ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

มกท. - มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย

มกท. - มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย HealthServ.net
มกท. - มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย ThumbMobile HealthServ.net

A.C.T.(Organic Ariculture Cetification Thailand) หรือ มกท. ย่อมาจาก มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย เป็นตราของไทยเพื่อรับรองผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกของไทย เรียกว่า Certified Organic ซึ่งเป็นสมาชิกของ IFOAM (International Federation of Organic Agriculture Movements) หรือ สมาพันธ์เกษตรอนิทร์นานาชาติ ผลิตภัณฑ์ที่มีตราสัญลักษณ์นี้จึงได้รับการรับรองระดับสากลด้วย

มกท. - มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย HealthServ
A.C.T.(Organic Ariculture Cetification Thailand) หรือ มกท. ย่อมาจาก "มาตราฐานเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย" เป็นตราของไทยเพื่อรับรองผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกของไทย เรียกว่า Certified Organic ซึ่งเป็นสมาชิกของ IFOAM (International Federation of Organic Agriculture Movements) หรือ สมาพันธ์เกษตรอนิทร์นานาชาติ ผลิตภัณฑ์ที่มีตราสัญลักษณ์นี้จึงได้รับการรับรองระดับสากลด้วย  (http://www.vcharkarn.com/vblog/39272)





มกท. คือใคร
  1. สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้ “มูลนิธิมาตรฐานเกษตรอินทรีย์” ซึ่งจดทะเบียนมูลนิธิเมื่อ 21 กันยายน พ.ศ.2544
  2. ทำหน้าที่ตรวจสอบและให้การรับรอง ผลิตผล/ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ตามมาตรฐานของ มกท.
  3. เป็นสมาชิก “สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ” (International Federation of Organic Agriculture Movements – IFOAM) ซึ่งมีสมาชิกในประเทศต่าง ๆ กว่า 100 ประเทศทั่วโลก
  4. เป็นหน่วยงานแรกในประเทศแถบเอเชียที่ได้รับการรับรองระบบ (Accreditation) จาก IFOAM เมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2545 โดยการดำเนินการของ International Organic Accreditation Services.inc. (IOAS) ซึ่งทำให้ มกท. เป็นองค์กรให้บริการตรวจสอบและรับรองเกษตรอินทรีย์ที่เป็นที่ยอมรับในระดับ สากล
มกท. มีความเป็นมาอย่างไร
  1. พ.ศ. 2538 เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก (Alternative Agricultural Network – AAN) ซึ่งมาจากแนวคิดเกษตรทางเลือก /ตลาดทางเลือก และการรวมตัวของเกษตรกร องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ สื่อมวลชน ผู้บริโภค และร้านค้าเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกันจัดตั้ง “สภามาตรฐานผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมทางเลือก” ขึ้นเพื่อสนับสนุนให้เกิดระบบเกษตรกรรมที่ลดการใช้สารเคมีและลดการพึ่งพิง ปัจจัยจากภายนอก และร่าง “มาตรฐานผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมทางเลือก” ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539
  2. พ.ศ. 2541 จัดตั้งเป็น “สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.)” และปรับปรุงมาตรฐานให้เป็นมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ครั้งแรก คือ “มาตรฐาน มกท. 2542” และพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
  3. พ.ศ. 2542 มกท. สมัครขอรับรองระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์กับ IFOAM ได้รับการรับรองระบบตามเกณฑ์ของ IFOAM ในปี พ.ศ. 2545 และได้รับรองระบบตาม ISO65 ในปี พ.ศ.2548
เอกสาร มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 
  1. เอกสาร มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 2005 [ภาษาไทย]
  2. ACT Organic Agriculture Standards 2005 [English]
การ ใช้ตรา มกท.
  1. เฉพาะผู้ผลิต และ/หรือผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน มกท. โดยมติของอนุกรรมการรับรองมาตรฐาน และได้ลงนามในสัญญาการใช้ตรากับ มกท. แล้วเท่านั้น จึงจะมีสิทธิใช้ตรา มกท. ได้
  2. สามารถใช้ตรา มกท. และอ้างถึงการรับรองของ มกท. บนฉลากบรรจุภัณฑ์ หรือบนสื่อโฆษณา นิทรรศการ สิ่งจัดแสดง และร้านค้าได้
  3. ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรฐาน มกท.ที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการใช้ตรา มกท. ที่แนบท้ายสัญญาการใช้ตราอย่างเคร่งครัด
  4. นอกจากตรา มกท. แล้ว ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการมีสิทธิในการใช้ตรา มกท. ร่วมกับตรา IFOAM accredited เพื่อให้การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ มกท. มีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น แต่ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการต้องเซ็นสัญญาการใช้ตรา IFOAM เพิ่มเติม เพื่อยินยอมปฏิบัติตามระเบียบการใช้ตรา มกท. ร่วมกับตรา IFOAM โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการทำสัญญาเพิ่มเติม
  5. สำหรับปัจจัยการผลิตที่ผ่านการตรวจสอบและรับรอง จะมีตราเฉพาะสำหรับปัจจัยการผลิตเท่านั้น ไม่ใช้ปะปนกับผลิตภัณฑ์อินทรีย์ชนิดอื่น
  6. หาก มกท.พบว่ามีผู้แอบอ้างนำตรา มกท. ไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้แอบอ้างจะถูกดำเนินการพิจารณาโทษตามกฎหมาย

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด