เนินการผลิตแล้วจะมีต้นทุนต่ำ เมื่อส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศประเทศเหล่านี้จะมีความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าประเทศที่มีฐานผู้บริโภคในประเทศน้อย อาทิ กรณีประเทศไทย ดังนั้นโอกาสของประเทศไทยในการผลิตเครื่องมือแพทย์ที่มีความก้าวหน้าสูงอาจเป็นไปได้ยากเนื่องจากต้องลงทุนด้านการวิจัยสูงมาก นอกจากนี้ ประเทศไทยยังขาดห้องทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่ได้มาตรฐานและได้รับการยอมรับ ส่งผลให้การจดทะเบียนเครื่องมือแพทย์เป็นไปได้ยาก แต่ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ไม่มีความซับซ้อน อาทิเตียง และเก้าอี้ผู้ป่วย ซึ่งประเทศไทยสามารถผลิตสินค้าได้คุณภาพดีและราคาไม่แพง สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตต่างประเทศได้ แต่ต้องสร้างการยอมรับในประเทศเพื่อเป็นฐานและสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ นอกจากนั้น ประเทศไทยยังมีศักยภาพในการผลิตสินค้ายาสมุนไพรเนื่องจากมีฐานทรัพยากรที่มีความหลากหลายแต่ต้องเร่งพัฒนายกระดับมาตรฐานคุณภาพเพื่อแข่งกับไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น รวมทั้งต้องมีมาตรการไม่ให้ผู้ผลิตไทยขายแข่งตัดราคากันเอง
จุดเด่นของประเทศไทย คือ การมีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางสูงมาก มีโรงพยาบาลคุณภาพสูงทั้งของรัฐและเอกชน ที่มีมาตรฐานการให้บริการสูง ได้รับการยอมรับระดับโลก ชาวต่างชาตินิยมเดินทางมารักษาพยาบาลและพักผ่อนต่อเนื่องในประเทศไทยส่งผลให้ประเทศไทยเป็นฐานกำ ลังซื้อที่สำ คัญของเครื่องมือแพทย์ ก่อให้เกิดโอกาสในการจัดงานแสดงสินค้าเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ใหม่ ๆ ที่ต้องการเปิดตัวหาผู้จัดจำ หน่ายในประเทศไทย รวมทั้งเมื่อเทียบกับสิงคโปร์ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ที่สำคัญของโลกแล้วพบว่า กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานแสดงสินค้าทางการแพทย์ของประเทศไทยเอื้อต่อการจัดงานมากกว่า เนื่องจากกรณีสิงคโปร์ แพทย์ไม่สามารถเข้าชมงานแสดงสินค้าเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ แต่กรณีประเทศไทยกฎระเบียบยังเปิดโอกาสให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าร่วมงานแสดงสินค้าได้ซึ่งถือเป็นโอกาสในการตัดสินใจซื้อและนำ ไปสู่การสร้างยอดขายในอนาคต
เร่งสร้างภาพลักษณ์สู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์เฉพาะทางระดับโลก
การพัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ครบวงจรต้องเริ่มจากการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ โดยอาศัยความได้เปรียบจากการที่ประเทศไทยมีบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญระดับโลก อาทิ แพทย์เฉพาะทางด้านการรักษาโรคหัวใจ เมื่อสร้างให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับในฐานะเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์เฉพาะทางแล้ว ก็จะเป็นการเปิดโอกาสสู่การจัดงานแสดงสินค้าเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ กลุ่มเป้าหมายผู้แสดงสินค้าที่สำคัญ คือ จีน อินเดีย และบราซิล ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ที่ไม่ซับซ้อนที่สำคัญของโลกในปัจจุบัน กลุ่มผู้เข้าเยี่ยมชมงานคือ ประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทยซึ่งเศรษฐกิจกำลังเติบโตและเริ่มก้าวสู่สังคมสูงอายุซึ่งต้องใช้จ่ายเพื่อการรักษาพยาบาลมากขึ้น
คุณชัยณรงค์ เน้นว่า ประเทศไทยเป็นเป้าหมายการเดินทางที่มีเสน่ห์ จึงมีศักยภาพในการจัดการประชุมวิชาการทางการแพทย์ ประกอบกับการที่ประเทศไทยมีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญสูงที่เป็นฐานสำคัญในการประชุมวิชาการทางการแพทย์ ซึ่งสามารถเป็นวิทยากรให้ความรู้ในการประชุมวิชาการได้ แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้าใจกฎระเบียบและจรรยาบรรณระดับโลกที่เกี่ยวข้องกับวงการแพทย์ อาทิ การจัดประชุมวิชาการทางการแพทย์ไม่สามารถจัดในสถานที่ที่มีชื่อ “Resortand Spa” รวมทั้งการที่ประเทศไทยพยายามผลักดันเป็น “เมืองท่องเที่ยว” ขณะที่สิงคโปร์เป็นเมืองศูนย์กลางธุรกิจก็ถือเป็นความได้เปรียบของสิงคโปร์ ด้วยกฎระเบียบที่เข้มงวดการจัดประชุมวิชาการทางการแพทย์มักจัดในโรงแรมที่มีค่าใช้จ่ายไม่สูง แต่นิยมจัดงานแสดงสินค้าเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ควบคู่กันไปด้วย โรงแรมจึงควรเตรียมสถานที่ในการจัดงานให้พร้อม
คุณนุชฎา ภารดีวิสุทธิ์ผู้อำนวยการ บริษัท เอ็กซโปซิส จำ กัด : มุมมองในการพัฒนาการจัดกิจกรรมไมซ์ สาขาอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
งานเมดิคอลแฟร์ ไทยแลนด์ เป็นงานแสดงสินค้าที่เริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ถือเป็นงานแสดงสินค้าทางการแพทย์ที่เติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ด้วยการมุ่งเน้นการจัดแสดงอุปกรณ์และเวชภัณฑ์สำ หรับอุตสาหกรรมโรงพยาบาลการวินิจฉัยโรค เภสัชกรรม การแพทย์ และเวชศาสตร์ฟื้นฟู จัดงานโดย บริษัท เมสเซ่ ดึสเซลดอร์ฟ (Messe Düsseldorf Group) โดยมี บริษัท เอ็กซโปซิส จำกัด เป็นพันธมิตรรับผิดชอบจัดงานในประเทศไทย
ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ไทยที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้าร่วมงานแสดงสินค้ามากขึ้น
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมไทยได้เข้าร่วมงานเมดิคอลแฟร์ ไทยแลนด์มากขึ้น และได้นำสินค้าทางการแพทย์ที่มีนวัตกรรมโดดเด่นน่าสนใจเข้าร่วมแสดงสินค้า ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าเยี่ยมชมงานดีมาก ผู้ประกอบการกลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนานวัตกรรมจากหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่ต้องการพัฒนาสินค้าไทยให้มีความแตกต่าง โดยอาศัยการศึกษาวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูงในการสร้างมูลค่าเพิ่ม นโยบายส่งเสริมนวัตกรรมเริ่มเห็นผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น นอกจากนั้น กลุ่มผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ไม่ซับซ้อน อาทิ ถุงมือยาง สำลีเริ่มมีบริษัทผู้ผลิตจากจีน อินเดีย และบราซิล เข้าร่วมงานแสดงสินค้ามากขึ้น สินค้าจากประเทศนี้มีราคาต่ำกว่าสินค้าจากประเทศไทย สะท้อนให้เห็นว่า หากประเทศไทยยังนิยมผลิตสินค้าเดิม ๆจะไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับประเทศเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ตาม คุณนุชฎา กล่าวว่า แม้สินค้ามีนวัตกรรมใหม่ที่น่าสนใจ แต่หากการตกแต่งบูธแสดงสินค้าไม่โดดเด่น ไม่จับตาผู้เข้าร่วมชมงานสินค้าก็จะไม่ได้รับความสนใจ ซึ่งถือว่าเป็นการเสียโอกาสในการขายสินค้าไปด้วย
งานแสดงสินค้าทางการแพทย์ในประเทศไทยขยายอย่างต่อเนื่องเพราะบุคลากรทางการแพทย์ให้ความร่วมมือดีมาก
จุดเด่นของบริษัท เอ็กซโปซิส จำกัด ในฐานะผู้จัดงานเมดิคอลแฟร์ ไทยแลนด์ คือ การร่วมจัดงานอย่างใกล้ชิดกับบุคลากรทางการแพทย์โดยการจัดการประชุมวิชาการทางการแพทย์ควบคู่กับการจัดงานแสดงสินค้าซึ่งทำ ให้งานแสดงสินค้าในประเทศไทยได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมชมงานทั้งคนไทยและคนต่างประเทศเนื่องจากประเทศไทยมีแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญสูง สามารถเป็นแม่เหล็กดึงดูดผู้เข้าร่วมชมงานได้ นอกจากนั้น บริษัท เอ็กซโปซิสจำกัด ยังประชาสัมพันธ์งานแสดงสินค้าเมดิคอลแฟร์ ไทยแลนด์ ด้วยการเดินสายเชิญชวนแพทย์ในโรงพยาบาลต่าง ๆ เข้าเยี่ยมชมงาน ซึ่งได้รับความร่วมมือด้วยดีจากผู้บริหารโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน ส่งผลให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เข้าใจว่าการจัดงานแสดงสินค้ามิใช่เป็นการขายสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่เป็นช่องทางการเรียนรู้นวัตกรรมและความรู้ใหม่ ๆด้วย จึงนิยมมาเยี่ยมชมงานแสดงสินค้ามากขึ้น
MICE CITY สร้างโอกาสการจัดงานประชุมวิชาการทางการแพทย์
กรณีการส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมไมซ์ในจังหวัดสำ คัญของประเทศไทยตามกลยุทธ์การพัฒนา MICE CITY นั้น คุณนุชฎาให้ความเห็นว่ามีความเป็นไปได้ด้านการจัดการประชุมวิชาการทางการแพทย์ เนื่องจากประเทศไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ดึงดูดใจ แต่การจัดงานแสดงสินค้าทางการแพทย์ต้องการสถานที่จัดงานที่มีมาตรฐานสูงและต้องการความสะดวกในการเดินทางเข้าถึงสูงกว่าการจัดงานแสดงสินค้าทั่วไปรวมทั้งต้องการผู้ติดตั้งบูธที่มีประสบการณ์เฉพาะ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมที่ดี
ประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาบุคลากรไมซ์ที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี
ผู้จัดงานไมซ์ต่างประเทศให้ความสนใจในการจัดงานแสดงสินค้าในประเทศไทย เนื่องจากเป็นศูนย์กลางการเดินทางในภูมิภาคอาเซียนตอนบนรวมทั้งมีบริษัทต่างประเทศต้องการจัดตั้งบริษัทสาขาในประเทศไทยเพื่อจัดงานแสดงสินค้างานใหม่ ๆ ในประเทศไทย แต่ติดขัดที่ประเทศไทยขาดบุคลากรด้านไมซ์ที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี จึงตัดสินใจจัดงานที่สิงคโปร์แทนเพราะสามารถหาบุคลากรได้ง่าย ปัจจุบันอุตสาหกรรมไมซ์ไทยมีการแย่งชิงบุคลากรสูงซึ่งเป็นอุปสรรคที่ต้องเร่งแก้ไข
จากมุมมองของผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 2 ท่านสามารถประมวลรวมได้ว่า ประเทศไทยควรให้ความสำคัญกับการจัดงานแสดงสินค้าสมุนไพรและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ไม่ซับซ้อน เนื่องจากผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพการผลิตสินค้ากลุ่มนี้ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นจุดหมายปลายทางสำ คัญของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในระดับโลก เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลที่มีมาตรฐานระดับโลก ส่งผลให้เกิดอุปสงค์ต่อเนื่องด้านยาเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ แต่การพัฒนาการจัดงานแสดงสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ให้เติบโตทั้งมิติของจำ นวนผู้ซื้อที่เดินทางมาร่วมงาน และเพิ่มจำ นวนบริษัทต่างชาติที่เข้าร่วมงานแสดงสินค้า ยังต้องพัฒนาระบบอำ นวยความสะดวกการนำ เข้าและส่งออกยาและอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ให้ง่ายและสะดวก โดยเฉพาะกรณีการนำ เข้ายาและเครื่องมือทางการแพทย์ที่ยังไม่เคยนำ เข้ามาจำ หน่ายในประเทศไทยมาก่อนรวมถึงยังไม่มีผู้แทนจำ หน่ายในประเทศไทยมาก่อนด้วย โดยต้องปรับปรุงระบบการให้บริการการนำ เข้าและการส่งออกนอกประเทศเมื่อการแสดงสินค้าเสร็จสิ้น การขออนุญาตนำ เข้ายาและเครื่องมือทางการแพทย์ การให้ข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้งเร่งพัฒนาบุคลากรภาครัฐและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไมซ์ให้สามารถสื่อสารและให้บริการเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างมีคุณภาพ